เมนู

มโนรถปูรณี


อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต


ปฐมปัณณาสก์


อานิสังสวรรคที่ 1


อรรถกถากิมัตถิยสูตรที่ 1


กิมัตถิยสูตรที่ 1

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า กุสลานิ สีลานิ ได้แก่ ศีลที่ไม่มีโทษ. ศีล ชื่อว่ามี
ความไม่ร้อนใจเป็นประโยชน์ ก็เพราะเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ความเป็น
ผู้ไม่เก้อเขิน ความไม่ร้อนใจ ชื่อว่ามีความไม่ร้อนใจเป็นอานิสงส์ คือผลดี
ก็เพราะศีลเหล่านั้น มีความไม่ร้อนใจนั้นแลเป็นอานิสงส์ ในคำว่า
ยถาภูตญาณทสฺสนตฺโถ เป็นต้น วิปัสสนาอย่างอ่อน ชื่อว่ายถาภูตญาณ-
ทัสสนะ วิปัสสนามีกำลัง ชื่อว่านิพพิทา, มรรค ชื่อว่าวิราคะ, อรหัตผล
ชื่อว่าวิมุตติ, ปัจจเวกขญาณ ชื่อว่าญาณทัสสนะ, บทว่า อรหตฺตตฺถาย
ปเรนฺติ
ได้แก่ ย่อมดำเนินไปเพื่อประโยชน์แก่พระอรหัต.
จบอรรถกถากิมัตถิยสูตรที่ 1

2. เจตนาสูตร


ว่าด้วยผู้มีศีลสมบูรณ์ไม่ต้องตั้งเจตนาให้เกิดอวิปปฏิสาร


[2] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล
ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขออวิปปฏิสารจงเกิดขึ้นแก่เรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข้อที่อวิปปฏิสารเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลเป็นธรรมดา ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่มีวิปปฏิสารไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอ
ปราโมทย์จงเกิดขึ้นแก่เรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปราโมทย์เกิดขึ้นแก่
บุคคลผู้ไม่มีวิปปฏิสารนี้ เป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ปรา-
โมทย์ไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอปีติจงเกิดแก่เรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปีติ
เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ปราโมทย์นี้ เป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มี
ใจปีติไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอกายของเราจงสงบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่
กายของบุคคลผู้มีใจมีปีติสงบนี้ เป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล
ผู้มีกายสงบไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงเสวยความสุข ข้อที่บุคคลผู้มีกาย
สงบเสวยสุขนี้ เป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความสุขไม่ต้อง
ทำเจตนาว่า ขอจิตของเราจงตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่จิตของ
บุคคลผู้มีความสุขตั้งมั่นนี้ เป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มี
จิตตั้งมั่นไม่ต้องทำเจตนาว่า ขอเราจงรู้จงเห็นตามความเป็นจริง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น รู้เห็นตามความเป็นจริงนี้ เป็น
ธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้รู้เห็นตามความเป็นจริงไม่ต้องทำ
เจตนาว่า ขอเราจงเบื่อหน่าย จงคลายกำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อ
ที่บุคคลผู้รู้ผู้เห็นตามความเป็นจริงเบื่อหน่ายคลายกำหนัดนี้ เป็นธรรมดา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัดไม่ต้องทำเจตนาว่า
ขอเราจงทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคล
ผู้เบื่อหน่ายคลายกำหนัดทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ นี้เป็นธรรมดา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิพพิทาวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติ-
ญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มี
นิพพิทาวิราคะเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถา-

ภูตญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์
ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิ
เป็นอานิสงส์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ อวิปปฎิสาร
มีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ศีลที่เป็นกุศลมีอวิปปฏิสาร
เป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ ด้วยประการดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้ง-
หลาย ธรรมทั้งหลายย่อมหลั่งไหลไปสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อม
ยังธรรมทั้งหลายให้บริบูรณ์ เพื่อจากเตภูมิกวัฏอันมิใช่ฝั่ง ไปถึงฝั่งคือ
นิพพาน ด้วยประการดังนี้แล.
จบเจตนาสูตรที่ 2

อรรถกถาเจตนาสูตรที่ 2


เจตนาสูตรที่ 2

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า น เจตนาย กรณียํ ได้แก่ไม่คิด กะ กำหนดกระทำ. บทว่า
ธมฺมตา เอสา ได้แก่ นั่นเป็นสภาวธรรม นี้เป็นนิยมแห่งเหตุ. บทว่า
อภิสนฺเทนฺติ ได้แก่ให้เป็นไป. บทว่า ปริปูเรนิติ ได้แก่ ทำให้บริบูรณ์.
บทว่า อปราปรํ คมนาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การไปยังฝั่งโน้น
คือพระนิพพาน จากวัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ 3 ซึ่งเป็นฝั่งนี้.
จบอรรถกถาเจตนาสูตรที่ 2

3. สีลสูตร


ว่าด้วยอวิปปฏิสารไม่มีแก่ผู้ทุศีล มีแก่ผู้มีศีลสมบูรณ์


[3] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิปปฏิสารชื่อว่ามีเหตุอันบุคคล
ผู้ทุศีลมีศีลวิบัติขจัดเสียแล้ว เมื่ออวิปปฏิสารไม่มี ปราโมทย์ไม่มี ปีติชื่อว่า