เมนู

พรรณนารัตนสูตร


ประโยชน์แห่งบทตั้ง


บัดนี้ ถึงลำดับการพรรณนาความแห่งรัตนสูตรที่ยกขึ้นตั้งในลำดับต่อ
จากมงคลสูตรนั้น โดยนัยเป็นต้นว่า ยานีธ ภูตานิ. ข้าพเจ้าจักกล่าวประ-
โยชน์แห่งการตั้งรัตนสูตรนั้น ไว้ในที่นี้ ต่อจากนั้น เมื่อแสดงการหยั่งลงสู่
ความแห่งสูตรนี้ ทางนิทานวจนะอันบริสุทธิ์ดี เหมือนการลงสู่น้ำในแม่น้ำ
และหนองเป็นต้น ทางท่าน้ำที่หมดจดดี ประกาศนัยนี้ว่า สูตรนี้ผู้ใดกล่าว
กล่าวเมื่อใด กล่าวที่ไหน กล่าวเพราะเหตุใด แล้วจึงทำการพรรณนาความ
แห่งรัตนสูตรนี้.
ในสองสูตรนั้น เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการรักษา
ตัวเอง และการกำจัดอาสวะทั้งหลายที่มีการทำไม่ดี และการไม่ทำดีเป็นปัจจัย
ด้วยมงคลสูตร ส่วนสูตรนี้ ให้สำเร็จการรักษาผู้อื่น และการกำจัดอาสวะ
ทั้งหลายที่มีอมนุษย์เป็นต้นเป็นปัจจัย ฉะนั้น สูตรนี้จึงเป็นอันตั้งไว้ในลำดับ
ต่อจากมงคลสูตรนั้นแล.
ประโยชน์แห่งการตั้งรัตนสูตรนั้นไว้ในที่นี้เท่านี้ก่อน

เรื่องกรุงเวสาลี


บัดนี้ ในข้อว่า เยน วุตฺตํ ยทา ยติถ ยสฺมา เจตํ นี้ ผู้ทักท้วง
กล่าวว่า ก็สูตรนี้ผู้ใดกล่าว กล่าวเมื่อใด กล่าวที่ใด และกล่าวเพราะเหตุใด.
ขอชี้แจงดังนี้ ความจริง สูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เดียวตรัส พระสาวก
เป็นต้นหากล่าวไม่. ตรัสเมื่อใด. ตรัสเมื่อกรุงเวสาลีถูกอุปัทวะทั้งหลาย มีทุพภิกข-

ภัยเป็นต้นเข้าขัดขวาง พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพวกเจ้าลิจฉวีทูลร้องขอนำเสด็จ
มาแต่กรุงราชคฤห์ เมื่อนั้น รัตนสูตรนั้น พระองค์ก็ตรัสเพื่อบำบัด อุปัทวะ
เหล่านั้น ในกรุงเวสาลี. การวิสัชนาปัญหาเหล่านั้น โดยสังเขปมีเท่านี้. ส่วน
พิศดาร พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย พรรณนาไว้นับแต่เรื่องๆ กรุงเวสาลีเป็นต้น
ไป.
ดังได้สดับมา พระอัครมเหสีของพระเจ้ากรุงพาราณสีทรงพระครรภ์
พระนางทรงทราบแล้วก็ได้กราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ. พระราชาก็พระ
ราชทานเครื่องบริหารพระครรภ์. พระนางได้รับบริหารพระครรภ์มาเป็นอย่างดี
ก็เสด็จเข้าสู่เรือนประสูติ ในเวลาพระครรภ์แก่. เหล่าท่านผู้มีบุญย่อมออกจาก
ครรภ์ในเวลาใกล้รุ่ง. ก็ในบรรดาท่านผู้มีบุญเหล่านั้น พระอัครมเหสีพระองค์
นั้น ก็เป็นผู้มีบุญพระองค์หนึ่ง ด้วยเหตุนั้น เวลาใกล้รุ่ง พระนางก็ประสูติ
ชิ้นเนื้อเสมือนดอกชะบามีพื้นกลีบสีแดงดังครั่ง ต่อจากนั้น พระเทวีพระองค์
อื่น ๆ ก็ประสูติพระโอรสเสมือนรูปทอง. พระอัครมเหสีประสูติชิ้นเนื้อ ดังนั้น
พระนางทรงดำริว่า "เสียงติเตียนจะพึงเกิดแก่เรา ต่อเบื้องพระพักตร์ของ
พระราชา" เพราะทรงกลัวการติเตียนนั้น จึงทรงสั่งให้ใส่ชิ้นเนื้อนั้นลงใน
ภาชนะใบหนึ่ง เอาภาชนะอีกใบหนึ่งครอบปิดไว้ ประทับตราพระราชลัญจกร
แล้ว ให้ลอยไปตามกระแสแม่น้ำคงคา พอเจ้าหน้าที่ทั้งหลายทิ้งลงไป เทวดา
ทั้งหลายก็จัดการอารักขา ทั้งเอายางมหาหิงคุ์จารึกแผ่นทองผูกติดไว้ที่ภาชนะ
นั้นว่า พระราชโอรสธิดาของพระอัครมเหสีแห่งพระเจ้ากรุงพาราณสี. ต่อนั้น
ภาชนะนั้น มิได้ถูกภัยคือคลื่นรบกวน ก็ลอยไปตามกระแสแน่น้ำคงคา.
สมัยนั้น ดาบสรูปหนึ่งอาศัยครอบครัวของคนเลี้ยงโค อยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำ
คงคา. เช้าตรู่ ดาบสรูปนั้นก็ลงสู่แม่น้ำคงคา แลเห็นภาชนะนั้นลอยมา ก็
ถือเอาด้วยบังสุกุลสัญญา ด้วยเข้าใจว่าเป็นของที่เขาทิ้งแล้ว. ต่อนั้น ก็แล

