เมนู

อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้ว
ด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.
จบจตุตถสมาธิสูตรที่ 11
จบทุติยวรรคที่ 2

อรรถกถาปฐมสมาธิสูตรที่ 8 เป็นต้น


คำที่เหลือในวรรคนี้ และในพระสูตรทั้งปวงนอกเหนือจากนี้ มี
อรรถง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาปฐมสมาธิสูตรที่ 8 เป็นต้น
จบมโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้คือ
1. ปฐมมหานามสูตร 2. ทุติยมหานามสูตร 3. นันทิยสูตร
4. สุภูติสูตร 5.เมตตาสูตร 6.ทสมสูตร 7.โคปาลกสูตร 8. ปฐมสมาธิ-
สูตรที่ 9.ทุติยสมาธิสูตร 10. ตติยสมาธิสูตร 11. จตุตถสมาธิสูตร

พระสูตรที่ไม่สงเคราะห์ด้วยปัณ1ณาสก์


ว่าด้วยพระองค์ประกอบของนายโคบาล 11 ประการ


[229] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลผู้ประกอบด้วยองค์ 11
ประการ เป็นผู้ไม่สามารถจะเลี้ยงฝูงโคให้เจริญแพร่หลายได้ องค์ 11

1. ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.

ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลในโลกนี้ ย่อมไม่รู้จัก
รูป 1 ไม่ฉลาดในลักษณะ 1 ไม่กำจัดไข่ขาง 1 ไม่ปกปิดแผล 1 ไม่
สุมไฟ 1 ไม่รู้ท่าน้ำ 1 ไม่รู้ว่าโคดื่มน้ำแล้วหรือยัง 1 ไม่รู้ทาง 1 ไม่
ฉลาดในที่หากิน 1 รีดนมไม่ให้มีเหลือ 1 ไม่บูชาโคผู้ทั้งหลายที่เป็น
พ่อฝูงโค เป็นผู้นำฝูงโคด้วยการบูชาอย่างยิ่ง 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นายโคบาลผู้ประกอบด้วยองค์ 11 ประการนี้แล เป็นผู้ไม่สามารถจะเลี้ยง
ฝูงโคให้เจริญแพร่หลายได้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยธรรม 11 ประการ ก็เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงใน
จักษุ ฯลฯ เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ในจักษุ เป็นผู้
ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตาในจักษุ เป็นผู้ไม่สามารถพิจาร-
ณาเห็นความสิ้นไปในจักษุ เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเสื่อมไป-
ในจักษุ เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความคลายไปในจักษุ เป็นผู้ไม่
สามารถพิจารณาเห็นความดับในจักษุ เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความ
สละคืนในจักษุ เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์
ความเป็นอนัตตา ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ
ความสละคืนในหู ในจมูก ในลิ้น ในกาย ในใจ ในรูป ในเสียง
ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์ ในจักขุวิญญาณ ใน
โสตวิญญาณ ในฆานวิญญาณ ในชิวหาวิญญาณ ในกายวิญญาณ ใน
มโนวิญญาณ ในจักขุสัมผัส ในโสตสัมผัส ในฆานสัมผัส ในชิวหาสัมผัส
ในกายสัมผัส ในมโนสัมผัส ในเวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส ในเวทนา
อันเกิดแต่โสตสัมผัส ในเวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส ในเวทนาอันเกิด
แต่ชิวหาสัมผัส ในเวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส ในเวทนาอันเกิดแต่มโน-

สัมผัส ในรูปสัญญา ในสัททสัญญา ในคันธสัญญา ในรสสัญญา ใน
โผฏฐัพพสัญญา ในธรรมสัญญา ในรูปสัญเจตนา ในสัททสัญเจตนา
ในคันธสัญเจตนา ในรสสัญเจตนา ในโผฏฐัพพสัญเจตนา ในธรรม-
สัญเจตนา ในรูปตัณหา ในสัททตัณหา ในคันธตัณหา ในรสตัณหา
ในโผฏฐัพพตัณหา ในธรรมตัณหา ในรูปวิตก ในสัททวิตก ใน
คันธวิตก ในรสวิตก ในโผฏฐัพพวิตก ในธรรวิตก ในรูปวิจาร
ในสัททวิจาร ในคันธวิจาร ในรสวิจาร ในโผฏฐัพพวิจาร ในธรรมวิจาร
ฉันนั้นเหมือนกัน.
[230] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลผู้ประกอบด้วยองค์ 11
ประการ เป็นผู้สามารถเลี้ยงฝูงโคให้เจริญแพร่หลาย องค์ 11 ประการ
เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลในโลกนี้ ย่อมรู้จักรูป ฯลฯ
ย่อมบูชาโคผู้ทั้งหลายที่เป็นพ่อฝูงโค เป็นผู้นำฝูงโค ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลผู้ประกอบด้วยองค์ 11 ประการนี้แล
ย่อมเป็นผู้สามารถเลี้ยงฝูงโคให้เจริญแพร่หลายได้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลา ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 11 ประการ ย่อมเป็นผู้สามารถ
พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในจักษุ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้สามารถพิจารณาเห็น
ความสละคืนในธรรมวิจาร ฉันนั้นเหมือนกัน .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 11 ประการ ควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง
ซึ่งราคะ ธรรม 1ประการเป็นไฉน คือ ปฐมฌาน 1 ทุติยฌาน 1
ตติยฌาน 1 จตุตถฌาน 1 เมตตาเจโตวิมุตติ 1 กรุณาเจโตวิมุตติ 1
มุทิตาเจโตวมุตติ 1 อุเบกขาเจโตวิมุตติ 1 อากาสานัญจายตนฌาน 1

