เมนู

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
ชนเหล่านั้นละกายมนุษย์ไปแล้ว ก็จักไม่เข้าถึงอบาย-
ภูมิ จักทำหมู่เทพให้บริบูรณ์
ดังนี้.
ก็ในข้อนั้น พึงทราบอธิบายแห่งคาถาอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใด ถึง
สรณะด้วยการตัดอุปกิเลสได้ขาดด้วยสรณคมน์ ชนเหล่านั้น จักไม่ไปอบาย.
ส่วนชนนอกนั้น จักไม่ไปอบาย ก็ด้วยการถึงสรณะ.
แสดงสรณะขาดไม่ขาดและผลเพียงเท่านี้ก่อน.

แสดงสรณะที่ควรถึง


ในการแสดงสรณะที่ควรถึง ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ในคำนี้ว่า ข้าพเจ้าถึง
พระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ผู้ใดถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ผู้นั้น จะพึงถึงพระ-
พุทธเจ้าหรือสรณะ แม้ทั้งสองคำ การกล่าวแต่คำเดียว ก็ไร้ประโยชน์ เพราะ
เหตุไร เพราะมีแต่กิริยาคือการถึง ไม่มีสองกรรม. ความจริง นักคิดทาง
อักษรศาสตร์ ไม่ประสงค์กรรม 2 กรรมในข้อนี้ เหมือนในคำว่า อชํ คามํ
เนติ
เป็นต้น ฉะนั้น.
ถ้าผู้ทักท้วงกล่าวว่า การกล่าวแม้คำทั้งสองมีแค่ประโยชน์อย่างเดียว
เหมือนในคำว่า คจฺฉเตว ปุพฺพํ ทิสํ คจฺฉติ ปจฺฉิมํ ทิสํ นักคิด
อักษรศาสตร์ไม่ประสงค์อย่างนั้นดอก เพราะท่านไม่ประสงค์ว่า พระพุทธเจ้า
และสรณะเป็นตัวเหตุเท่า ๆ กัน ความจริงเมื่อประสงค์ว่า พระพุทธเจ้า
และสรณะเหล่านั้น เป็นตัวเหตะเท่า ๆ กันแล้ว บุคคลแม้มีจิตขุ่นเคือง เข้า
เฝ้าพระพุทธเจ้าก็จะพึงชื่อว่า ถึงพระพุทธเจ้า ถึงสรณะน่ะสิ สรณะนั้นใด
ทำให้ต่างไปว่า พระพุทธเจ้า. ผู้นั้นก็ชื่อว่าถึงสรณะนั้นทั้งนั้น.

ถ้าผู้ทักท้วงกล่าวว่า ท่านประสงค์เอาความที่พระพุทธเจ้าและสรณะ
เป็นตัวเหตุเท่า ๆ กัน เพราะบาลีว่า เอตํ โข สรณํ เขมํ เอตํ สรณมุตฺตมํ
สรณะนั่นแลเกษม ปลอดภัย สรณะนั้นอุดมสูงสุด ไม่ประสงค์เช่นนั้น ดอก
เพราะในบทคาถานั้น มีแต่พระพุทธเจ้าเป็นสรณะนั้น. ความจริง ในบทคาถา
นั้นนั่นแลท่านประสงค์ถึงความที่พระพุทธเจ้าและสรณะเป็นตัวเหตุเท่า ๆ กัน
อย่างนี้ว่า สรณะทั้งเกษมทั้งอุดม เพราะพิจารณาเป็นถึงพระรัตนตรัยมีพระ-
พุทธเจ้าเป็นต้นนั้น ในความเป็นสรณะ ที่นับได้ว่า กำจัดภัยแก่ผู้ถึงสรณคมน์
ได้จริง ส่วนในบาลีประเทศอื่น เมื่อมีความสัมพันธ์ด้วยผู้ถึงสรณคมน์
ท่านก็ไม่ประสงค์ความที่พระพุทธเจ้าและสรณะเป็นตัวเหตุเท่า ๆ กัน เพราะ
ไม่สำเร็จเป็นสรณคมน์ ดังนั้น คำนี้จึงสาธกไม่ได้.
ถ้าผู้ทักท้วงกล่าวว่า น่าจะประสงค์เอาความที่พระพุทธเจ้าและสรณะ
เป็นตัวเหตุเท่า ๆ กัน เพราะสำเร็จเป็นสรณคมน์ แม้เมื่อมีความสัมพันธ์ด้วย
ผู้ถึงสรณคมน์ได้ในบาลีนี้ว่า เอตํ สรณนาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ
บุคคลอาศัยสรณะนั้น ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงดังนี้ ไม่ใช่เช่นนั้นดอก
เพราะขัดข้องด้วยโทษที่กล่าวมาก่อนแล้ว. ความจริง แม้ในข้อนั้น ก็จะพึง
ขัดข้องด้วยโทษที่กล่าวมาก่อนว่า เมื่อมีความที่พระพุทธเจ้าและสรณะเป็นตัว
เหตุเท่า ๆ กัน อยู่ บุคคลแม้มีจิตขุ่นเคืองอาศัยสรณะ. คือพระพุทธเจ้า พระ
ธรรมและพระสงฆ์ ก็จะพึงหลุดพ้นจากทุกข์ได้หมดน่ะสิ แต่จะว่าไม่ขัดข้อง
ด้วยโทษก็หามิได้ ดังนั้น คำนั้นจึงสาธกไม่ได้. พึงทราบอธิบายในข้อ
นั้น อย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งหลายเมื่อจะหลุดพ้น ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า ผู้เป็นกัลยาณมิตร ท่านก็กล่าวว่า อาศัยกัลยาณมิตรจึงหลุดพ้น ได้
ในบาลีนี้ว่า

