เมนู

บุคคลคลายกำหนัดแล้วทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะนี้ เป็นธรรมดา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณ-
ทัสสนะเป็นอานิสงส์ นิพพิทามีวิราคะเป็นผล มีวิราคะเป็นอานิสงส์ ยถา-
ภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาเป็นผล มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูต-
ญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล
มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัส-
สัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ความปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติ
เป็นอานิสงส์ ความไม่เดือดร้อน มีความปราโมทย์เป็นผล มีความ
ปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ศีลที่เป็นกุศลมีความไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความ
ไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์ ด้วยประการดังนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมยังธรรม
ทั้งหลายให้บริบูรณ์ เพื่อการถึงฝั่ง (คือนิพพาน) จากสถานอันมิใช่ฝั่ง
(คือสังสารวัฏ) ด้วยประการดังนี้แล.
จบเจตนาสูตรที่ 2

3. ปฐมอุปนิสาสูตร


ว่าด้วยอวิปฏิสารมีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว


[210] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้ทุศีล
มีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปฏิสารไม่มี ความปราโมทย์ชื่อว่ามีเหตุอัน
บุคคลผู้มีอวิปฏิสารวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อความปราโมทย์ไม่มี ปีติชื่อว่า
มีเหตุอันบุคคลผู้มีความปราโมทย์วิบัติจัดเสียแล้ว เมื่อปีติไม่มี ปัสสัทธิ
ชื่อว่ามีเหตุอันบุคคลผู้มีปีติวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่อปัสสัทธิไม่มี สุขชื่อว่ามี