เมนู

หิตประโยชน์ ประกาศพระธรรมอันดับต่อมา เพราะเป็นแดนเกิดแห่งพระ-
พุทธเจ้านั้น และเพราะเป็นธรรมเป็นหิตประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง ประกาศ
พระสงฆ์อันดับสุดท้าย เพราะพระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุหิตประโยชน์ และ
มีหิตประโยชน์อันบรรลุแล้ว กำหนดโดยความเป็นสรณะ.

ประกาศด้วยข้ออุปมา


บัดนี้ จะกล่าวอธิบายคำที่ว่าจะประกาศพระสรณตรัยนั้น ด้วยข้อ
อุปมาทั้งหลาย ก็ในคำนั้น พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนพระจันทร์เพ็ญ พระ-
ธรรมเปรียบเหมือนกลุ่มรัศมีของพระจันทร์ พระสงฆ์เปรียบเหมือนโลกที่
เอิบอิ่มด้วยรัศมีของพระจันทร์เพ็ญที่ทำให้เกิดขึ้น พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน
ดวงอาทิตย์ทอแสงอ่อน ๆ พระธรรมดังกล่าวเปรียบเหมือนข่ายรัศมีของดวง
อาทิตย์นั้น พระสงฆ์เปรียบเหมือนโลกที่ดวงอาทิตย์นั้นกำจัดมืดแล้ว. พระ-
พุทธเจ้าเปรียบเหมือนคนเผาป่า พระธรรมเครื่องเผาป่าคือกิเลส เปรียบเหมือน
ไฟเผาป่า พระสงฆ์ที่เป็นบุญเขต เพราะเผากิเลสได้แล้ว เปรียบเหมือนภูมิภาค
ที่เป็นเขตนา เพราะเผาห่าเสียแล้ว. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนเมฆฝนใหญ่
พระธรรมเปรียบเหมือนน้ำฝน พระสงฆ์ผู้ระงับละอองกิเลสเปรียบเหมือน
ชนบทที่ระงับละอองฝุ่นเพราะฝนตก. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนสารถีที่ดี
พระธรรมเปรียบเหมือนอุบายฝึกม้าอาชาไนย พระสงฆ์เปรียบเหมือนฝูงม้า
อาชาไนยที่ฝึกมาดีแล้ว. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนศัลยแพทย์ [หมอผ่าตัด]
เพราะทรงถอนลูกศรคือทิฏฐิได้หมด พระธรรมเปรียบเหมือนอุบายที่ถอนลูกศร
ออกได้พระสงฆ์ผู้ถอนลูกศรคือทิฏฐิออกแล้ว เปรียบเหมือนชนที่ถูกถอนลูกศร
ออกแล้ว. อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนจักษุแพทย์ เพราะทรงลอก
พื้นชั้นโมหะออกได้แล้ว พระธรรมเปรียบเหมือนอุบายเครื่องลอกพื้น [ตา]

พระสงฆ์ผู้มีพื้นชั้นตาอันลอกแล้ว ผู้มีดวงตาคือญาณอันสดใส เปรียบเหมือนชน
ที่ลอกพื้นตาแล้ว มีดวงตาสดใส. อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนแพทย์
ผู้ฉลาด เพราะทรงสามารถกำจัด พยาธิคือกิเลสพร้อมทั้งอนุสัยออกได้ พระธรรม
เปรียบเหมือนเภสัชยาที่ทรงปรุงถูกต้องแล้ว พระสงฆ์ผู้มีพยาธิคือกิเลสและ
อนุสัยอันระงับแล้ว เปรียบเหมือนหมู่ชนที่พยาธิระงับแล้ว เพราะประกอบยา.
อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ชี้ทาง พระธรรมเปรียบ
เหมือนทางดี หรือพื้นที่ที่ปลอดภัย พระสงฆ์เปรียบเหมือนผู้เดินทาง ถึงที่ที่
ปลอดภัย พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนนายเรือที่ดี พระธรรมเปรียบเหมือนเรือ
พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้เดินทางถึงฝั่ง. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนป่า
หิมพานต์ พระธรรมเปรียบเหมือนโอสถยาที่เกิดแต่ป่าหิมพานต์นั้น พระสงฆ์
เปรียบเหมือนชนผู้ไม่มีโรคเพราะใช้ยา. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ประทาน
ทรัพย์ พระธรรมเปรียบเหมือนทรัพย์ พระสงฆ์ผู้ได้อริยทรัพย์มาโดยชอบ
เปรียบเหมือนชนผู้ได้ทรัพย์ตามที่ประสงค์. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ชี้
ขุมทรัพย์ พระธรรมเปรียบเหมือนขุมทรัพย์ พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ได้
ขุมทรัพย์.
อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าผู้เป็นวีรบุรุษเปรียบเหมือนผู้ประทานความ
ไม่มีภัยพระธรรมเปรียบเหมือนไม่มีภัย พระสงฆ์ผู้ล่วงภัยทุกอย่าง เปรียบเหมือน
ชนผู้ถึงความไม่มีภัย พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ปลอบพระธรรมเปรียบเหมือน
การปลอบ พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ถูกปลอบ พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือน
มิตรดี พระธรรมเปรียบเหมือนคำสอนที่เป็นหิตประโยชน์ พระสงฆ์เปรียบ
เหมือนชนผู้ประสบประโยชน์ตน เพราะประกอบหิตประโยชน์. พระพุทธเจ้า
เปรียบเหมือนบ่อเกิดทรัพย์พระธรรมเปรียบเหมือนทรัพย์ที่เป็นสาระ พระสงฆ์

