เมนู

ทรงยินดีด้วยปัญจโครส จงเลือกหาภูมิประเทศช่วยกันสร้างพระนครขึ้น จง
อภิเษกพระกุมารเสีย ณ ที่นั้น แล้วมอบทารกให้. พวกคนเลี้ยงโครับคำแล้ว
ก็นำทารกไปเลี้ยงดู.
ทารกทั้งสอง เจริญเติบโตก็เล่นการเล่น ใช้มือบ้าง เท้าบ้าง ทุบ
ถีบพวกเด็กลูกของคนเลี้ยงโคอื่น ๆ ในที่ทะเลาะกัน เด็กลูกคนเลี้ยงโคเหล่านั้น
ก็ร้องไห้ ถูกมารดาบิดาถามว่าร้องไห้ทำไม ก็บอกว่า เจ้าเด็กไม่มีพ่อแม่ที่
ดาบสเลี้ยงเหล่านั้น ข่มเหงเรา. แต่นั้น มารดาบิดาของเด็กเหล่านั้น ก็กล่าวว่า
ทารกสองคนนี้ชอบข่มเหงให้เด็กอื่น ๆ. เดือดร้อน จะไม่สงเคราะห์มัน ละเว้น
มันเสีย. เขาว่าตั้งแต่นั้นมา ประเทศที่นั้น จึงถูกเรียกว่า วัชชี ขนาด 300
โยชน์. ครั้งนั้น พวกคนเลี้ยงโคทำพระราชาให้ยินดีแล้ว เลือกเอาประเทศที่นั้น
สร้างพระนครลงในประเทศนั้น แล้วอภิเษกพระกุมาร ซึ่งพระชนม์ได้ 16
พรรษา ตั้งเป็นพระราชา ได้ทำการวิวาหมงคลกับทาริกาของพระองค์ ได้วาง
กติกากฎเกณฑ์ไว้ว่า จะไม่นำทาริกามาจากภายนอก และไม่ให้ทาริกาจากที่นี้
แก่ใคร ๆ โดยการอยู่ร่วมกันครั้งแรกของพระกุมารกุมารีนั้น ก็เกิดทารกคู่
หนึ่ง เป็นธิดา 1 โอรส 1 โดยอาการอย่างนี้ ก็เกิดเป็นคู่ ๆ ถึง 16 ครั้ง.
แต่นั้น เมื่อทารกเหล่านั้น เจริญวัยโดยลำดับ นครนั้นก็ไม่พอที่จะบรรจุอาราม
อุทยาน สถานที่อยู่ บริวารและสมบัติ จึงล้อมรอบด้วยประการ 3 ชั้น ระหว่าง
คาวุต หนึ่งๆ เพราะนครนั้น ถูกขยายกว้างออกบ่อย ๆ จึงเกิดนามว่าเวสาลีนี้แล.
นี้เรื่องกรุงเวสาลี

การนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า


ก็กรุงเวสาลีนี้ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติก็มั่นคงไพบูลย์
ด้วยว่า ในกรุงเวสาลีนั้นมีเจ้าอยู่ถึง 7 ,707 พระองค์. พระยุพราชเสนาบดี
และภัณฑาคาริกเป็นต้นก็เหมือนกัน เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า

สมัยนั้นแล กรุงเวสาลีมั่นคงเจริญ มีคนมาก
มีคนเกลื่อนกล่น มีอาหารหาได้ง่าย มีปราสาท 7,707
หลัง มีเรือนยอด 7,707 หลัง มีอาราม 7,707
อาราม มีสระโบกขรณี 7,707 สระ.

