เมนู

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ ย่อม
ประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม 10 ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้มี
ความเห็นผิด 1 มีความดำริผิด 1 มีการเจรจาผิด 1 มีการงานผิด 1
มีการเลี้ยงชีพผิด 1 มีความพยายามผิด 1 มีความระลึกผิด 1 มีความ
จงใจผิด 1 มีความรู้ผิด 1 มีความหลุดพ้นผิด 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการนี้แล ย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญเป็น
อันมาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ
ย่อมประสบบุญเป็นอันมาก ธรรม 10 ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้มีความ
เห็นชอบ 1 มีความดำริชอบ 1 มีการเจรจาชอบ 1 มีการงานชอบ 1
มีการเลี้ยงชีพชอบ 1 มีความพยายามชอบ 1 มีความระลึกชอบ 1 มีความ
จงใจชอบ 1 มีความรู้ชอบ 1 มีความหลุดพ้นชอบ 1 ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการนี้แล ย่อมประสบบุญ
เป็นอันมาก.
จบปุคคลวรรคที่ 1

จตุตถปัณณาสก์


อรรถกถาปุคคลวรรคที่ 1


สูตรที่ 1

เป็นต้น มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาปุคคลวรรคที่ 1

ชาณุสโสณีวรรคที่ 2


1. ปฐมปัจโจโรหณีสูตร1


ว่าด้วยพิธีปลงบาปของพราหมณ์และพระอริยะ


[156] ก็โดยสมัยนั้นแล ชาณุสโสณีพราหมณ์ สนานเกล้าใน
วันอุโบสถ นุ่งห่มผ้าไหมทั้งคู่อันใหม่ ถือกำหญ้าคาสดไปยืนอยู่ ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ทอดพระเนตรเห็นชาณุสโสณีพราหมณ์ผู้สนานเกล้าในวันอุโบสถ นุ่งห่ม
ผ้าไหมทั้งคู่อันใหม่ ถือกำหญ้าคาสดยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งในที่ไม่
ไกล ครั้นแล้วได้ตรัสถามชาณุสโสณีพราหมณ์ว่า ดูก่อนพราหมณ์ เพราะ
เหตุไรหนอ ท่านจึงสนานเกล้าในวันอุโบสถ นุ่งห่มผ้าไหมทั้งคู่อันใหม่
ถือกำหญ้าคาสดมายืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง วันนี้เป็นวันอะไรของสกุล
พราหมณ์ ชาณุสโสณีพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ วันนี้
เป็นวันปลงบาปของสกุลพราหมณ์.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ก็พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมมี
ด้วยประการไรเล่า.
ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พราหมณ์ทั้งหลายในโลกนี้ ใน
วันอุโบสถสนานเกล้า นุ่งห่มผ้าไหมทั้งคู่อันใหม่ ทาแผ่นดินด้วยโคมัยสด
ลาดด้วยหญ้าคาทั้งหลายที่เขียวสดแล้ว สำเร็จการนอนในระหว่างกองทราย
และเรือนไฟ ในราตรีนั้น พราหมณ์เหล่านั้นย่อมลุกขึ้นประนมอัญชลี
นมัสการไฟ 3 ครั้ง ด้วยการกล่าวว่า ข้าพเจ้าขอปลงบาปกะท่านผู้เจริญ
ดังนี้ และย่อมยังไฟให้อิ่มหนำด้วยเนยใส น้ำมัน และเนยข้นอันเพียงพอ

1. สูตรที่ 1 ถึงสูตรที่ 7 ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.