เมนู

อันกำหนดด้วยอักขระบท. ว่าอย่างไร. ว่าอย่างนี้ว่า พหู เทวา มนุสฺสา จ
ฯปฯ พฺรูหิ มงฺคลมุตฺตมํ.


เรื่องมูลเหตุเกิดมงคลปัญหา


ในการพรรณนามงคลสูตรนั้น เพราะเหตุที่ข้าพเจ้าตั้งมาติกาหัวข้อไว้
ว่า เนื้อจะพรรณนาความแห่งปาฐะมีอาทิว่า เอวํ โดยประการต่างๆ จะกล่าว
ถึงสมุฏฐานมูลเหตุ ดังนี้ นี้เป็นโอกาสที่จะกล่าวถึงสมุฏฐานมลเหตุนั้น ฉะนั้น
จะกล่าวถึงสมุฏฐานมูลเหตุเกิดมงคลปัญหาเสียก่อนแล้วภายหลัง จึงจักพรรณนา
ความแห่งบทคาถาเหล่านี้.
เล่ากันมาว่า ในชมพูทวีป มหาชนชุมนุมกันในที่นั้น ๆ เช่นใกล้ประตู
เมือง สภาแห่งสถานราชการเป็นต้น มอบทรัพย์สินเงินทอง ให้เขาเล่าเรื่อง
ต่าง ๆ เช่น เรื่องนำนางสีดามาเป็นต้น. เรื่องหนึ่ง ๆ เล่าอยู่ถึง 4 เดือนจึงจบ
ในสถานที่นั้น . วันหนึ่ง เรื่องมงคลปัญหาก็เกิดขึ้นว่า อะไรเล่าหนอ เป็น
มงคล. สิ่งที่เห็นหรือเป็นมงคล เรื่องที่ได้ยินหรือเป็นมงคล หรือเรื่องที่ทราบ
เป็นมงคล ใครหนอรู้จักมงคล ดังนี้.
ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่ง ชื่อทิฏฐมังคลิกะ [นับถือสิ่งที่เห็นเป็นมงคล]
กล่าวว่า ข้าพเจ้ารู้จักมงคล. สิ่งที่เห็นเป็นมงคลในโลก รูปที่สมมติกันว่า
เป็นมงคลยิ่ง ชื่อว่าทิฏฐะ. รูปอย่างไรเล่า. คนบางคนในโลกนี้ ตื่นแต่เช้าเห็น
นกกระเต็นบ้าง เห็นต้นมะตูมรุ่นบ้าง เห็นหญิงมีครรภ์บ้าง เห็นเด็กรุ่น
หนุ่ม ตกแต่งประดับกาย เทินหม้อเต็มน้ำบ้าง ปลาตะเพียนแดงสดบ้าง ม้า
อาชาไนยบ้าง รถเทียมม้าบ้าง. โคผู้บ้าง โคเมียบ้าง โคแดงบ้าง ก็หรือว่าเห็น
รูปแม้อื่นใด เห็นปานนั้น ที่สมมตกันว่าเป็นมงคลยิ่ง รูปที่เห็นนี้ เรียกว่า
ทิฏฐิมงคล. คนบางพวกก็ยอมรับคำของเขา บางพวกก็ไม่ยอมรับ พวกที่ไม่
ยอมรับ ก็ขัดแย้งกับเขา.

ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่ง ชื่อสุตมังคลิกะ ก็กล่าวว่า ท่านเอย ขึ้นชื่อว่า
ตาย่อมเห็นของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง ของดีบ้างของไม่ดีบ้าง ของ
ชอบใจบ้าง ของไม่ชอบใจบ้าง ผิว่า รูปที่ผู้นั้น เห็นพึงเป็นมงคลไซร้ ก็จะพึง
เป็นมงคลทั้งหมดนะสิ เพราะฉะนั้น รูปที่เห็นไม่เป็นมงคล. ก็แต่ว่าเสียงที่
ได้ยินต่างหากเป็นมงคล. เสียงที่สมมตว่าเป็นมงคลยิ่ง. ชื่อว่าสุตะ อย่างไรเล่า.
คนบางตนในโลกนี้ ลุกขึ้นแต่เช้า ได้ยินเสียงเช่นนี้ว่า เจริญแล้ว เจริญอยู่
เต็ม ขาว ใจดี สิริ เจริญด้วยสิริ วันนี้ ฤกษ์ดี ยามดี วันดี มงคลดี
หรือเสียงที่สมมตว่ามงคลยิ่งอย่างใดอย่างหนึ่ง. เสียงที่ได้ยินนี้ เรียกว่าสุตมงคล.
บางพวกก็ยอมรับคำของเขา บางพวกก็ไม่ยอมรับ พวกที่ไม่ยอมรับ ก็ขัดแย้ง
กับเขา.
ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่ง ชื่อ มุตมังคลิกะ กล่าวว่า ท่านเอย แท้จริง
ขึ้นชื่อว่าหู ย่อมได้ยินเสียงดีบ้างไม่ดีบ้าง ชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้าง ผิว่า
เสียงที่ผู้นั้นได้ยิน พึงเป็นมงคลไซร้ ก็จะเป็นมงคลทั้งหมดนะสิ. เพราะฉะนั้น
เสียงที่ได้ยินจึงไม่เป็นมงคล. ก็แต่ว่าสิ่งที่ทราบแล้วต่างหากเป็นมงคล. กลิ่นรส
และโผฏฐัพพะสิ่งที่พึงถูกต้อง ชื่อว่ามุตะ. อย่างไรเล่า. คนบางคนลุกแต่เช้า
สูดกลิ่นดอกไม้มีกลิ่นดอกปทุมเป็นต้นบ้าง เคี้ยวไม้สีฟันขาวบ้าง จับต้องแผ่น
ดินบ้าง จับต้องข้าวกล้าเขียวบ้าง มูลโคสดบ้าง เต่าบ้าง งาบ้าง ดอกไม้
บ้าง ผลไม้บ้าง ฉาบทาด้วยดินขาวโดยชอบบ้าง นั่งผ้าขาวบ้าง โพกผ้าโพกขาว
บ้าง ก็หรือว่าสูดกลิ่น ลิ้มรส หรือถูกต้องโผฏฐัพพะ ที่สมมติว่าเป็นมงคลยิ่ง
อย่างอื่นใด เห็นปานนั้น สิ่งดังกล่าวมานี้ เรียกว่ามุตมงคล. บางพวกก็ยอม
รับคำแม้ของเขา บางพวกก็ไม่ยอมรับ.

ในสามพวกนั้น ทิฏฐิมังคลิกบุรุษ ก็ไม่อาจทำให้สุตมังคลิกบุรุษและ
มุตมังคลิกบุรุษยินยอมได้ ทั้งสามฝ่ายนั้น ฝ่ายหนึ่ง ก็ทำอีกสองฝ่ายให้ยินยอม
ไม่ได้ บรรดามนุษย์เหล่านั้น พวกใดยอมรับคำของทิฏฐิมังคลิกบุรุษ พวกนั้น
ก็ถือว่ารูปที่เห็นแล้ว เท่านั้นเป็นมงคล. พวกใด ยอมรับคำของสุตมังคลิกบุรุษ
และมุตมังคลิกบุรุษ พวกนั้นก็ถือว่าเสียงที่ได้ยินเท่านั้นเป็นมงคล สิ่งที่ได้
ทราบเท่านั้น เป็นมงคล. เรื่องมงคลปัญหานี้ ปรากฏไปทั่วชมพูทวีป ด้วย
ประการฉะนี้.
ครั้งนั้น มนุษย์ทั่วชมพูทวีปถือกันเป็นพวกๆ พากันคิดมงคลทั้งหลาย
ว่า อะไรกันหนอเป็นมงคล. อารักขเทวดาของมนุษย์พวกนั้น ฟังเรื่องนั้น
แล้ว ก็พากันคิดมงคลทั้งหลายเหมือนกัน. เหล่าภุมมเทวดา เป็นมิตรของ
เทวดาเหล่านั้น ฟังเรื่องจากอารักขเทวดานั้นแล้ว ก็พากันคิดมงคลอย่างนั้น
เหมือนกัน. อากาสัฏฐกเทวดาเป็นมิตรของเทวดาเหล่านั้น จตุมหาราชิกเทวดา
เป็นมิตรของอากาสัฏฐกเทวดาเหล่านั้น โดยอุบายนี้ ตราบถึงอกนิฏฐเทวดา
เป็นมิตรของสุทัสสีเทวดา ฟังเรื่องจากสุทัสสีเทวดานั้นแล้ว ก็ถือกันเป็นพวก ๆ
พากันคิดมงคลทั้งหลาย ด้วยอุบายอย่างนี้ การคิดมงคลได้เกิดไปในที่ทุกแห่ง
จนถึงหมื่นจักรวาล. ก็การคิดมงคลเกิดขึ้นแล้ว แม้วินิจฉัยว่านี้เป็นมงคล นี้
เป็นมงคลแต่ก็ยังไม่เด็ดขาด จึงตั้งอยู่ถึง 12 ปี. ทั้งมนุษย์ทั้งเทวดาทั้งพรหม
หมดด้วยกันเว้น พระอริยสาวกแตกเป็น 3 พวก คือทิฏฐมังคสิกะ สุตมังคลิกะ
และมุตมังคลิกะ แม้แต่พวกหนึ่ง ก็ตกลงตามเป็นจริงไม่ได้ว่า นี้เท่านั้นเป็น
มงคล มงคลโลกาหล การแตกตื่นเรื่องมงคลเกิดขึ้นแล้วในโลก.
ขึ้นชื่อว่า โกลาหลมี 5 คือ กัปปโลาหล จักกวัตติโกลาหล
พุทธโกลาหล มงคลโกลาหล โมเนยยโกลาหล.
บรรดาโกลาหลทั้ง 5