สมัยต่อมา กรุงเวสาลีนั้นเกิดทุพภิกขภัย ฝนแล้งข้าวกล้าตายนึ่ง.
คนยากคนจนตายก่อน เขาทิ้งคนเหล่านั้นไปนอกนคร. พวกอมนุษย์ได้กลิ่น
คนตายก็พากันเข้าพระนคร. แต่นั้น ผู้คนก็ตายเพิ่มมากขึ้น. เพราะความ
ปฏิกูลนั้น อหิวาตกโรคก็เกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย. ชาวกรุงเวสาลีถูกภัย 3 อย่าง
คือ ทุพภิกขภัย อมนุสสภัย และโรคภัยเบียดเบียน ก็เข้าไปเฝ้าพระราชา
กราบทูลว่า ขอเดชะ เกิดภัย 3 อย่างในพระนครนี้แล้ว พระเจ้าข้า แต่
ก่อนนี้ นับได้ 7 ชั่วราชสกุล ไม่เคยเกิดภัยเช่นนี้เลย ชรอยพระองค์ไม่ทรง
ตั้งอยู่ในธรรม บัดนี้ ภัยนั้นจึงเกิดขึ้น. พระราชาทรงประชุมเจ้าลิจฉวีทุก
พระองค์ในที่ว่าราชการตรัสว่า ขอได้โปรดพิจารณาทบทวนข้อที่เราไม่ตั้งอยู่
ในธรรมเถิด เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น พิจารณาทบทวนถึงประเพณีทุกอย่าง ก็ไม่
ทรงเห็นข้อบกพร่องไร ๆ แต่นั้น ก็ไม่เห็นโทษขององค์พระราชา จึงพากัน
คิดว่า ภัยนี้ของเรา จะระงับไปได้อย่างไร. ในที่ประชุมนั้น เจ้าลิจฉวีบาง
พวก อ้างถึงศาสดาทั้ง 6 ว่า พอศาสดาเหล่านั้นย่างเท้าลงเท่านั้น ภัยก็จะระงับ
ไป บางพวกตรัสว่า ได้ยินว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติแล้วในโลก, พระผู้-
มีพระภาคเจ้านั้น ทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ปวงสัตว์ ทรงมี
ฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก พอพระองค์ย่างพระบาทลงเท่านั้น ภัยทุกอย่าง ก็
จะระงับไป ด้วยเหตุนั้น เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น จึงดีพระทัยตรัสว่า ก็พระผู้มี-
พระภาคเจ้าพระองค์นั้น บัดนี้ ประทับอยู่ที่ไหนเล่า พวกเราส่งคนไปเชิญ

จะไม่เสด็จมาน่ะสิ. เจ้าลิจฉวีอีกพวกหนึ่งตรัสว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้า ทรง
เอ็นดูสัตว์ เหตุไร จะไม่เสด็จมาเล่า. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น บัดนี้
ประทับอยู่กรุงราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารทรงอุปฐากอยู่ เกรงท้าวเธอจะไม่ให้
เสด็จมา. ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นเราจะทูลพระเจ้าพิมพิสารให้ทรงเข้าพระทัยแล้ว
นำพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา แล้วทรงมอบเครื่องบรรณาการเป็นอันมากส่ง
เจ้าลิจฉวีสองพระองค์ พร้อมด้วยกองกำลังขนาดใหญ่ไปยังราชสำนักพระเจ้า-
พิมพิสาร โดยสั่งว่า ขอท่านทูลพระเจ้าพิมพิสารให้เข้าพระทัยแล้ว นำพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา เจ้าลิจฉวีทั้งสองพะระองค์เสด็จไปถวายเครื่องบรรณาการ
แด่พระเจ้าพิมพิสาร แล้วแจ้งให้ทรงทราบเรื่องราวแล้วทูลว่า ข้าแต่พระมหา-
ราชเจ้า ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดส่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมายังนคร
ของข้าพระองค์ด้วยเถิด. พระราชาไม่ทรงรับรองตรัสว่า พวกท่านทรงรู้เอาเอง
เถิด. เจ้าลิจฉวีก็ทูลรับว่า ดีละ พระเจ้าข้า แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-
เจ้า ถวายบังคมแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภัย 3 อย่าง
เกิดขึ้นในนครของข้าพระองค์ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าฟังเสด็จมาไซร้ ความ
สวัสดีก็จะพึงมีแก่พวกข้าพระองค์ พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณา
ว่าเมื่อตรัสรัตนสูตรในกรุงเวสาลีการอารักขาจักแผ่ไปแสนโกฏิจักรวาส จบสูตร
สัตว์ 84,000 จักตรัสรรู้ธรรม แล้วจึงทรงรับนิมนต์. ครั้งนั้น พระเจ้า-
พิมพิสารทรงสดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว โปรดให้
โฆษณาไปในพระนครว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์เสด็จไปกรุงเวสาลี
แล้ว เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระองค์ทรงรับ จะเสด็จไปกรุงเวสาลีหรือพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ถวายพระพร มหาบพิตร. ท้าวเธอทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น
โปรดทรงรอจนกว่าจะจัดแจงหนทางถวายนะ พระเจ้าข้า.

ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสาร ทรงทำพื้นที่ 5 โยชน์ ระหว่างกรุง-
ราชคฤห์และแม่น้ำคงคาให้ราบเรียบแล้ว ให้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง
เวลาที่จะเสด็จไป พระผู้มีพระภาคเจ้า อันภิกษุ 500 รูป แวดล้อมแล้วเสด็จ
ไป พระราชาทรงเอาดอกไม้ 5 สีโปรยหนทาง 5 โยชน์เพียงหัวเข่า ให้ยกธง
ผ้า หม้อน้ำและต้นกล้วยเป็นต้น ให้กั้นเศวตฉัตร 2 ชั้นสำหรับพระผู้มีพระภาค-
เจ้า ฉัตรชั้นเดียวสำหรับพระภิกษุแต่ละรูป ทรงทำการบูชาด้วยดอกไม้และ
ของหอมเป็น นี้พร้อมด้วยราชบริพารของพระองค์ ให้พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับอยู่ใน วิหารหลังหนึ่ง ๆ ถวายมหาทาน ทรงนำเสด็จสู่ฝั่งแม่น้ำคงคา 5
วัน . ณ ที่นี้ ทรงประดับเรือด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง แล้วทรงส่งสาสน์ไป
ถวายเจ้าลิจฉวีกรุงเวสาลีว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้ว ขอเจ้าลิจฉวีทุก
พระองค์ ตกแต่งหนทางถวายการรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. เจ้าลิจฉวี
เหล่านั้น ตกลงกันว่า จะทำการบูชาเป็นสองเท่า ทำพื้นที่ 3 โยชน์ระหว่าง
กรุงเวสาลี และแม่น้ำคงคาให้เรียบร้อย จัดเศวตฉัตร 4 ชั้น สำหรับพระผู้
มีพระภาคเจ้า สำหรับพระภิกษุแต่ละรูป ๆ ละ 2 ชั้น ทำการบูชา เสด็จมา
คอยอยู่.
ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสาร ทรงทำเรือขนาน 2 ลำแล้วสร้างมณฑป
ประดับด้วยพวงดอกไม้ ปูลาดพุทธอาสน์ทำด้วยรัตนะล้วน ณ มณฑปนั้น.
ที่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์นั้น. แม้ภิกษุ 500 รูปก็ลง
เรือนั่งกันตามสมควร พระราชาส่งเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ลงน้ำประมาณ
แต่พระศอกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่กันริมฝั่งแม่น้ำ
คงคานี้นี่แหละ จนกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จกลับมา แล้วก็เสด็จกลับ.
เทวดาเบื้องบนจนถึงอกนิษฐภพ ได้พากันทำการบูชา. นาคราชทั้งหลาย มี

