เมนู

ในวินัยแห่งพระอริยะนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่ม
แจ้งยิ่งนัก ฯลฯขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบปฐมปัจโจโรหณีสูตรที่ 7

อรรถกถาปฐมปัจโจโรหณีสูตรที่ 7


ปฐมปัจโจโรหณีสูตรที่ 7

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปจฺโจโรหณี ได้แก่ การลอยบาป. บทว่า ปตฺถริตฺวา ได้
แก่ ลาด. บทว่า อนฺตรา จ เวลํ อนฺตรา จ อคฺยาคารํ ได้แก่ ระหว่าง
กองทราย และเรือนไฟ.
จบอรรถกถาปฐมปัจโจโรหณีสูตรที่ 7

8. ทุติยปัจโจโรหณีสูตร


ว่าด้วยพิธีปลงบาปของพระอริยะ


[120] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง พิธีปลงบาปอันเป็น
อริยะ
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังพิธีปลงบาปอันเป็นอริยะนั้น จง
ใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พิธีปลงบาปอันเป็น
อริยะเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาทิฏฐิแล เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งใน
สัมปรายภพ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาทิฏฐิ
ย่อมปลงบาปจากมิจฉาทิฏฐิ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉา-
สังกัปปะ.... แห่งมิจฉาวาจา... แห่งมิจฉากัมมันตะ.... แห่งมิจฉาอาชีวะ...

แห่งมิจฉาวายามะ.... แห่งมิจฉาสติ... แห่งมิจฉาสมาธิ... แห่งมิจฉาญาณะ...
แห่งมิจฉาวิมุตติแล เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั่งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ อริย-
สาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาวิมุตติ ย่อมปลงบาป
จากมิจฉาวิมุตติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เรากล่าวว่า เป็นพิธีปลงบาป
อันเป็นอริยะ.
จบทุติยปัจโจโรหณีสูตรที่ 8

อรรถกถาทุติยปัจโจโรหณีสูตรที่ 8


สูตรที่ 8 ทุติยปัจโจโรหณี

ทรงแสดงแก่ภิกษุสงฆ์ คำที่เหลือ
ทุกแห่ง มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาทุติยปัจโจโรหณีสูตรที่ 8
จบปัจโจโรหณีวรรคที่ 2

9. ปุพพังคสูตร1


ว่าด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นนิมิตเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย


[120] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เริ่มต้นเป็นนิมิตเบื้องต้นแห่ง
ดวงอาทิตย์เมื่อจะอุทัย คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สิ่งที่เริ่มต้นเป็นนิมิตเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย คือ สัมมาทิฏฐิ ฉันนั้น
เหมือนกันแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะย่อมเพียงพอแก่บุคคล
ผู้มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาวาจาย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาสังกัปปะ สัมมา-
กัมมันตะย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะย่อมเพียงพอ
1. สูตรที่ 9 - 10 ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.