นั้น เหล่าเทวดาชันกามาวจร ปล่อยศีรษะ สยายผม ร้องไห้ เอาหัตถ์เช็ด
น้ำตา นุ่งผ้าสีแดง ทรงเพศแปลก ๆ อย่างยิ่ง เที่ยวไปในถิ่นมนุษย์ร้องบอก
กล่าวว่า ล่วงไปแสนปี กัปจักปรากฏ โลกนี้จักพินาศ มหาสมุทรจักแห้ง
มหาปฐพีนี้และขุนเขาสิเนรุ จักถูกไฟไหม้จักพินาศ โลกพินาศจักมีจนถึง
พรหมโลก. ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ขอท่านทั้งหลายจงพากันเจริญเมตตาไว้เถิด
จงพากันเจริญกรุณา มุทิตา อุเบกขา ไว้เถิด ท่านผู้นิรทุกข์จงบำรุงมารดาบิดา
จงยำเกรงท่านผู้เป็นผู้ใหญ่ในตระกูล ตื่นกันเถิด อย่าได้ประมาทกันเลย. นี้
ชื่อว่า กัปปโกลาหล.
เทวดาชั้นกามาวจรนั่นแล เที่ยวไปในถิ่นมนุษย์บอกกล่าวว่า ล่วงไป
ร้อยปี พระเจ้าจักรพรรดิจักเกิดขึ้นในโลก. นี้ชื่อว่า จักกวัตติโกลาหล.
ส่วนเทวดาชั้นสุทธาวาส ประดับองค์ด้วยอาภรณ์พรหม โพกผ้าของ
พรหมที่พระเศียรเกิดปีติปราโมทย์ กล่าวพระพุทธคุณ เที่ยวไปในถิ่นมนุษย์
บอกกล่าวว่าล่วงไปพันปี พระพุทธเจ้าจักอุบัติในโลก. มีชื่อว่า พุทธโกลาหล.
เทวดาชั้นสุทธาวาสนั้นแหละ รู้จิตของพวกมนุษย์ เที่ยวไปในถิ่น
มนุษย์บอกกล่าวว่า ล่วงไปสิบสองปี พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จักตรัสมงคล. นี้
ชื่อว่า มงคลโกลาหล.
เทวดาชั้นสุทธาวาสนั่นแหละ เที่ยวไปในถิ่นมนุษย์ บอกกล่าวว่า ล่วง
ไปเจ็ดปี ภิกษุรูปหนึ่งสมาคมกับพระผู้มีพระภาคเจ้า จักทูลถามโมเนยยปฏิปทา
นี้ชื่อว่า โมเนยยโกลาหล. บรรดาโกลาหลทั้ง 5 นี้ มงคลโกลาหลของเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วในโลก.
ครั้งนั้น เมื่อเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พากันเลือกเฟ้นก็ยังไม่ได้
มงคลทั้งหลาย ล่วงไป 12 ปี เทวดาชั้นดาวดึงส์คบหาสมาคมกัน ก็ช่วยกัน