กัมพลนาคและอัสสตรนาคเป็นต้น ซึ่งอาศัยอยู่ใต้แม่น้ำคงคา ก็พากันทำการ
บูชา. ด้วยการบูชาใหญ่อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปทางแม่น้ำคงคา
สิ้นระยะทางไกลประมาณโยชน์หนึ่ง ก็เข้าเขตแดนของพวกเจ้าลิจฉวีกรุงเวสาลี.
ต่อนั้น พวกเจ้าลิจฉวีก็ทำการบูชาเป็น 2 เท่าที่พระเจ้าพิมพิสารทรง
ทำการบูชา ออกไปรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงในน้ำประมาณแค่พระศอ.
ขณะนั้นเอง ครู่นั้นเอง มหาเมฆมียอดคลุมด้วยความมืดมีแสงฟ้าแลบเคลื่อน
ตัวไปส่งเสียงคำรามครืนครั่นก็ดังขึ้นทั้งสี่ทิศ. ลำดับนั้น พอพระผู้มีพระภาค
เจ้ายกพระบาทแรกวางลงริมฝั่งแม่น้ำคงคา ฝนโบกขรพรรษก็โปรยเม็ดลงมา
ชนเหล่าใดต้องการจะเปียก ชนเหล่านั้น เท่านั้นย่อมเปียก ผู้ไม่ต้องการเปียก
ก็ไม่เปียก ในที่ทุกแห่ง น้ำย่อมไหลไปเพียงแค่เข่า แค่ขา แค่สะเอว แค่คอ
ซากศพทั้งปวงถูกน้ำพัดส่งลงสู่แม่น้ำคงคา พื้นดินก็สะอาดสะอ้าน.
พวกเจ้าลิจฉวีให้พระผู้มีพระเจ้าประทับอยู่ทุก ๆ หนึ่งโยชน์ในระหว่าง
ทางถวายมหาทาน ทรงทำการบูชาเป็นทวีคูณ 3 วัน จึงนำเสด็จสู่กรุงเวสาลี.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงเวสาลี ท้าวสักกะจอมทวยเทพ อันหมู่เทพ
ห้อมล้อมก็เสด็จมาถึง. พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับ ยืนใกล้ประตูพระนครทรง
เรียกท่านพระอานนที่มาส่งว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงเรียนรัตนสูตรนี้ ถือเครื่อง
ประกอบพลีกรรม เที่ยวเดินไประหว่างปราการ 3 ชั้นแห่งกรุงเวสาลีกับพวก
เจ้าลิจฉวีราชกุมาร ทำพระปริตร แล้วได้ตรัสรัตนสูตร.
การวิสัชนาปัญหาเหล่านั้นว่า ก็พระสูตรนี้ผู้ใดกล่าว กล่าวเมื่อใด กล่าว
ที่ใดและกล่าวเพราะเหตุใด ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลาย พรรณนาไว้พิสดาร
ทั้งแต่เรื่องกรุงเวสาลีเป็นต้นไป ด้วยประการฉะนี้.

ดังนั้น ในวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงเวสาลีนั่นเอง รัตนสูตร
นี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสใกล้ ประตูกรุงเวสาลี เพื่อกำจัดอุปัทวะเหล่านั้นท่าน
พระอานนท์ก็เรียนเอา เมื่อจะกล่าวเพื่อเป็นปริตร [ป้องกันอุปัทวะ] จึง
เอาบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าตักน้ำมา เดินประพรมไปทั่วพระนคร. พอ
พระเถระกล่าวว่า ยงฺกิญฺจิ เท่านั้น พวกอมนุษย์ที่อาศัยกองขยะและที่ฝาเรือน
เป็นต้น ซึ่งยังไม่หนีไปในตอนแรก ก็พากันหนีไปทางประตูทั้ง 4. ประตู
ทั้งหลาย ก็ไม่มีที่ว่าง อมนุษย์บางพวก เมื่อไม่ได้ที่ว่างที่ประตูทั้งหลาย ก็
หลายกำแพงเมืองหนีไป. พอพวกอมนุษย์พากันไปแล้ว ที่เนื้อตัวของพวก
มนุษย์ทั้งหลาย โรคก็สงบไป พวกมนุษย์ทั้งหลาย ก็พากันออกมาบูชาพระ
เถระ ด้วยดอกไม้ของหอมเป็นต้นทุกอย่าง มหาชนเอาของหอมทุกอย่างฉาบทา
สัณฐาคารที่ประชุม ท่ามกลางพระนคร ทำเพดานขจิตด้วยรัตนะ ประดับ
ด้วยเครื่องประดับทั้งปวง ปูพุทธอาสน์ลง ณ ที่นั้นแล้วนำเสด็จพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ามา.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าสู่สัณฐาคาร ประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขา
ปูไว้. ทั้งภิกษุสงฆ์ คณะเจ้า และมนุษย์ทั้งหลายก็นั่ง ณ อาสนะที่เหมาะที่
ควร. แม้ท้าวสักกะ จอมทวยเทพก็ประทับนั่งใกล้กับเทวบริษัท ในเทวโลก
ทั้งสอง ทั้งเทวดาอื่น ๆ ด้วย. แม้ท่านพระอานนทเถระ ก็เที่ยวเดินไปทั่วกรุง
เวสาลี ทำอารักขาแล้ว ก็มาพร้อมกับชาวกรุงเวสาลี นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง. ณ
ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสรัตนสูตรนั้นนั่นแหละแก่ทุกคนแล.
ก็มาติกา หัวข้อใด ข้าพเจ้าตั้งไว้ว่า ข้าพเจ้าจักประกาศนัยนี้ว่า
รัตนสูตรนี้ผู้ใดกล่าว กล่าวเมื่อใด กล่าวที่ใด และกล่าวเพราะเหตุใด มาติกา
นั้น เป็นอันข้าพเจ้ากล่าวไว้พิสดารแล้วโดยประการทั้งปวง ด้วยถ้อยคำมีประ-
มาณเท่านี้.

