เมนู

ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ
ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.
สา. ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีความ
สำคัญอย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบ
สังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด
ความดับ นิพพาน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุ
ได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุ
เป็นอารมณ์... ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์
ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ
ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.
จบตติยสมาธิสูตรที่ 10

11. จตุตถสมาธิสูตร


ว่าด้วยการได้สมาธิ


[228] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรถามภิกษุทั้งหลายว่า อาวุ-
โสทั้งหลาย พึงมีได้หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน
ไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์... ไม่พึงมี
ความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง
ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.
ภิกษุเหล่านั้นเรียนท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ พวก
กระผมมาแต่ที่ไกล เพื่อจะรู้อรรถแห่งภาษิตนี้ในสำนักท่านพระสารีบุตร

ขออรรถแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด ภิกษุทั้งหลายได้
ฟังต่อท่านพระสารีบุตรแล้ว จักทรงจำไว้.
ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นท่าน
ทั้งหลายจงฟังอรรถแห่งภาษิตนั้น จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น
รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส
ทั้งหลาย พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญ
ในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูป
ที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวง
หาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.
ภิ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุ
ได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน
อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้ว
ด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.
สา. ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความสำคัญ
อย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขาร
ทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด
ความดับ นิพพาน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุ
ได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุ
เป็นอารมณ์... ไม่พึงมีความสำคัญในรูป ที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน

อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้ว
ด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.
จบจตุตถสมาธิสูตรที่ 11
จบทุติยวรรคที่ 2

อรรถกถาปฐมสมาธิสูตรที่ 8 เป็นต้น


คำที่เหลือในวรรคนี้ และในพระสูตรทั้งปวงนอกเหนือจากนี้ มี
อรรถง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาปฐมสมาธิสูตรที่ 8 เป็นต้น
จบมโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้คือ
1. ปฐมมหานามสูตร 2. ทุติยมหานามสูตร 3. นันทิยสูตร
4. สุภูติสูตร 5.เมตตาสูตร 6.ทสมสูตร 7.โคปาลกสูตร 8. ปฐมสมาธิ-
สูตรที่ 9.ทุติยสมาธิสูตร 10. ตติยสมาธิสูตร 11. จตุตถสมาธิสูตร

พระสูตรที่ไม่สงเคราะห์ด้วยปัณ1ณาสก์


ว่าด้วยพระองค์ประกอบของนายโคบาล 11 ประการ


[229] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลผู้ประกอบด้วยองค์ 11
ประการ เป็นผู้ไม่สามารถจะเลี้ยงฝูงโคให้เจริญแพร่หลายได้ องค์ 11

1. ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.