เห็นแผ่นจารึกอักษรและตราพระราชลัญจกร ก็แก้ออกเห็นชิ้นเนื้อนั้น ครั้น
เห็นแล้ว ดาบสรูปนั้นก็คิดว่า เห็นทีจะเป็นสัตว์เกิดในครรภ์ ดังนั้น จึงไม่
เน่าเหม็น ก็นำชิ้นเนื้อนั้น ไปยังอาศรม วางไว้ในที่สะอาด. ล่วงไปครึ่งเดือน
ชิ้นเนื้อก็แยกเป็น 2 ชิ้น ดาบสเห็นแล้ว ก็วางไว้อย่างดี. ต่อจากนั้น ล่วง
ไปอีกครึ่งเดือน ชิ้นเนื้อแต่ละชิ้นก็เกิดปมชิ้นละ 5 สาขา เพื่อเป็นมือ เท้า
และศีรษะ ดาบสก็บรรจงวางไว้เป็นอย่างดีอีก. ต่อนั้น อีกครึ่งเดือน ชิ้นเนื้อ
ชิ้นหนึ่งก็เป็นทารก เสมือนรูปทอง อีกชิ้นหนึ่งก็เป็นทาริกา ดาบสเกิดความ
รักดังบุตรในทารกทั้งสองนั้น. น้ำนมก็บังเกิดจากหัวนิ้วแน่มือของดาบสนั้น
ตั้งแต่นั้นมา ดาบสได้น้ำนมและอาหารมาก็บริโภคอาหาร หยอดน้ำนมในปาก
ของทารกทั้งสอง. สิ่งใด ๆ เข้าไปในท้องของทารกนั้น สิ่งนั้น ๆ ทั้งหมด
ก็จะแลเห็นเหมือนเข้าไปในภาชนะทำด้วยแก้วมณี. ทารกทั้งสอง ไม่มีผิวอย่าง
นี้. แต่อาจารย์พวกอื่น ๆ กล่าวว่า ผิวของทารกทั้งของนั้น ใสถึงกันและกัน
เหมือนถูกร้อยด้วยวางไว้. ทารกเหล่านั้น จึงปรากฏชื่อว่า ลิจฉวี เพราะไม่
มีผิว หรือเพราะมีผิวใส ด้วยประการฉะนี้.
ดาบสเลี้ยงทารก พอตะวันขึ้นก็เข้าบ้านแสวงหาอาหาร ตอนสาย ๆ ก็
กลับ. คนเลี้ยงโคทั้งหลาย รู้ถึงการขวนขวายนั้นของดาบสนั้น ก็กล่าวว่า
ท่านเจ้าข้า การเลี้ยงทารกเป็นกังวลห่วงใยของเหล่านักบวช ขอท่านโปรดให้
ทารกแก่พวกเราเถิด พวกเราจะช่วยกันเลี้ยง ขอท่านโปรดทำกิจกรรมของ
ท่านเถิด. ดาบสก็ยอมรับ. วันรุ่งขึ้น พวกคนเลี้ยงโคก็ช่วยกันทำหนทางให้
เรียบแล้วโรยทราย ยกธง มีดนตรีบรรเลงพากันมายังอาศรม. ดาบสกล่าวว่า
ทารกทั้งสองมีบุญมาก พวกท่านจงช่วยกันเลี้ยงให้เจริญวัย ด้วยความไม่ประ-
มาท ครั้นให้เจริญวัยแล้ว จงจัดการอาวาหวิวาหกันและกัน ให้พระราชา

