เมนู

อรรถกถาสูตรที่1 8


สูตรที่ 8

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อปณฺณโก มณิ ได้แก่ ลูกบาศก์สี่เหลี่ยมโดยรอบ.
จบอรรถกถาสูตรที่ 8

7. ทุติยกรรมสูตร2


ว่าด้วยกรรมที่สัตว์ตั้งใจสะสมขึ้น


[195] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้น
สุดกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแล อันสัตว์ผู้ทำพึงได้
เสวยในปัจจุบันในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อ ๆ ไป ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจ
กระทำสั่งสมขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ความวิบัติอันเป็นโทษ
แห่งการงานทางกาย 3 อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็น
กำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา 4
อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก
ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ 3 อย่าง อันมีความตั้งใจเป็น
อกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย
3 อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็น
วิบาก อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่า
สัตว์ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทาง

1. อรรถกถาเป็นสูตรที่ 8 แต่แก้บาลีข้อ 194 ซึ่งเป็นสูตรที่ 6 ในวรรคนี้.
2. สูตรนี้ไม่มีอรรถกถาแก้.

กาย 3 อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์
เป็นวิบาก อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา
วาจา 4 อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็น
วิบาก อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้พูด
เท็จ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทาง
วาจา 4 อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์
เป็นวิบาก อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ 3
อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก
อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้อยากได้ของ
ผู้อื่น ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงาน
ทางใจ 3 อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์
เป็นวิบาก อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงาน
ทางกาย 3 อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งความวิบัติ
อันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา 4 อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล
หรือเพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ 3 อย่าง อัน
มีความตั้งใจเป็นอกุศล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่ง
กรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้น อันสัตว์ผู้ทำพึงได้เสวยใน

ปัจจุบัน ในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อ ๆ ไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่ง
สมขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้นสมบัติแห่งการงานทางกาย 3 อย่าง
อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก สมบัติแห่ง
การงานทางวาจา 4 อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร
มีสุขเป็นวิบาก สมบัติแห่งการงานทางใจ 3 อย่าง อันมีความตั้งใจเป็น
กุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมบัติแห่งการงานทางกาย 3 อย่าง อันมี
ความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการ
ฆ่าสัตว์ ฯ ลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางกาย 3 อย่าง
อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางวาจา 4 อย่าง อันมี
ความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการพูดเท็จ เว้นจากการ
พูดเท็จ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางวาจา 4 อย่าง
อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางใจ 3 อย่าง อันมี
ความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่อยากได้ของผู้อื่น ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางใจ 3 อย่าง อันมีความตั้งใจ
เป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ
โลกสวรรค์ เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางกาย 3 อย่าง อันมี
ความตั้งใจเป็นกุศล เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางวาจา 4 อย่าง
อันมีความตั้งใจเป็นกุศล หรือเพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางใจ
3 อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล.
จบทุติยกรรมสูตรที่ 7

8. ตติยกรรมสูตร


ว่าด้วยการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจทำ


[196] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความ
สิ้นสุดแห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแลอันสัตว์ผู้ทำ
พึงได้เสวยในปัจจุบัน ในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อ ๆ ไป ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์
ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นนั่นแล เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา
ปราศจากพยาบาท ไม่ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบ
ด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน
โดยนัยนี้ ทั้งทิศเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่ว
สัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ เป็น
มหัคคตะ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อริยสาวก
นั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า ในกาลก่อนแล จิตของเรานี้เป็นจิตเล็กน้อย เป็นจิต
ไม่ได้อบรมแล้ว แต่บัดนี้ จิตของเรานี้ เป็นจิตหาประมาณมิได้ เป็น