เมนู

เมื่อไม่ได้การสงเคราะห์ทั้งสองอย่างนั้น จากสำนักพระเถระทั้งหลาย โดย
ประการทั้งปวง ย่อมไม่อาจดำรงอยู่ในพระศาสนานี้ได้ ย่อมไม่เจริญศีล.
ขันธ์เป็นต้น เหมือนฝูงโคของนายโคบาลนั้น ย่อมไม่เพิ่มขึ้น. ภิกษุ
เหล่านั้นย่อมเป็นผู้เหินห่างจากธรรมขันธ์ 5 เหมือนนายโคบาลนั้น เหิน
ห่างจากปัญจโครสฉะนั้น. ธรรมฝ่ายขาว (กุศลธรรม) ก็พึงทราบการ
ประกอบความด้วยอำนาจความแผกผัน จากข้อความที่กล่าวไว้แล้วในธรรม
ฝ่ายดำ.
จบอรรถกถาโคปาลกสูตรที่ 7

8. ปฐมสมาธิสูตร1


ว่าด้วยการได้สมาธิ


[225] ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีหนอ
หนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวี-
ธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุ ว่าเป็น
อาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุ ว่าเป็นเตโชธาตุ
เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุ ว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะ ว่าเป็นอากาสานัญจายตนะเป็น
อารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะ
เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัยญายตนะ ว่าเป็นอากิญจัญญา-

1. ดูอรรถกถาท้ายวรรคนี้.

ยตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเป็น
เนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ ว่าเป็น
โลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้า ว่าเป็นโลกหน้าเป็น
อารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ
ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึง
เป็นผู้มีสัญญา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พึงมีได้ การที่
ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวี-
ธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน
อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้ว
ด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พึงมาได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิ
โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์
ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ
ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึง
เป็นผู้มีสัญญา.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีความ
สำคัญอย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบ
สังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้น
กำหนัด ความดับ นิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พึงมีได้อย่างนี้แล
การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็น
ปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุ ว่าเป็นเตโชธาตุ
เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุ ว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์

ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุ ว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ
สำคัญในอากาสานัญจายตนะ ว่าเป็นอากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึง
มีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะ ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญในอากิจจัญญายตนะ ว่าเป็นอากิจจัญญายตนะเป็น
อารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเป็นเนวสัญ-
ญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ ว่าเป็นโลกนี้
เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้า ว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์
ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรม
ที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็น
ผู้มีสัญญา.
จบปฐมสมาธิสูตรที่ 8

9. ทุติยสมาธิสูตร


ว่าด้วยการได้สมาธิ


[226] ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พึงมีได้หรือหนอแล
การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็น
ปฐวีธาตุเป็นอารมณ์... ไม่พึงมีความสำคัญในรูป ที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน
อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้ว
ด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.