เมนู

คำสรุปท้ายอรรถกถา


ด้วยการพรรณนามาฉะนี้ ข้าพเจ้าอัน ท่านโชติปาลเถระ
ผู้มีปัญญาดี ซึ่งเคยอยู่ร่วมกับข้าพเจ้าในเมืองกัญจีประเป็นต้น
อาราธนา แม้ในขณะที่อยู่ในมหาวิหารลังกาทวีป เมื่อพระสัท-
ธรรมกำลังทรุดโทรม เหมือนต้นไม้ถูกพายุกระหน่ำ ทั้ง ชีวก-
อุบาสก ผู้ถึงฝั่งสาคร คือ เรียนจบพระไตรปิฎก ผู้มีปัญญาดี
อาราธนาแล้ว ปรารถนาความยั่งยืนแห่งพระศาสนา จึงเริ่ม
แต่งคัมภีร์อรรถกถาอันใดแห่งบาลีอังคุตตรนิกาย ซึ่งวิจิตร
ด้วยลัทธิสมัย อันพระธรรมกถึกทั้งหลายเป็นอันมาก ผู้
ละเอียดถี่ถ้วนในนัยแห่งธรรมกถา แต่งร้อยแก้วและร้อยกรอง
ไว้แล้ คัมภีร์อรรถกถานี้นั้นเก็บสาระสำคัญของคันภีร์มหา-
อรรถกถาสำเร็จแล้ว แต่เพราะเหตุที่มโนรถความปรารถนา
ของข้าพเจ้าที่จะอธิบายนิกายทั้งหมด โดยภาณวารแห่งบาลี
ประมาณ 94 ภาณวารบริบูรณ์แล้ว อรรถกถานั้นจึงชื่อว่า
มโนรถปูรณี ต่อนั้นเพราะเหตุที่แม้คัมภีร์วิสุทธิมรรคประมาณ
59 ภาณวาร แห่งมโนรถปูรณีนั้น ข้าพเจ้าก็แต่งเพื่อประกาศ
อรรถของนิกายทั้งหลายแล้ว ฉะนั้น อรรถกถานี้กับคัมภีร์
วิสุทธิมรรคนั้น พึงทราบว่ามี 153 ภาณวาร ตามนัยแห่งการ
นับคาถา. อรรถกถานี้ ประกาศลัทธิสมัยของพระเถระ
ผู้อยู่ในมหาวิหาร โดยภาณวารนับได้ 153 ภาณวาร ข้าพเจ้า
ผู้แต่งคัมภีร์มโนรถปูรณีนี้ เก็บสารสำคัญของอรรถกถาเดิม
สร้างสมบุญอันใดไว้ ด้วยบุญอันนั้น ขอสัตว์โลกทั้งหมดจง
มีสุข เทอญ.