เมนู

ความปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อม
รู้ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ... ความริษยาอัน ชั่วช้า ความ
ปรารถนาอันชั่วช้า จึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้.
จบกายสูตรที่ 3

อรรถกถากายสูตรที่ 3


กายสูตรที่ 3

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อาปนฺโน โหติ กญฺจิกาย เทสํ ความว่า เป็นผู้ต้องส่วน
แห่งอาบัติบางอย่าง. บทว่า อนุวิจฺจ ได้แก่ เข้าไปพิจารณา คือดูรอบคอบ
แล้ว. บทว่า กายทุจฺจริตํ ได้แก่ กายทุจริต 3 อย่าง. บทว่า
วจีทุจฺจริตํ ได้แก่ วจีทุจริต 4 อย่าง. บทว่า ปาปิกา อิสฺสา ได้แก่
ความริษยาอันทราม. บทว่า ปญฺญาย ทิสฺวา ทิสฺวา ได้แก่ มองเห็น
แล้วพึงละเสียด้วยมรรคปัญญา พร้อมด้วยวิปัสสนา. บทว่า อิชฺฌติ
แปลว่า สำเร็จพร้อม. บทว่า อุปวาสสฺส ได้แก่ ผู้เข้าไปอาศัยอยู่. บทว่า
อภิภุยฺย ได้แก่ ครอบงำย่ำยี. บทว่า อิริยติ ได้แก่ เป็นไป. ในพระสูตร
นี้ ตรัสมรรคพร้อมด้วยวิปัสสนา.
จบอรรถกถากายสูตรที่ 3

4. มหาจุนทสูตร


ว่าด้วยพระมหาจุนทะสอนภิกษุ


[24] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาจุนทะ อยู่ที่ชาติวัน ในแคว้นเจตี
ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหาจุนทะ เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโส ภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายรับคำท่านพระมหาจุนทะแล้ว ท่านพระมหาจุนทะ
ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้ ย่อมกล่าว
ว่า เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ ดังนี้ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย หากว่า
โลภะย่อมครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ
ปฬาสะ มัจฉริยะ ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ย่อม
ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่มีแก่
ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โลภะจึง
ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า
ความปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้
ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความ
ปรารถนาอันชั่วช้า จึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดภาวนา การอบรม ย่อม
กล่าวว่า เราเป็นผู้มีกายอบรมแล้ว มีศีลอบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้ว มี
ปัญญาอบรมแล้ว ดังนี้ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย หากว่าโลภะย่อมครอบงำ
ภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ มัจฉริยะ
ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่
ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มี
อายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โลภะจึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่
โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่
มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ โทสะ โมหะ... ความ
ริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงครอบงำผู้นี้ตั้งอยู่.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้และภาวนา

ย่อมกล่าวว่า เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอบรมแล้ว มี
ศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว ดังนี้
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย หากว่าโลภะครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ
... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ครอบงำภิกษุนั้นตั้ง
อยู่ ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด
ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โลภะจึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้
ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า
ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น
โทสะ โมหะ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงครอบ
งำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเป็นคนยากจน พึงกล่าว
อวดความมั่งมี เป็นคนไม่มีทรัพย์ พึงกล่าวอวดทรัพย์ เป็นคนไม่มีโภคะ
พึงกล่าวอวดโภคะ บุรุษนั้น เมื่อกิจอันจำต้องทำด้วยทรัพย์อย่างใด
หนึ่งเกิดขึ้น ไม่อาจจะนำทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทองออกใช้จ่ายได้
คนทั้งหลายพึงรู้บุรุษนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นคนยากจน ย่อมกล่าว
อวดความมั่งมี เป็นคนที่ไม่มีทรัพย์ ย่อมกล่าวอวดทรัพย์ เป็นคนไม่มี
โภคะ. ย่อมกล่าวอวดโภคะ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่านผู้นี้ เมื่อกิจ
อันจำต้องทำด้วยทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ไม่อาจจะนำทรัพย์ ข้าว
เปลือก เงินหรือทองออกใช้จ่ายได้ ฉันใด ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อกล่าวอวดความรู้และอวดภาวนา ย่อมกล่าวว่า
เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอันอบรมแล้ว มีศีลอัน
อบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว ดังนี้ ดูก่อน