คิดอย่างนี้ว่า เจ้าของเรือนก็เป็นหัวหน้าของตนภายในเรือน เจ้าของหมู่บ้าน
ก็เป็นหัวหน้าของชาวหมู่บ้าน พระราชาก็เป็นหัวหน้าของมนุษย์ทั้งหลาย ท้าว
สักกะจอมทวยเทพพระองค์นี้ ก็เป็นผู้เลิศประเสริฐสุดของพวกเรา คือเป็น
อธิบดีของเทวโลกทั้งสอง [ชั้นจาตุมหาราชและดาวดึงส์] ด้วยบุญ เดช อิสริยะ
ปัญญา. ถ้ากระไร เราจะพึงพากันไปทูลถามความข้อนี้กะท้าวสักกะ จอมทวย
เทพเถิด. เทวดาเหล่านั้น ก็พากันไปยังสำนักท้าวสักกะ ถวายบังคมจอม
ทวยเทพ ซึ่งมีพระสรีระมีสิริด้วยอาภรณ์ประจำพระองค์ อันเหมาะแก่ขณะนั้น
มีหมู่อัปสร 250 โกฏิห้อมล้อม ประทับนั่งเหนือบัณฑุกัมพลสิลาอาสน์อัน
ประเสริฐ ภายใต้ต้นปาริฉัตตกะ แล้วยืน ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ทูลว่า ขอ
ประทานพระวโรกาส พระองค์ผู้นิรทุกข์ โปรดทรงทราบเถิด. บัดนี้ มงคล
ปัญหาตั้งขึ้นแล้ว พวกหนึ่งกล่าวว่า รูปที่เห็นเป็นมงคล พวกหนึ่งกล่าวว่า
เสียงที่ได้ยินเป็นมงคล พวกหนึ่งกล่าวว่าสิ่งที่ทราบแล้วเป็นมงคล บรรดาท่าน
เหล่านั้น พวกข้าพระบาทและพวกอื่นยังไม่ได้ข้อยุติ สาธุ ขอพระองค์โปรด
ทรงพยากรณ์ตามเป็นจริง แก่พวกข้าพระบาทด้วยเถิด. ท้าวสักกะเทวราชแม้
โดยปกติ ทรงมีปัญหา จึงตรัสว่าเรื่องมงคลนี้เถิดขึ้นที่ไหนก่อนเล่า. ทูลว่า
ข้าแต่เทวราช พวกข้าพระบาทฟังคำของพวกเทวดาชั้นจาตุมมหาราช ต่อจาก
นั้น พวกเทวดาจาตุมมหาราชก็ฟังคำของพวกอากาสัฏฐเทวดา พวกอากาสัฏฐ-
เทวดาฟังคำของพวกภุมมเทวดา พวกภุมมเทวดาฟังคำของเทวดาผู้รักษามนุษย์
พวกเทวดาผู้รักษามนุษย์กล่าวว่า เรื่องมงคลเกิดขึ้นในมนุษยโลก.
ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมทวยเทพตรัสถามจอมเทวดาเหล่านั้นว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ที่ไหน. เทวดาทั้งหลายทูลว่า ประทับอยู่ใน
มนุษยโลก พระเจ้าข้า. ตรัสถามว่า ใครได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้นแลหรือ. ทูลว่า ไม่มีใคร พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์

ทำไมหนอ ท่านทั้งหลาย จึงมาทิ้งดวงไฟเสียแล้วมาตามไฟต่อจากแสงหิ่งห้อย
ด้วยเหตุไร ท่านทั้งหลายจึงมาล่วงเลยพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงแสดงมงคลไว้
ไม่เหลือเสียเล่า ยังเข้าใจว่าควรจะได้ถามเรา มาเถิดท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เรา
จะทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พวกเราคงจักได้การพยากรณ์ปัญหา
อัน มีสิริแน่แท้ จึงมีเทวโองการใช้เทพบุตรองค์หนึ่งว่า ท่านจงไปทูลถามพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. เทพบุตรองค์นั้นแต่งองค์ด้วยเครืองอลังการ อันเหมาะ
แก่ขณะนั้น รุ่งโรจน์ดุจสายฟ้าแลบ มีหมู่เทพแวดล้อม ไปยังพระเชตวัน
มหาวิหาร ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วยืน ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง เมื่อ
ทูลถามมงคลปัญหา จึงกล่าวเป็นคาถาว่า พหู เทวา มนุสฺสา จ เป็นต้น.
นี้เป็นมูลเหตุเกิดมงคลปัญหา

พรรณนาคาถาว่า พหู เทวา


บัดนี้ จะพรรณนาความแห่งบทคาถา. ศัพท์ว่า พหู แสดงจำนวน
ไม่แน่นอน ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงอธิบายว่า หลายร้อย หลายพัน หลายแสน
ชื่อว่า เทวะ เพราะเล่น อธิบายว่า เล่นกับ กามคุณ 5 หรือโชติช่วงด้วย
สิริของตน. อีกนัยหนึ่ง บทว่า เทวา ได้แก่ เทพทั้ง 3 คือสมมติเทพ
อุปปัตติเทพ และวิสุทธิเทพ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า
บทว่า เทวา ได้แก่ เทพ 3 คือ สมมติเทพ อุป-
ปัตติเทพ วิสุทธิเทพ บรรดาเทพทั้ง 3 นั้น พระราชา
พระราชเทวี พระราชกุมาร ชื่อว่าสมมติเทพ. เทพ
ตั้งแต่ชั้นจาตุมมหาราชิกาและสูงขึ้นไปกว่านั้น ชื่อว่า
อุปปัตติเทพ ท่านที่เรียกกันว่าพระอรหันต์ ชื่อว่า
วิสุทธิเทพ.