ดูก่อนอานนท์ ก็สัตว์ทั้งหลายที่มีชาติความเกิด
เป็นธรรมดา อาศัยเราตลาคตเป็นกัลยาณมิตร ย่อม
หลุดพ้น จากชาติดังนี้ ฉันใด แต่ในที่นี้ บุคคลเมื่อ
จะหลุดพ้น ด้วยอานุภาพแห่งสรณะ คือพระพุทธเจ้า
พระธรรมและพระสงฆ์ ท่านก็กล่าวว่า บุคคลอาศัย
สรณะนี้ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ ทั้งปวง ดังนี้ ก็ฉันนั้น.

ความที่พระพุทธเจ้าเป็นคมนียะ ควรถึงก็ไม่ถูก ความที่สรณะเป็น
คมนียะควรถึงก็ไม่ถูก ความที่พระพุทธเจ้าและสรณะทั้งสอง เป็นคมนียะควร
ถึงก็ไม่ถูก แม้โดยประการทั้งปวงอย่างนี้ คมนียะสิ่งที่ควรถึงของผู้ถึงสรณคมน์
ที่ท่านอธิบายว่า ข้าพเจ้าถึงสิ่งที่พึงปรารถนา ควรกล่าวถึง ต่อนั้น ก็ควร
กล่าวข้อยุติคือข้อที่ถูก ในเรื่องนี้ ดังนั้น ข้าพเจ้าจะกล่าวข้อยุติดังต่อไปนี้
ในข้อยุตินี้ พระพุทธเจ้าเท่านั้นเป็นคมนียะ แต่เพื่อแสดงอาการคือ
การถึง คำกล่าวถึงสรณะนั้นมีว่า ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ พระ-
พุทธเจ้าพระองค์นั้นเป็นสรณะของข้าพเจ้า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เป็น
ปรายนะนำหน้าของข้าพเจ้า เป็นผู้กำจัดทุกข์ เป็นผู้ทรงประโยชน์ ข้าพเจ้า
ถึง คบ เสพ เข้าใกล้ชิดพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ด้วยความประสงค์ดังกล่าว
มานี้ หรือว่าข้าพเจ้ารู้ทราบอย่างนี้ จริงอยู่ คติเป็นประโยชน์ของธาตุเหล่าใด
แม้ความรู้ก็เป็นประโยชน์ของธาตุเหล่านั้น.
ถ้าผู้ทักท้วงกล่าวว่า ข้อนั้นไม่ถูก เพราะไม่ประกอบ อิติ ศัพท์ คำ
ทักท้วงนั้นก็ไม่ถูก ข้อยุติที่ถูกในเรื่องนั้น พึงมีดังนี้.

