เมนู

ยศบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ที่ทรงได้โดยพระคุณตามเป็นจริง ปรากฏทั่วสามโลก ทรง
มีพระสิริสง่างามทั่วสรรพางค์ บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ทรงสามารถให้เกิด
ขวัญตาขวัญใจแก่ผู้ขวนขวายเข้าชมพระรูปพระโฉมได้ทรงมีพระกามะ อันหมาย
ถึงความสำเร็จแห่งประโยชน์ที่ทรงประสงค์ เพราะประโยชน์ใด ๆ ที่ทรงประ-
สงค์แล้ว ปรารถนาแล้วจะเป็นประโยชน์ นี้ก็ตามประโยชน์ผู้อื่นก็ตามประโยชน์
นั้น ๆ ก็สำเร็จสมพระประสงค์ทั้งนั้น และทรงมีพระปยัตตะ กล่าวคือ สัมมาวา-
ยามะ อันเป็นเหตุเกิดความเป็นครูของโลกทั้งปวง ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ภควา
โดยอรรถนี้ว่าทรงมีภคธรรม เพราะความที่ทรงประกอบด้วยภคธรรมเหล่านั้น.

แก้บทวิภตฺตวา


อนึ่ง เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็น วิภตฺตวา ท่านอธิบาย
ว่า ทรงจำแนก เปิดเผย แสดง ซึ่งธรรมทั้งปวงโดยประเภทมีประเภทกุศล
เป็นต้น หรือซึ่งธรรมมีกุศลธรรมเป็นต้น โดยประเภทมีขันธ์ อายตนะ ธาตุ
สัจจะ อินทรีย์และปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น หรือซึ่งทุกขอริยสัจ โดยอรรถคือ
ปีฬนะบีบคัน สังขตะอันปัจจัยปรุงแต่ง สันตาปะแผดเผา วิปริณามะแปรปรวน
หรือซึ่งสมุทัยอริยสัจ โดยอรรถคือ อายูหนะ ประมวลทุกข์มา นิทานะเหตุ
แห่งทุกข์ สังโยคะผูกไว้กับทุกข์ ปลิโพธะหน่วงไว้มิให้ถึงมรรค ซึ่งนิโรธ-
อริยสัจโดยอรรถคือ นิสสรณะออกไปจากทุกข์ วิเวกะสงัดจากทุกข์ อสัง-
ขตะอันปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง อมตะเป็นสภาพไม่ตาย ซึ่งมรรคอริยสัจโดยอรรถ
คือ นิยยานิกะ นำออกจากทุกข์ เหตุ เหตุแห่งนิโรธ ทัสสนะเห็นพระนิพพาน
อธิปไตย ใหญ่ในการเห็นพระนิพพาน ฉะนั้น เมื่อน่าจะเรียก วิภตฺตวา แต่
ก็เรียกเสียว่า ภควา.