พรรณนาคาถาว่า ยานีธ


บัดนี้ จะเริ่มพรรณนาความ เพราะข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ว่าจักพรรณนา
ความแห่งรัตนสูตรนั้น แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า พระผู้พระภาคเจ้าตรัส
5 คาถา นี้ ที่เหลือท่านพระอานนทเถระกล่าวจะอย่างไรก็ตาม ประโยชน์อะไร
ของเราด้วยคาถาเล็กน้อย ที่ยังไม่ได้ตรวจตรานี้ ข้าพเจ้าจักพรรณนาความแห่ง
รัตนสูตรนี้ แม้โดยประการทั้งปวง.
จะพรรณนาคาถาแรกว่า ยานีธ ภูตานิ เป็นต้น. ในคาถาแรกนั้น
บทว่า ยานิ ได้แก่ เช่นใด ไม่ว่าจะมีศักดิ์น้อยหรือศักดิ์มาก. บทว่า อิธ
แปลว่า ในประเทศนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงสถานที่ประชุมในขณะ
นั้น . ในบทว่า ภูตานิ ภูตศัทพ์ ใช้หมายถึงสิ่งที่มีอยู่ ได้ในประโยคเป็น
ต้นอย่างว่า ภูตสฺมึ ปาจิตฺติยํ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะภูตคาม. ใช้
หมายถึง ขันธปัญจก ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ภูตมิทํ ภิกฺขเว
สมนุปสฺสถ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงพิจารณาเห็นขันธปัญจกนี้. ใช้
หมายถึงรูป มีปฐวีธาตุเป็นต้น 4 อย่าง ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า
จตฺตาโร โข ภิกฺขุ มหาภูตา เหตุ ดูก่อนภิกษุ มหาภูตรูป 4 แลเป็น
เหตุ. ใช้หมายถึงพระขีณาสพ ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า โย จ กาลฆโส
ภูโต ก็พระขีณาสพใดแล กินกาลเวลา. ใช้หมายถึงสรรพสัตว์ ได้ในประ-
โยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า สพฺเพว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ
สรรพสัตว์จักทอดทิ้งเรือนร่างไว้ในโลก. ใช้หมายถึงต้นไม้เป็นต้นได้ในประโยค
เป็นต้นอย่างนี้ว่า ภูตคามปาตพฺยตาย ในเพราะพรากภูตคาม. ใช้หมาย
ถึงหมู่สัตว์ภายใต้เทพชั้นจาตุมมหาราช ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ภูตํ
ภูตโต สญฺชานาติ จำได้ซึ่งหมู่สัตว์โดยเป็นหมู่สัตว์ก็จริง ถึงกระนั้น ภูตํ
ศัพท์ พึงทราบว่าใช้ในอรรถว่า อมนุษย์ โดยไม่ต่างกัน.