หากว่าความในเรื่องนั้น พึงมีอย่างนี้ไซร้. แต่นั้น ก็พึงต้องประกอบ
อิติศัพท์ ดังในประโยคทั้งหลายเป็นต้นว่า อนิจฺจํ รูปํ อนิจฺจํ รูปนฺติ
ยถาภูตํ ปชานาติ
ย่อมรู้ชัดรูปที่ไม่เที่ยง ตามความเป็นจริงว่า รูปไม่เที่ยง
ดังนี้. แต่อิติศัพท์ท่านหาประกอบไว้ไม่ เพราะฉะนั้น ข้อทักท้วงนั้นจึงไม่ถูก
แต่อันนี้ ไม่ถูกเพราะเหตุไร เพราะความของอิติศัพท์มีอยู่ในตัวนั้นแล้ว ความ
ของอิติศัพท์แม้ในที่นี้ ก็มีอยู่พร้อม ดังในประโยคทั้งหลายเป็นต้น อย่างนี้ว่า
โย จ พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต ก็ผู้ใดถึงพระพุทธเจ้า
พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ดังนี้ แต่มิใช่จะต้องประกอบอิติศัพท์
ไว้ในที่ทุกแห่ง เพราะมีความอยู่พร้อมในตัวแล้ว บัณฑิตพึงทราบความของ
อิติศัพท์แม้มิได้ประกอบไว้ เหมือนดังประกอบไว้ในที่นั้น ทั้งในที่อื่นซึ่งมี
กำเนิดอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อิติศัพท์จึงไม่มีโทษ [ไม่ผิด]
ถ้าผู้ทักท้วงกล่าวว่า คำใดที่ท่านกล่าวไว้ว่า ก็เพื่อแสดงอาการคือถึง
จึงต้องกล่าวระบุสรณะดังนี้ คำนั้น ก็ไม่ถูก เพราะสรณะเท่านั้น เป็นคมนียะ
สิ่งที่ควรถึง ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตอนุญาตการ
บรรพชา ด้วยสรณคมน์สาม ดังนี้ คำที่ข้าพเจ้ากล่าวนั้น ไม่ใช่ไม่ถูก เพราะ
เหตุไร เพราะคำนั้นมีความอยู่พร้อมในตัว. ความจริง ความของอิติศัพท์นั้น
ก็มีอยู่พร้อมในคำแม้นั้นเอง เพราะเหตุที่แม้ไม่ประกอบอิติศัพท์ไว้เช่นคำก่อน
ก็พึงเห็นเหมือนดังประกอบอิติศัพท์ไว้ นอกจากนี้ก็พึงขัดข้องด้วยโทษที่กล่าว
มาก่อนนั่นแหละ เพราะฉะนั้น พึงถือเอาตามที่ท่านสอนไว้เท่านั้น.
แสดงสิ่งที่ควรถึงดังกล่าวมาฉะนี้

ชี้แจงสรณะคือพระธรรมและพระสงฆ์


บัดนี้ จะกล่าวอธิบายต่อไป. ในคำที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า แม้ในสรณะ
ทั้งสองมีว่า ธมฺมํ สรณํ เป็นต้น ก็รู้กันแล้วว่ามีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. นัย
แห่งการพรรณนาความนี้ใด ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในคำนี้ว่า พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ก็พึงทราบนัยแห่งการพรรณนาความนั้น ในสองบทนี้ว่า ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
. จริงอยู่ ในข้อแม้นั้น ว่าโดยอรรถและพยัญชนะ
ของพระธรรมและพระสงฆ์ ก็มีเพียงการชี้แจงเท่านั้นที่ไม่เหมือนกัน นอกนั้น
ก็เหมือนกันกับที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น เพราะจะกล่าวอธิบายเฉพาะที่ไม่เหมือนกัน
ในพระธรรมและพระสงฆ์นี้ ดังนี้ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มรรค ผล นิพพาน
ชื่อว่า พระธรรม. ขันติ ความชอบใจหรือมติของพวกเราว่า มรรคและวิราคะ
เท่านั้น ชื่อว่าพระธรรมในอรรถนี้ เพราะทรงผู้เจริญมรรคผล และผู้ทำให้
แจ้งพระนิพพานแล้ว โดยไม่ให้ตกไปในอบายทั้งหลาย และทำให้โปร่งใจ
อย่างยิ่ง ขอยกอัคคัปปสาทสูตรนั้นแลเป็นข้อสาธก สมจริงดังที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสไว้ในอัคคัปปสาทสูตรนั้นเป็นต้นอย่างนี้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังธรรมนี้เพียงใด อริยมรรคประกอบ
ด้วยองค์ 8 ท่านกล่าวว่าเป็นยอดของสังขตธรรมเหล่านั้น. กลุ่มของ
บุคคลทั้งหลาย ผู้พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค 4 อย่าง และผู้มีขันธ-
สันดานอบรมยิ่งด้วยสามัญผล 4
ชื่อว่าพระสงฆ์ เพราะรวมตัวกันด้วย
การรวมทิฏฐิและศีล สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
ดูก่อนอานนท์ เธอจะสำคัญข้อนั้นเป็นไฉน
ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงเพื่อรู้ยิ่งสำหรับเธอทั้งหลาย
คือสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์