อาวุโสทั้งหลาย หาว่าโลภะครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ...
ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่
ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้
มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โลภะจึงครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่
โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่มี
แก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้หารู้ฉันนั้นไม่ เพราะฉะนั้น โทสะ
โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงครอบงำท่าน
ผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้ ย่อมกล่าวว่า
เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ ดังนี้ หากว่าโลภะไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่
โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่
ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะย่อมไม่มี
แก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โลภะจึงไม่
ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความ
ปรารถนาอันชั่วช้า ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัด
ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ... ความริษยาอันชั่วช้า ความ
ปรารถนาอันชั่วช้า จึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดภาวนา ย่อมกล่าวว่า
เราเป็นผู้มีกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มี
ปัญญาอันอบรมแล้ว ดังนี้ หากว่าโลภะไม่พึงครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่
โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่
ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะไม่มีแก่ท่าน

ผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โลภะจึงไม่
ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ. . . . ความริษยาอันชั่วช้า
ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัด
ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ .... ความริษยาอันชั่วช้า ความ
ปรารถนาอันชั่วช้า จึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเมื่อกล่าวอวดความรู้และอวดภาวนา
ย่อมกล่าวว่า เรารู้ธรรมนี้ เราเห็นธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอันอบรมแล้ว
มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรบแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว ดังนี้
หากว่าโลภะไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอัน
ชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอัน
บุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้
ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โลภะจึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ
โมหะ.... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่มีแก่ท่านผู้รู้
ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัดฉันนั้น เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ...
ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า จึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุ
นี้ตั้งอยู่.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเป็นคนมั่งคั่ง พึงกล่าว
อวดความมั่งคั่ง เป็นคนมีทรัพย์ พึงกล่าวอวดทรัพย์ เป็นคนมีโภคะ
พึงกล่าวอวดโภคะ บุรุษนั้น เมื่อกิจที่จำต้องทำด้วยทรัพย์อย่างใดอย่าง
หนึ่งเกิดขึ้น พึงอาจนำเอาทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทองใช้จ่ายได้
คนทั้งหลายพึงรู้บุรุษนั้นว่า ท่านผู้มีเป็นคนมั่งคั่ง จึงกล่าวความมั่งคั่ง
เป็นคนมีทรัพย์ จึงกล่าวอวดทรัพย์ เป็นคนมีโภคะ จึงกล่าวอวดโภคะ

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่านผู้มีอายุนี้ เมื่อกิจที่จำต้องทำด้วยทรัพย์
อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ย่อมอาจนำเอาทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือ
ทองออกใช้จ่ายได้ ฉันใด ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อกล่าวอวดความรู้และอวดภาวนา ย่อมกล่าวว่า เรารู้ธรรมนี้ เราเห็น
ธรรมนี้ เราเป็นผู้มีกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรม
แล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว ดังนี้ หากว่าโลภะไม่ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่
โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่
ครอบงำภิกษุนั้นตั้งอยู่ ภิกษุนั้นอันบุคคลพึงรู้อย่างนี้ว่า โลภะไม่มีแก่
ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัด ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โลภะจึง
ไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่ โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า
ความปรารถนาอันชั่วช้า ไม่มีแก่ท่านผู้รู้ ฉันใด ท่านผู้มีอายุนี้ย่อมรู้ชัด
ฉันนั้น เพราะฉะนั้น โทสะ โมหะ ... ความริษยาอันชั่วช้า ความ
ปรารถนาอันชั่วช้า จึงไม่ครอบงำท่านผู้มีอายุนี้ตั้งอยู่.
จบมหาจุนทสูตรที่ 4

อรรถกถาจุนทสูตรที่ 4


จุนทสูตรที่ 4

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ท่านพระมหาจุนทะ กล่าวอาการแห่งญาณทัสสนะ ด้วยบทว่า
ชานามิมํ ธมฺมํ นี้. ท่านกล่าววาทะแม้ทั้ง 2 รวมกันในวาระที่ 3
แห่งภาวนาวาระ ด้วยบทว่า ภาวิตกาโยมฺหิ เป็นต้น. ก็วาทะแม้ทั้ง 3
นั้นย่อมปฏิญญาพระอรหัตเหมือนกัน. บทว่า อฑฺฒวาทํ วเทยฺย ความ