เมนู

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
ชนเหล่านั้นละกายมนุษย์ไปแล้ว ก็จักไม่เข้าถึงอบาย-
ภูมิ จักทำหมู่เทพให้บริบูรณ์
ดังนี้.
ก็ในข้อนั้น พึงทราบอธิบายแห่งคาถาอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใด ถึง
สรณะด้วยการตัดอุปกิเลสได้ขาดด้วยสรณคมน์ ชนเหล่านั้น จักไม่ไปอบาย.
ส่วนชนนอกนั้น จักไม่ไปอบาย ก็ด้วยการถึงสรณะ.
แสดงสรณะขาดไม่ขาดและผลเพียงเท่านี้ก่อน.

แสดงสรณะที่ควรถึง


ในการแสดงสรณะที่ควรถึง ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ในคำนี้ว่า ข้าพเจ้าถึง
พระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ผู้ใดถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ผู้นั้น จะพึงถึงพระ-
พุทธเจ้าหรือสรณะ แม้ทั้งสองคำ การกล่าวแต่คำเดียว ก็ไร้ประโยชน์ เพราะ
เหตุไร เพราะมีแต่กิริยาคือการถึง ไม่มีสองกรรม. ความจริง นักคิดทาง
อักษรศาสตร์ ไม่ประสงค์กรรม 2 กรรมในข้อนี้ เหมือนในคำว่า อชํ คามํ
เนติ
เป็นต้น ฉะนั้น.
ถ้าผู้ทักท้วงกล่าวว่า การกล่าวแม้คำทั้งสองมีแค่ประโยชน์อย่างเดียว
เหมือนในคำว่า คจฺฉเตว ปุพฺพํ ทิสํ คจฺฉติ ปจฺฉิมํ ทิสํ นักคิด
อักษรศาสตร์ไม่ประสงค์อย่างนั้นดอก เพราะท่านไม่ประสงค์ว่า พระพุทธเจ้า
และสรณะเป็นตัวเหตุเท่า ๆ กัน ความจริงเมื่อประสงค์ว่า พระพุทธเจ้า
และสรณะเหล่านั้น เป็นตัวเหตะเท่า ๆ กันแล้ว บุคคลแม้มีจิตขุ่นเคือง เข้า
เฝ้าพระพุทธเจ้าก็จะพึงชื่อว่า ถึงพระพุทธเจ้า ถึงสรณะน่ะสิ สรณะนั้นใด
ทำให้ต่างไปว่า พระพุทธเจ้า. ผู้นั้นก็ชื่อว่าถึงสรณะนั้นทั้งนั้น.