เมนู

7. ปฐมปัจโจโรหณีสูตร


ว่าด้วยพิธีปลงบาปของพระอริยะ


[119] ก็โดยสมัยนั้นแล พราหมณ์ชื่อว่า ชาณุสโสณี สนานเกล้า
ในวันอุโบสถ นุ่งห่มผ้าไหมทั้งคู่อันใหม่ ถือกำหญ้าคาสดไปยืนอยู่
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ทอดพระเนตรเห็นชาณุสโสณีพราหมณ์ ผู้สนานเกล้าในวันอุโบสถ นุ่ง
ห่มผ้าไหมทั้งคู่อันใหม่ ถือกำหญ้าคาสดยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งในที่
ไม่ไกล ครั้นแล้วได้ตรัสถามชาณุสโสณีพราหมณ์ว่า ดูก่อนพราหมณ์
เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงสนานเกล้าในวันอุโบสถ นุ่งห่มผ้าไหมทั้งคู่
อันใหม่ ถือกำหญ้าคาสดมายืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง วันนี้เป็นวันอะไร
ของสกุลพราหมณ์ ชาณุสโสณีพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
วันนี้เป็นวันปลงบาปของสกุลพราหมณ์.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ก็พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมมี
ด้วยประการไรเล่า.
ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พราหมณ์ทั้งหลายในโลกนี้ ในวัน
อุโบสถ สนานเกล้า นุ่งห่มผ้าไหมทั้งคู่อันใหม่ ทาแผ่นดินด้วยโคมัยอัน
สด ลาดด้วยหญ้าคาที่เขียวสดแล้ว สำเร็จการนอนระหว่างกองทรายและ
เรือนไฟ พราหมณ์เหล่านั้นย่อมลุกขึ้นประนมอัญชลี นมัสการไฟ 3 ครั้ง
ในราตรีนั้น ด้วยการกล่าวว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายขอปลงบาปกะท่านผู้เจริญ
ข้าพเจ้าทั้งหลายขอปลงบาปกะท่านผู้เจริญ ดังนี้ และย่อมยังไฟให้อิ่มหนำ
ด้วยเนยใส น้ำมัน และเนยข้นอันเพียงพอ และโดยล่วงราตรีนั้นไป ก็

เลี้ยงพราหมณ์ทั้งหลายให้อิ่มหนำด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลายย่อมมีโดย
ประการอย่างอื่น ส่วนพิธีปลงบาปในวินัยของพระอริยะย่อมมีโดยประการ
อย่างอื่น.
ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พิธีปลงบาปในวินัยของพระอริยะ
ย่อมมีอย่างไรเล่า ขอประทานพระวโรกาส ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรด
ทรงแสดงธรรมโดยประการที่เป็นพิธีปลงบาป ในวินัยของพระอริยะแก่
ข้าพระองค์ด้วยเถิด.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เรา
จักกล่าว.
ชาณุสโสณีพราหมณ์ทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาทิฏฐิ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งใน
สัมปรายภพ อริยสาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาทิฏฐิย่อม
ปลงบาปจากมิจฉาทิฏฐิ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาสังกัปปะ
เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว
ย่อมละมิจฉาสังกัปปะ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาสังกัปปะ ย่อมพิจารณาเห็น
ดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาวาจา เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปราย-
ภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาวาจา ย่อมปลงบาปจากมิจฉา-
วาจา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉากัมมันตะ เป็นสิ่งที่ชั่วช้า

ทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉา-
กัมมันตะ ย่อมปลงบาปจากมิจฉากัมมันตะ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
วิบากแห่งมิจฉาอาชีวะ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาอาชีวะ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาอาชีวะ
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาวายามะ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งใน
ปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาวายามะ
ย่อมปลงบาปจากมิจฉาวายามะ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉา-
สติ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้
แล้ว ย่อมละมิจฉาสติ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาสติ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
วิบากแห่งมิจฉาสมาธิ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้น
พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาสมาธิ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาสมาธิ
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาญาณะ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งใน
ปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาญาณะ
ย่อมปลงบาปจากมิจฉาญาณะ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉา-
วิมุตติ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็น
ดังนี้แล้ว ย่อมมิจฉาวิมุตติ ย่อมปลงบาปจากมิจฉาวิมุตติ ดูก่อน
พราหมณ์ พิธีปลงบาปในวินัยแห่งพระอริยะ ย่อมมีด้วยประการอย่าง
นี้แล.
ชาณุสโสณีพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พิธีปลง
บาปของพราหมณ์ทั้งหลายย่อมมีโดยประการอย่างอื่น ส่วนพิธีปลงบาป
ในวินัยของพระอริยะ ย่อมมีโดยประการอย่างอื่น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
ก็พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 แห่งพิธีปลงบาป

ในวินัยแห่งพระอริยะนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่ม
แจ้งยิ่งนัก ฯลฯขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก
ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบปฐมปัจโจโรหณีสูตรที่ 7

อรรถกถาปฐมปัจโจโรหณีสูตรที่ 7


ปฐมปัจโจโรหณีสูตรที่ 7

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปจฺโจโรหณี ได้แก่ การลอยบาป. บทว่า ปตฺถริตฺวา ได้
แก่ ลาด. บทว่า อนฺตรา จ เวลํ อนฺตรา จ อคฺยาคารํ ได้แก่ ระหว่าง
กองทราย และเรือนไฟ.
จบอรรถกถาปฐมปัจโจโรหณีสูตรที่ 7

8. ทุติยปัจโจโรหณีสูตร


ว่าด้วยพิธีปลงบาปของพระอริยะ


[120] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง พิธีปลงบาปอันเป็น
อริยะ
แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังพิธีปลงบาปอันเป็นอริยะนั้น จง
ใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พิธีปลงบาปอันเป็น
อริยะเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาทิฏฐิแล เป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งใน
สัมปรายภพ อริยสาวกนั้น ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาทิฏฐิ
ย่อมปลงบาปจากมิจฉาทิฏฐิ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉา-
สังกัปปะ.... แห่งมิจฉาวาจา... แห่งมิจฉากัมมันตะ.... แห่งมิจฉาอาชีวะ...