เมนู

ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะทรงตื่นแล้วเหตุสิ้นกิเลสดุจความหลับ
ทุกอย่าง เหมือนบุรุษตื่นเพราะสิ้นความหลับ เพราะทรงละธรรมอันทำความ
หดหู่แห่งจิตได้. ท่านกล่าวว่า เอกายนมคฺคํ คโตติ พุทฺโธ ดังนี้ ก็เพื่อ
แสดงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านเรียกว่า พุทธะ ก็เพราะทรงดำเนินเอกายน-
มรรค เหมือนบุรุษแม้เดินทาง เขาก็เรียกว่าผู้เดินไป เพราะปริยาย (ทาง) แห่ง
อรรถว่าไปสู่ทางตรัสรู้. บทว่า เอโก อนุตฺตรํ สมฺมาสมฺโพธึ อภิสมฺพุทฺโธติ
พุทฺโธ
ท่านอธิบายว่า ชื่อว่า พุทธะ ไม่ใช่เพราะตรัสรู้โดยคนอื่น ที่แท้ ชื่อว่า
พุทธะ เพราะตรัสรู้ยิ่งซึ่งพระสัมมาสัมโพธิ อันยอดเยี่ยม ด้วยพระองค์เอง
เท่านั้น. คำนี้ว่า อพุทฺธิวิหตตฺตา พุทฺธิปฏิลาภา พุทฺโธ เป็นคำแสดง
ปริยายว่า พุทฺธิ พุทธํ โพโธ ในคำนั้น พึงทราบอรรถ ที่สามารถทำ พุทธะ
ศัพท์ของบททุกบทให้สำเร็จความ โดยนัยอย่างนี้ว่า ท่านอธิบายเพื่อให้รู้ว่า
พุทธะ เพราะทรงประกอบด้วยพระคุณคือพุทธิความรู้เหมือนที่เรียกกันว่า
ผ้าเขียว ผ้าแดง ก็เพราะประกอบด้วยสีเขียว สีแดง ต่อแต่นั้น คำเป็นต้น
อย่างนี้ว่า พุทฺโธติ เนตํ นามํ ท่านกล่าวไว้ก็เพื่อให้รู้ว่า บัญญัตินี้ ดำ-
เนินไปตามอรรถะคือเนื้อความ.
การชี้แจงเรื่องพุทธะแม้โดยพยัญชนะ มีดังกล่าวมานี้.

ชี้แจงเรื่องสรณคมน์และผู้ถึงสรณคมน์


บัดนี้ จะกล่าวชี้แจงในเรื่องการถึงสรณคมน์เป็นต้น ดังต่อไปนี้.
พระรัตนตรัยที่ชื่อว่า สรณะ เพราะกำจัด อธิบายว่า บีบ ทำลาย นำออก
ดับภัยคือความกลัว ความหวาดสะดุ้ง ทุกข์ ทุคติ ความเศร้าหมอง ด้วย
การถึงสรณะนั้นนั่นแล ของคนทั้งหลายที่ถึงสรณคมน์. อีกนัยหนึ่ง พระพุทธเจ้า
ชื่อว่า สรณะ เพราะกำจัดภัยของสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการให้เข้าถึงสิ่งที่เป็น