วิญญาณัญจายตนฌาน 1 อากิญจัญญายตนฌาน 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรม 11 ประการนี้ ควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ.
[231] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 11 ประการควรเจริญเพื่อ
ความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความหมดสิ้นไป เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป
เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อสละคืน
ซึ่งราคะ ธรรม 11 ประการเป็นไฉน คือ ปฐมฌาน 1 ทุติยฌาน 1
ตติยฌาน 1 จตุตถฌาน 1 เมตตาเจโตวิมุตติ 1 กรุณาเจโตวิมุตติ 1
มุทิตาเจโตวิมุตติ 1 อุเบกขาเจโตวิมุตติ 1 อากาสานัญจายตนฌาน 1
วิญญาณัญจายตนฌาน 1 อากิญจัญญายตนฌาน 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรม 11 ประการนี้ ควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้.... เพื่อสละ
เพื่อสละคืนซึ่งราคะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 11 ประการควรเจริญเพื่อ
ความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้... เพื่อสละ เพื่อสละคืนซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ
อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ
สารัมภะ มานะ มทะ ธรรม 11 ประการเป็นไฉน คือ ปฐมฌาน 1
ทุติยฌาน 1... วิญญาณัญจายตนฌาน 1 อากิญจัญญายตนฌาน 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 11 ประการนี้ ควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนด
รู้... เพื่อสละ เพื่อสละคืนซึ่งโทสะ โมหะ... มทะ ปมาทะ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้น
ปลื้มใจชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.
พระสูตรนี้รวมอยู่ในอังคุตตรนิกายมี 9,557 สูตรฉะนี้แล.
จบเอกาทสกนิบาต

คำสรุปท้ายอรรถกถา


ด้วยการพรรณนามาฉะนี้ ข้าพเจ้าอัน ท่านโชติปาลเถระ
ผู้มีปัญญาดี ซึ่งเคยอยู่ร่วมกับข้าพเจ้าในเมืองกัญจีประเป็นต้น
อาราธนา แม้ในขณะที่อยู่ในมหาวิหารลังกาทวีป เมื่อพระสัท-
ธรรมกำลังทรุดโทรม เหมือนต้นไม้ถูกพายุกระหน่ำ ทั้ง ชีวก-
อุบาสก ผู้ถึงฝั่งสาคร คือ เรียนจบพระไตรปิฎก ผู้มีปัญญาดี
อาราธนาแล้ว ปรารถนาความยั่งยืนแห่งพระศาสนา จึงเริ่ม
แต่งคัมภีร์อรรถกถาอันใดแห่งบาลีอังคุตตรนิกาย ซึ่งวิจิตร
ด้วยลัทธิสมัย อันพระธรรมกถึกทั้งหลายเป็นอันมาก ผู้
ละเอียดถี่ถ้วนในนัยแห่งธรรมกถา แต่งร้อยแก้วและร้อยกรอง
ไว้แล้ คัมภีร์อรรถกถานี้นั้นเก็บสาระสำคัญของคันภีร์มหา-
อรรถกถาสำเร็จแล้ว แต่เพราะเหตุที่มโนรถความปรารถนา
ของข้าพเจ้าที่จะอธิบายนิกายทั้งหมด โดยภาณวารแห่งบาลี
ประมาณ 94 ภาณวารบริบูรณ์แล้ว อรรถกถานั้นจึงชื่อว่า
มโนรถปูรณี ต่อนั้นเพราะเหตุที่แม้คัมภีร์วิสุทธิมรรคประมาณ
59 ภาณวาร แห่งมโนรถปูรณีนั้น ข้าพเจ้าก็แต่งเพื่อประกาศ
อรรถของนิกายทั้งหลายแล้ว ฉะนั้น อรรถกถานี้กับคัมภีร์
วิสุทธิมรรคนั้น พึงทราบว่ามี 153 ภาณวาร ตามนัยแห่งการ
นับคาถา. อรรถกถานี้ ประกาศลัทธิสมัยของพระเถระ
ผู้อยู่ในมหาวิหาร โดยภาณวารนับได้ 153 ภาณวาร ข้าพเจ้า
ผู้แต่งคัมภีร์มโนรถปูรณีนี้ เก็บสารสำคัญของอรรถกถาเดิม
สร้างสมบุญอันใดไว้ ด้วยบุญอันนั้น ขอสัตว์โลกทั้งหมดจง
มีสุข เทอญ.