เมนู

แสดงธรรม กล่าวคือการแสดงเหตุแห่งความกระเสือกกระสน. บทว่า
สํสปฺปติ ความว่า สัตว์กระทำกรรมนั้น ย่อมเสือกไป ไถไป แถกไป.
บทว่า ชิมฺหา คติ ความว่า สัตว์จักไปสู่คติใดด้วยกรรมนั้น คตินั้น
ย่อมชื่อว่า คด. บทว่า ชิมฺหุปปตฺติ ความว่า สัตว์จักเข้าถึงคติใด แม้คติ
ของเขานั้นก็คดเหมือนกัน. บทว่า สํสปฺปชาติกา ได้แก่ มีการเลื้อยไป
เป็นสภาพ. บทว่า ภูตา ภูตสฺส อุปปตฺติ โหติ ความว่า ความบังเกิด
ของสัตว์ ย่อมมีเพราะกรรมที่มีอยู่แล้ว คือเพราะกรรมที่มีอยู่โดยสภาพ.
บทว่า ผสฺสา ผุสนฺติ ได้แก่ ผัสสะที่เป็นวิบาก ย่อมถูกต้อง.
จบอรรถกถาธรรมปริยายสูตรที่ 6

6. ปฐมกรรมสูตร1


ว่าด้วยความสุดสิ้นแห่งกรรม


[194] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้น
สุดแห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแล อันสัตว์ผู้ทำพึง
ได้เสวยในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรมเวทนียะ) ในอัตภาพถัดไป (อุปปัชช-
เวทนียะ) หรือในอัตภาพต่อ ๆ ไป (อปราปรเวทนียะ) ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจ
กระทำสั่งสมขึ้น ในข้อนั้น ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย
3 อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก
ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา 4 อย่าง มีความตั้งใจเป็น
อกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ความวิบัติอันเป็นโทษ

1. อรรถกถาเป็นสูตรที่ 7.

แห่งการงานทางใจ 3 อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็น
กำไร มีทุกข์เป็นวิบาก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งกรรงานทางกาย
3 อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก
อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ผู้
หยาบช้า มีมือชุ่มด้วยโลหิต ตั้งอยู่ในการฆ่าและการทุบตี ไม่มีความ
เอ็นดูในสัตว์มีชีวิตทั้งปวง 1 เป็นผู้ลักทรัพย์ คือถือเอาวัตถุอันเป็น
อุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรือ
อยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย 1 เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม
คือเป็นผู้ประพฤติล่วงในสตรีที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชายน้องชาย
รักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา ธรรมรักษา ผู้มีสามี ผู้มีอาชญา
โดยรอบ โดยที่สุดแม้สตรีผู้มีบุรุษคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย 1 ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย 3 อย่าง มีความ
ตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา
4 อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก
อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พูดเท็จ คือ
เขาอยู่ในสภา ในบริษัท ในท่ามกลางญาติ ในท่ามกลางเสนา หรือใน
ท่ามกลางแห่งราชสกุล ถูกผู้อื่นนำไปเป็นพยานซักถามว่า มาเถิดบุรุษ
ผู้เจริญ ท่านรู้สิ่งใดจงพูดสิ่งนั้น บุคคลนั้นเมื่อไม่รู้กล่าวว่ารู้ หรือเมื่อรู้
ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อไม่เห็น ก็กล่าวว่าเห็น หรือเมื่อเห็น ก็กล่าวว่าไม่เห็น
เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้ เพราะเหตุแห่งตนบ้าง เพราะเหตุแห่งผู้อื่นบ้าง เพราะ

เหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการดังนี้ 1 เป็นผู้พูดส่อเสียด คือ
ฟังข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังข้างโน้นแล้วมา
บอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น ยุยงคนทั้งหลายผู้สามัคคีกันให้แตกกัน
หรือส่งเสริมคนทั้งหลายผู้แตกกันแล้ว ชอนความแยกกัน ยินดีความแยก
กัน เพลิดเพลินในความแยกกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้แยกกัน 1 เป็นผู้พูด
คำหยาบ คือกล่าววาจาที่หยาบคายกล้าแข็ง เดือดร้อนผู้อื่น เสียดสีผู้อื่น
ใกล้ต่อความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ 1 เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือกล่าว
ไม่ถูกกาล กล่าวไม่จริง กล่าวไม่อิงอรรถ ไม่อิงธรรม ไม่อิงวินัย
กล่าววาจาที่ไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่สุด ไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์ โดยกาลอัน ไม่ควร 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็น
โทษ แห่งการงานทางวาจา 4 อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมี
ทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ 3
อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก
อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้อยากได้ของ
ผู้อื่น คืออยากได้วัตถุอันเป็นเครื่องอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่ง
ผู้อื่นของบุคคลอื่นว่า ไฉนหนอวัตถุอัน เป็นเครื่องอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่อง
ปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่น พึงเป็นของเรา ดังนี้ 1 เป็นผู้มีจิตคิด
ปองร้าย คือมีความดำริในใจอันชั่วร้ายว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จง
ถูกทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศ หรืออย่าได้เป็นแล้ว ดังนี้ 1 เป็นผู้มี
ความเห็นผิด คือมีความเห็นอันวิปริตว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การเซ่น
สรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีที่ชั่วไม่มี

โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้เป็นอุปปาติกะ
ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และ
ปรโลกให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตาม ไม่มี
ในโลก ดังนี้ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงาน
ทางใจ 3 อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์
เป็นวิบาก อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงาน
ทางกาย 3 อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งความวิบัติ
อันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา 4 อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล
หรือเพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ 3 อย่าง อัน
มีความตั้งใจเป็นอกุศล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแก้วมณี 4 เหลี่ยมที่บุคคลโยน
ขึ้นข้างบน ตกลงมาทางเหลี่ยมใด ๆ ก็ย่อมตั้งอยู่ตามเหลี่ยมที่ตั้งลงมานั้น
นั้นเอง ฉันใด สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย 3 อย่าง
อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการ
งานทางวาจา 4 อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล หรือเพราะเหตุแห่ง
ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ 3 อย่าง อันมีความตั้งใจเป็น
อกุศล ฉันนั้นเหมือนกันแล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่ง
กรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแล ย่อมเกิดในปัจจุบัน

ในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อๆไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้
แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น สมบัติแห่งการงานทางกาย 3 อย่าง มี
ความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก สมบัติแห่งการ
งานทางวาจา 4 อย่าง มีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุข
เป็นวิบาก สมบัติแห่งการงานทางใจ 3 อย่าง มีความตั้งใจเป็นกุศล
ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมบัติแห่งการงานทางกาย 3 อย่าง อันมี
ความตั้งใจเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการ
ฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศัสตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความ
กรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง 1 ละการลักทรัพย์ เว้นขาด
จากการลักทรัพย์ ไม่ถือเอาวัตถุเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่ง
ผู้อื่นของบุคคลอื่น อันอยู่ในบ้าน หรืออยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ ด้วย
จิตเป็นขโมย 1 ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิด
ในกาม ไม่ถึงความประพฤติล่วงในสตรีที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชาย
น้องชายรักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา ธรรมรักษา มีสามี มี
อาชญาโดยรอบ โดยที่สุดแม้สตรีที่บุรุษคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางกาย 3 อย่าง อันมีความตั้งใจเป็น
กุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมบัติแห่งการงานทางวาจา 4 อย่าง อันมี
ความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการ
พูดเท็จ เขาอยู่ในสภา ในบริษัท ในท่ามกลางญาติ ในท่ามกลางอำมาตย์
หรือในท่ามกลางราชสกุล ถูกผู้อื่นนำไปเป็นพยานซักถามว่า มาเถิดบุรุษ
ผู้เจริญ ท่านรู้สิ่งใดจงกล่าวสิ่งนั้น บุคคลนั้นเมื่อไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ หรือ
เมื่อรู้ก็บอกว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็บอกว่าไม่เห็น หรือเมื่อเห็นก็บอกว่าเห็น
ไม่เป็นผู้พูดเท็จทั้งรู้ เพราะเหตุแห่งตนบ้าง เพราะเหตุแห่งผู้อื่นบ้าง
หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง 1 ละคำส่อเสียด เว้นขาดจาก
คำส่อเสียด ไม่ฟังข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือ
ฟังข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้สมานคน
ที่แตกกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่สามัคคีกันแล้ว ชอบคนที่พร้อมเพรียงกัน
ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าว
วาจาที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน 1 ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ
กล่าววาจาที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง
คนส่วนมากรักใคร่พอใจ 1 ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูด
ถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ อิงธรรม อิงวินัย พูดแต่คำ
ที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาล
อันควร 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางวาจา 4 อย่าง
อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมบัติแห่งการงานทางใจ 3 อย่างอันมีความ
ตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างไร ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่อยากได้ของผู้อื่น ไม่อยากได้
วัตถุอันเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่นว่า ไฉน