ประโยชน์และนำออกจากสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์. พระธรรมชื่อว่า สรณะ เพราะ
ให้สัตว์ข้ามพ้นกันดารคือภพ และให้ความโปร่งใจ. พระสงฆ์ ชื่อว่า สรณะ
เพราะกระทำสักการะ แม้เล็กน้อย ให้กลับได้ผลอันไพบูลย์ เพราะฉะนั้น
พระรัตนตรัยนั้น จึงชื่อว่า สรณะ โดยปริยายดังว่ามานี้.
จิตตุปบาทที่ความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนั้นและความเคารพในพระ
รัตนตรัยนั้น กำจัดทำลายกิเลสเสียได้ เป็นไปโดยอาการคือความมีพระรัตนตรัย
นั้น เป็นเบื้องหน้า หรือ ไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย [ชักจูง] ชื่อว่า สรณคมน์.
สัตว์ผู้พรั่งพร้อมด้วยจิตตุปบาทนั้น ย่อมถึงพระรัตนตรัยนั้น เป็นสรณะ
อธิบายว่า ย่อมเข้าถึงพระรัตนตรัย ด้วยจิตตุปบาท ที่มีประการดังกล่าวแล้ว
อย่างนี้ว่า นี้เป็นสรณะของข้าพเจ้า นี้เป็นเครื่องนำหน้าของข้าพเจ้า. ก็บุคคล
เมื่อจะเข้าถึง ย่อมเข้าถึงด้วยวิธีมาทานเหมือนอย่างนายพาณิชสองคนชื่อว่า
ตปุสสะและภัลลิกะ เป็นต้น ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งสอง
นั้น ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าและพระธรรมเป็นสรณะ ขอพระผู้มี
พระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์ทั้งสองว่าเป็นอุบาสก"
ดังนี้ก็ได้.
เข้าถึงด้วยวิธียอมเป็นศิษย์ เหมือนอย่างท่านพระมหากัสสปะเป็น
ต้นว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นศาสดา
ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก"
ดังนี้ ก็ได้.
เข้าถึง ด้วยวิธีทุ่มตัวไปในพระรัตนตรัยนั้น เหมือนอย่างพรหมยุ-
พราหมณ์
เป็นต้น ความบาลีว่า "เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้
พรหมยุพราหมณี ก็ลุกจากอาสนะ กระทำผ้าห่มเฉวียงบ่า ประนม
มือไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ เปล่งอุทาน 3 ครั้งว่า นโม
ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส, นโม ตสฺส ภควโต

อรหโต สมฺนาสมฺพุทธสฺส, นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา-
สมฺพุทธสฺส"
ดังนี้ก็ได้.
เข้าถึงโดยวิธีมอบตน เช่นโยคีบุคคลผู้ขวนขวายในกรรมฐานก็ได้.
เข้าถึง โดยวิสัยและโดยกิจ หลายวิธี เช่นด้วยวิธีกำจัด อุปกิเลสด้วย
การถึงสรณคมน์ เหมือนอย่างพระอริยบุคคลทั้งหลาย ก็ได้.
ชี้แจงเรื่องการถึงสรณคมน์ และเรื่องบุคคล ผู้เข้าถึงสรณคมน์ ดัง
กล่าวมานี้.

แสดงสรณคมน์ขาด ไม่ขาด และผล


บัดนี้ จะแสดงสรณคมน์ขาดเป็นต้น ที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า จะแสดง
สรณคมน์ขาดและไม่ขาดทั้งผล ทั้งสรณะที่ควรถึง ดังต่อไปนี้.
การขาดสรณคมน์ ของบุคคลผู้ถึงสรณคมน์อย่างนี้ มี 2 อย่าง คือ
มีโทษและไม่มีโทษ การขาดสรณคมน์เพราะการตาย ชื่อว่าไม่มีโทษ การขาด
สรณคมน์เพราะหันไปนับถือศาสดาอื่น และประพฤติผิดในพระศาสดานั้น ชื่อ
ว่ามีโทษ. การขาดแม้ทั้ง 2 นั้น ย่อมมีแก่พวกปุถุชนเหล่านั้น สรณะของ
ปุถุชนเหล่านั้น ย่อมชื่อว่าเศร้าหมอง เพราะประพฤติไปด้วยความไม่รู้ ความ
สงสัยและความรู้ผิด และเพราะประพฤติไม่เอื้อเฟื้อเป็นต้น ในพระพุทธคุณ
ทั้งหลาย ส่วนพระอริยบุคคลหามีสรณะที่ขาดไม่ และหามีสรณะเศร้าหมอง
ไม่ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย
ทิฏฐิ [สัมมาทิฏฐิ] จะพึงนับถือศาสดาอื่น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ส่วนพวก
ปุถุชน ยังไม่ถึงการขาดสรณะตราบใด ตราบนั้น ก็ยังชื่อว่าเป็นผู้มีสรณะไม่
ขาด การขาดสรณะของปุถุชนเหล่านั้น ย่อมมีโทษ มีความเศร้าหมองและ
อำนวยผลที่ไม่น่าปรารถนา การขาดสรณะที่ไม่มีโทษ ก็ไม่มีผล เพราะหา
วิบากมิได้. ส่วนการไม่ขาดสรณะว่าโดยผล ก็ย่อมอำนวยผลที่น่าปรารถนา
อย่างเดียว เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า