เมนู

5. ตติยอุปนิสาสูตร


ว่าด้วยผู้ทุศีลขจัดอวิปฏิสาร


[212] ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่าน
พระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอัน
บุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปฏิสารไม่มี ความปราโมทย์ชื่อ
ว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีอวิปฎิสารวิบัติขจัดเสียแล้ว...เมื่อวิราคะไม่มี วิมุตติ-
ญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีวิราคะวิบัติขจัดเสียแล้ว.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบวิบัติแล้ว
แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ก็ย่อมไม่บริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กะพี้ แม้
แก่นของต้นไม้นั้น ก็ย่อมไม่บริบูรณ์ฉันใด กูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อวิ-
ปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปฏิสาร
ไม่มี ความปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีอวิปฏิสารวิบัติขจัดเสียแล้ว
ฯลฯ วิมุตติญาณทัสสนะชื่อว่ามีเหตุอันบุลคลผู้มีวิริาคะวิบัติขจัดเสียแล้ว
ฉันนั้นเหมือนกัน.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปฏิสารของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์
ด้วยศีล ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่ออวิปฏิสารมีอยู่ ความปราโมทย์
ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปฏิสาร ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์... เมื่อ
วิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยวิราคะ ย่อมเป็น
ธรรมมีเหตุสมบูรณ์.
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบสมบูรณ์
แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ก็ย่อมบริบูรณ์ แม้เปลือก แม้กะพี้ แม้แก่น

ของต้นไม้นั้น ก็ย่อมบริบูรณ์ฉันใด ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อวิปฏิสาร
ของบุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ เมื่อ
อวิปฏิสารมีอยู่ ความปราโมทย์ของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอวิปฏิสาร ย่อม
เป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ ฯลฯ วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วย
วิราคะ ย่อมเป็นธรรมมีเหตุสมบูรณ์ ฉันนั้นเหมือนกัน.
จบตติยอุปนิสาสูตรที่ 5

มโนรถปูรณี


อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต


นิสสายวรรคที่ 1


เอกาทสกนิบาต

กิมัตถิยสูตรที่ 1 (ข้อ 203) เป็นต้น มีนัยที่กล่าว
ไว้แล้วในหนหลังนั่นแล. จริงอยู่ในเอกาทสกนิบาต 5 สูตรข้างต้น ท่าน
กล่าวองค์ 11 แยกนิพพิทาและวิราคะออกเป็นสอง.
จบอรรถกถากิมัตถิยสูตรเป็นต้น

6. พยสนสูตร


ว่าด้วยความฉิบหาย 11 อย่าง


[213] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์
ทั้งหลาย ติเตียนพระอริยเจ้า ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ที่ภิกษุนั้นจะไม่
พึงถึงความฉิบหาย 11 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ความฉิบหาย 11 อย่าง
เป็นไฉน คือไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ 1 เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว 1
สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว 1 เป็นผู้เข้าใจว่าได้บรรลุในสัท-
ธรรม 1 เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ 1 ต้องอาบัติเศร้าหมอง
อย่างใดอย่างหนึ่ง 1 บอกลาสิกขาเวียนมาเพื่อเป็นคนเลว 1 ถูกต้อง
โรคอย่างหนัก 1 ย่อมถึงความเป็นบ้า คือความฟุ้งซ่านแห่งจิต 1 เป็น
ผู้หลงใหลทำกาละ 1 เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ติเตียน