เมนู

ย่อมไม่กลับ ถูกต้องสิ่งที่คายแล้ว ไฟที่ไหม้ลามไปจากหญ้า ย่อมไหม้ของที่
ควรไหม้ ย่อมไม่กลับมาไหม้สิ่งที่ไหม้แล้ว แม้ฉันใด อริยสาวกผู้ประกอบ
ด้วยธรรม 11 ประการนี้ ย่อมละอกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก ย่อมไม่
ถือมั่น (อกุศลธรรมอันชั่วช้าเหล่านั้น) ฉันนั้นเหมือนกันแล.
จบนันทิยสูตรที่ 3

อรรถกถานันทิยสูตรที่ 3


นันทิยสูตรที่ 3

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า กลฺยาณมิตฺเต แปลว่า ซึ่งมิตรดีทั้งหลาย. ในพระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสังฆานุสสติ ด้วยอำนาจแห่งกัลยาณมิตรด้วย
ประการฉะนี้. บทว่า กวฬิงฺการภกฺขานํ ได้แก่ ของเทวดาชั้นกามาวจร.
บทว่า อสมยวิมุตฺโต ความว่า พระขีณาสพผู้หลุดพ้นแล้วด้วยอสมย-
วิมุตติ.
จบอรรถกถานันทิยสูตรที่ 3

4. สุภูติสูตร


ว่าด้วยลักษณะแห่งศรัทธา


[221] ครั้งนั้นแล ท่านพระสุภูติกับสัทธภิกษุ เข้าไปเฝ้าพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระสุภูติ
ว่า ดูก่อนสุภูติ ภิกษุนี้ชื่อไร ท่านพระสุภูติกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ภิกษุนี้ชื่อว่าสัทธะ เป็นบุตรอุบาสกผู้มีศรัทธา ออกบวชเป็น
บรรพชิตด้วยศรัทธา พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนสุภูติ ก็สัทธภิกษุนี้เป็นบุตรของอุบาสกผู้มีศรัทธาออก
บวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ย่อมเห็นพร้อมในลักษณะของพระผู้มีศรัทธา
ทั้งหลายแลหรือ.
สุ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า บัดนี้เป็นการสมควรทรงแสดง
ลักษณะของผู้มีศรัทธานั้น ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลสมควรแสดง
ลักษณะของผู้มีศรัทธานั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสลักษณะแห่งศรัทธา
ของผู้มีศรัทธาเถิด ข้าพระองค์จักทราบบัดนี้ว่า ภิกษุนี้จักเห็นพร้อมใน
ลักษณะของผู้มีศรัทธาทั้งหลายหรือไม่.
พ. ดูก่อนสุภูติ ถ้าอย่างนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ท่านพระสุภูติทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน
สุภูติ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณ
น้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูก่อนสุภูติ ข้อที่ภิกษุเป็น
ผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นลักษณะ
แห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสุตะมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็น
ผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ซึ่ง
ธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศ
พรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

ดูก่อนสุภูติ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสุตะมาก ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ
แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ดูก่อน
สุภูติ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี แม้นี้ ก็็เป็นลักษณะ
แห่งศรัทธา
ของผู้มีศรัทธา.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระ-
ทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีย์โดยเคารพ ดูก่อน
สุภูติ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำให้
เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับอนุศาสนีย์โดยเคารพแม้นี้ ก็เป็น
ลักษณะแห่งศรัทธา
ของผู้มีศรัทธา.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ในกรณียกิจทั้งสูง
และต่ำของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่อง
พิจารณาอันเป็นอุบายในกรณียกิจนั้น อาจทำ อาจจัดได้ ดูก่อนสุภูติ
ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน ฯลฯ อาจทำ อาจจัดได้ แม้นี้
ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ใคร่ธรรม กล่าวคำเป็นที่รัก เป็นผู้มี
ความปราโมทย์อย่างยิ่งในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง ดูก่อนสุภูติ ข้อที่
ภิกษุเป็นผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้กล่าวคำอันเป็นที่รัก มีความปราโมทย์อย่างยิ่ง
ในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มี
ศรัทธา.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม
เพื่อยังอกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่

ทอดธุระในกุศลธรรม ดูก่อนสุภูติ ข้อที่ภิกษุปรารภความเพียร ฯลฯ
แม้นี้ ก็ เป็นลักษณะแห่งศรัทธา ของผู้มีศรัทธา.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้
โดยลำบาก ซึ่งฌาน 4 อันมีในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
ดูก่อนสุภูติ ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้โดยยาก ได้โดยไม่
ลำบาก ซึ่งฌาน 4 อัน มีในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
แม้นี้ ก็ เป็นลักษณะแห่งศรัทธา ของผู้มีศรัทธา.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึก
ได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง
สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง
ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง
ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพ
โน้น เราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร
อย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้น
จุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่อ
อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น เสวยสุข มีอาหารอย่าง
นั้น เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจาก
ภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก
พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุทเทส ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนสุภูติ ข้อที่
ภิกษุระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติ
บ้าง ฯลฯ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ

พร้อมทั้งอุเทส ด้วยประการฉะนี้ แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธา
ของผู้มีศรัทธา.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว
ประณีต มีผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน
บริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า
สัตว์เหล่านั้นประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียน
พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อ
ตายไป จึงต้องเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้
ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า
เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป จึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เธอย่อมเห็นหมู่
สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่ง
หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนสุภูติ ข้อที่ภิกษุเห็น
หมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ
ทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ
ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ แม้นี้ ก็เป็น
ลักษณะแห่งศรัทธา
ของผู้มีศรัทธา.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อัน
หาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุ-
บันเข้าถึงอยู่ ดูก่อนสุภูติ ข้อที่ภิกษุทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพระอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน
ปัจจุบันเข้าถึงอยู่ แม้นี้ ก็เป็นลักษณะแห่งศรัทธาของผู้มีศรัทธา.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ ท่านพระสุภูติ ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลักษณะศรัทธาของผู้มี
ศรัทธา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนี้นั้น มีพร้อมอยู่แก่ภิกษุนี้ และภิกษุ
นี้ย่อมเห็นพร้อมในลักษณะศรัทธาของผู้มีศรัทธาเหล่านี้ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ภิกษุนี้เป็นผู้มีศีล... สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
ภิกษุนี้เป็นผู้มีสุตะมาก... ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้ง
พยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ภิกษุนี้เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มี
เพื่อนดี ภิกษุนี้เป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมเครื่องกระทำให้เป็นผู้ว่า
ง่าย เป็นผู้อดทน เป็นผู้รับเอาอนุศาสนีย์โดยเคารพ ภิกษุนี้เป็นผู้ขยัน
ไม่เกียจคร้านในกรณียกิจทั้งหลายทั้งสูงและต่ำ ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้ง-
หลาย เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นอุบายในกรณีย-
กิจนั้น อาจทำ อาจจัดได้ ภิกษุนี้เป็นผู้ใคร่ในธรรม กล่าวคำอันเป็น
ที่รัก เป็นผู้มีความปราโมทย์ยิ่ง ในธรรมอันยิ่ง ในวินัยอันยิ่ง ภิกษุนี้เป็น
ผู้ปรารภความเพียร มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศล-
ธรรม ภิกษุนี้เป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่ง
ฌาณ 4 อันมีในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ภิกษุนี้ย่อม
ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง
ฯลฯ เธอระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้ง
อุทเทส ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุนี้พิจารณาเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลัง
อุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วย
ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ เธอย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็น
ไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุนี้ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา-

วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลักษณะศรัทธาของผู้มีศรัทธา
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วนี้ มีพร้อมอยู่แก่ภิกษุนี้ อนึ่ง ภิกษุนี้จัก
ปรากฏในลักษณะศรัทธาของผู้มีศรัทธาเหล่านี้ พระเจ้าข้า.
พ. ดีละ ๆ สุภูติ ดูก่อนสุภูติ ถ้าเช่นนั้น เธอพึงอยู่กับสัทธภิกษุ
นี้เถิด ดูก่อนสุภูติ อนึ่ง เธอพึงหวังจะมาเยี่ยมเยียนตถาคตในกาลใด ใน
กาลนั้น เธอกับสัทธภิกษุนี้พึงเข้ามาเยี่ยมเยียนตถาคตเถิด.
จบสุภูติสูตรที่ 4

อรรถกถาสุภูติสูตรที่ 4


สุภูติสูตรที่ 4

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
พระศาสดาแม้ทรงทราบอยู่ ก็ตรัสถามว่า ดูก่อนสุภูติ ภิกษุนี้ ชื่อไร
ดังนี้ พระสุภูติ กราบทูลว่า ภิกษุชื่อว่าสัทธะ เป็นบุตรของอุบาสกผู้มี
ศรัทธา หมายถึงท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ด้วยว่า สัทธภิกษุนั้นเป็น
บุตรของอนาถบิณฑิกคฤหบดี บวชในสำนัก (พระสุภูติ) ผู้เป็นอาของ
ตน. ลำดับนั้น พระสุภูติเถระ ได้พาสัทธภิกษุไปเฝ้าพระศาสดา. บทว่า
สทฺธาปทาเนสุ ความว่า ในอปทาน คือลักษณะของบุคคลผู้มีศรัทธา
ทั้งหลาย.
จบอรรถกถาสุภูติสูตรที่ 4