เปรียบเหมือนชนผู้ใช้ทรัพย์ที่เป็นสาระ พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ทรงสรง
สนานพระราชกุมาร พระธรรมเปรียบเหมือนน้ำที่สนานตลอดพระเศียร พระ-
สงฆ์ผู้สรงสนานดีแล้วด้วยน้ำคือพระสัทธรรม เปรียบเหมือนหมู่พระราชกุมาร
ที่สรงสนานดีแล้ว. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนช่างผู้ทำเครื่องประดับ พระธรรม
เปรียบเหมือนเครื่องประดับ พระสงฆ์ผู้ประดับด้วยพระสัทธรรมเปรียบเหมือน
หมู่พระราชโอรสที่ทรงประดับแล้ว. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนต้นจันทน์ พระ-
ธรรมเปรียบเหมือนกลิ่นอันเกิดแต่ต้นจันทน์นั้น พระสงฆ์ผู้ระงับความเร่าร้อน
ได้สิ้นเชิง เพราะอุปโภคใช้พระสัทธรรม เปรียบเหมือนชนผู้ระงับความร้อน
เพราะใช้จันทน์ พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนบิดามอบมฤดกโดยธรรม พระ-
ธรรมเปรียบเหมือนมฤดก พระสงฆ์ผู้สืบมฤดกดือพระสัทธรรม เปรียบเหมือน
พวกบุตรผู้สืบมฤดก. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนดอกปทุมที่ปาน พระธรรม
เปรียบเหมือนน้ำอ้อยที่เกิดจากดอกปทุมที่บานนั้น พระสงฆ์เปรียบเหมือนหมู่
ภมรที่ดูดกินน้ำอ้อยนั้น. พึงประกาศพระสรณตรัยนั้น ด้วยข้ออุปมาทั้งหลาย
ดังกล่าวมาฉะนี้.
มาติกาหัวข้อของกถาพรรณนาความที่ยกตั้งไว้ในเบื้องต้นด้วย 4 คาถา
ว่า พระสรณตรัย ใครกล่าว กล่าวที่ไหน กล่าวเมื่อไร กล่าวเพราะเหตุไร
เป็นต้น ก็เป็นอันประกาศแล้วโดยอรรถ ด้วยกถามีประมาณเพียงเท่านี้แล.
จบกถาพรรณนาพระสรณตรัย
อรรถกถาขุททกปาฐะ ชื่อปรมัตถโชติกา

สิกขาบท 10 ในขุททกปาฐะ


[2] ข้าพเจ้าสมาทาน สิกขาบท คือเจตนางด
เว้นจากปาณาติบาต
ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจาก
อทินนาทาน
ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจาก
อพรหมจรรย์
ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจาก
มุสาวาท
ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจาก
ที่ตั้งแต่งความประมาท คือการเสพของเมา คือสุรา
เมรัย
ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจาก
การบริโภคอาหารในเวลาวิกาล
ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจาก
การฟ้อนรำ ขับร้อง การประโคม และการดูการเล่น
อันเป็นข้าศึกแก่กุศล
ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจาก
จากการลูบไล้ ทัดทรง ประดับประดาดอกไม้ ของหอม
อันเป็นลักษณะการแต่งตัว
ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจาก
การนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนสูงใหญ่
ข้าพเจ้าสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจาก
การรับทองและเงิน

จบสิกขาบท 10