ทรงยินดีด้วยปัญจโครส จงเลือกหาภูมิประเทศช่วยกันสร้างพระนครขึ้น จง
อภิเษกพระกุมารเสีย ณ ที่นั้น แล้วมอบทารกให้. พวกคนเลี้ยงโครับคำแล้ว
ก็นำทารกไปเลี้ยงดู.
ทารกทั้งสอง เจริญเติบโตก็เล่นการเล่น ใช้มือบ้าง เท้าบ้าง ทุบ
ถีบพวกเด็กลูกของคนเลี้ยงโคอื่น ๆ ในที่ทะเลาะกัน เด็กลูกคนเลี้ยงโคเหล่านั้น
ก็ร้องไห้ ถูกมารดาบิดาถามว่าร้องไห้ทำไม ก็บอกว่า เจ้าเด็กไม่มีพ่อแม่ที่
ดาบสเลี้ยงเหล่านั้น ข่มเหงเรา. แต่นั้น มารดาบิดาของเด็กเหล่านั้น ก็กล่าวว่า
ทารกสองคนนี้ชอบข่มเหงให้เด็กอื่น ๆ. เดือดร้อน จะไม่สงเคราะห์มัน ละเว้น
มันเสีย. เขาว่าตั้งแต่นั้นมา ประเทศที่นั้น จึงถูกเรียกว่า วัชชี ขนาด 300
โยชน์. ครั้งนั้น พวกคนเลี้ยงโคทำพระราชาให้ยินดีแล้ว เลือกเอาประเทศที่นั้น
สร้างพระนครลงในประเทศนั้น แล้วอภิเษกพระกุมาร ซึ่งพระชนม์ได้ 16
พรรษา ตั้งเป็นพระราชา ได้ทำการวิวาหมงคลกับทาริกาของพระองค์ ได้วาง
กติกากฎเกณฑ์ไว้ว่า จะไม่นำทาริกามาจากภายนอก และไม่ให้ทาริกาจากที่นี้
แก่ใคร ๆ โดยการอยู่ร่วมกันครั้งแรกของพระกุมารกุมารีนั้น ก็เกิดทารกคู่
หนึ่ง เป็นธิดา 1 โอรส 1 โดยอาการอย่างนี้ ก็เกิดเป็นคู่ ๆ ถึง 16 ครั้ง.
แต่นั้น เมื่อทารกเหล่านั้น เจริญวัยโดยลำดับ นครนั้นก็ไม่พอที่จะบรรจุอาราม
อุทยาน สถานที่อยู่ บริวารและสมบัติ จึงล้อมรอบด้วยประการ 3 ชั้น ระหว่าง
คาวุต หนึ่งๆ เพราะนครนั้น ถูกขยายกว้างออกบ่อย ๆ จึงเกิดนามว่าเวสาลีนี้แล.
นี้เรื่องกรุงเวสาลี

การนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า


ก็กรุงเวสาลีนี้ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติก็มั่นคงไพบูลย์
ด้วยว่า ในกรุงเวสาลีนั้นมีเจ้าอยู่ถึง 7 ,707 พระองค์. พระยุพราชเสนาบดี
และภัณฑาคาริกเป็นต้นก็เหมือนกัน เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า