หนอ วัตถุที่เป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่น
พึงเป็นของเรา ดังนี้ 1 เป็นผู้ไม่มีจิตคิดปองร้าย ไม่มีความดำริในใจ
อันชั่วร้ายว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความมุ่งร้ายกัน ไม่มี
ทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด ดังนี้ 1 เป็นผู้มีความเห็นชอบ มีความเห็น
ไม่วิปริตว่า ทานที่ให้แล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล การบูชามีผล ผลวิบาก
แห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มีอยู่ โลกหน้ามีอยู่ มารดามีอยู่
บิดามีอยู่ . สัตว์ทั้งหลายผู้เป็นอุปปาติกะมีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไป
โดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอัน
ยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตามมีอยู่ในโลก ดังนี้ 1 ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางใจ 3 อย่าง อันมีความตังใจเป็นกุศล
ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลก
สวรรค์ เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางกาย 3 อย่าง อันมีความ
ตั้งใจเป็นกุศล เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางวาจา 4 อย่าง อันมี
ความตั้งใจเป็นกุศล หรือเพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางใจ 3 อย่าง
อันมีความตั้งใจเป็นกุศล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแก้วมณี 4 เหลี่ยม ที่บุคคล
โยนขึ้นข้างบน ตกลงมาทางเหลี่ยมใด ๆ ก็ย่อมตั้งอยู่ตามเหลี่ยมที่ตั้งลงมา
นั้นเอง ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไป ย่อมเข้า
ถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางกาบ 3 อย่าง
อันมีความตั้งใจเป็นกุศล เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางวาจา 4
อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล หรือเพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงาน

ทางใจ 3 อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ฉันนั้นเหมือนกันแล.
จบปฐมกรรมสูตรที่ 6

อรรถกถาปฐมกรรมสูตรที่1 7


ปฐมกรรมสูตรที่ 7

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สญฺเจตนิกานํ ได้แก่ ที่จงใจ หมายใจ กระทำแล้ว. บทว่า
อุปจิตานํ ได้แก่ ที่ก่อสร้าง ให้ขยายตัวขึ้น. บทว่า อปฺปฏิสํวิทิตฺวา
ได้แก่ ยังไม่เสวยวิบากแห่งความแก่นั้น . บทว่า พยนฺตีภาวํ ได้แก่ ความ
ที่กรรมยังไม่หมดไป คือเหตุรอบทางที่กรรมเหล่านั้นกำหนดไว้. บทว่า
ตญฺจ โข ทิฏฺเฐว ธมฺเม ความว่า ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมย่อมให้ผล
นั้นแลในปัจจุบัน. บทว่า อุปปชฺเช ความว่า อุปปัชชเวทนียกรรม
ย่อมให้ผลในภพต่อไป. บทว่า อปเร วา ปริยาเย ความว่า ส่วนอปรา-
ปรเวทนียกรรม เมื่อสัตว์ยังดำเนินไปในสังสารวัฏ ย่อมให้ผลถึงแสน
อัตภาพทีเดียว ด้วยบทนี้ ทรงแสดงความดังนี้ว่า ในกรรมที่เหมาะสม
แก่วิบากที่ได้แล้ว ในเมื่อสัตว์ยังดำเนินไปในสังสารวัฏ ไม่มีประเทศ
แห่งแผ่นดินที่สัตว์ดำรงอยู่แล้วจะพึงพ้นจากบาปกรรมไปได้. บทว่า ติวิธํ
แปลว่า 3 ประการ. บทว่า กายกมฺมนฺตสนฺโทสพฺยาปตฺติ แปลว่า
วิบัติ กล่าวคือโทษแห่งกายกรรม. พึงทราบบททุกบท โดยนัยนี้.
จบอรรถกถาปฐมกรรมสูตรที่ 7

1. อรรถกถาแก้บาลีข้อ 194 ซึ่งเป็นพระสูตรที่ 6 ในวรรคนี้.