เมนู

ความว่า ประพฤติธรรมตามสมควรในโลกุตรธรรม 9 ที่ตรัสไว้แล้วโดย
ชอบ ได้แก่ประพฤติตามข้อปฏิบัติเบื้องต้นพร้อมกับศีล ที่เหมาะสมแก่
ธรรมนั้น. บทว่า มจฺจุตฺเธยฺยํ สุทุตฺตรํ ได้แก่ ข้ามวัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ 3
อันเป็นที่ตั้งแห่งมัจจุมาร ที่ข้ามได้แสนยาก. บทว่า ปารเมสฺสนฺติ ได้แก่
จักบรรลุพระนิพพาน. บทว่า โอกา อโนกนาคมฺม ได้แก่ อาศัยวิวัฎฏะ
จากวัฏฏะ. บทว่า วิเวเก ยตฺถ ทูรมํ แปลว่า พึงปรารถนาความยินดี
ยิ่งในกายวิเวก จิตตวิเวกและอุปธิวิเวก ซึ่งยินดียิ่งได้ยาก. บทว่า หิตฺวา
กาเม
ได้แก่ ละกามแม้ทั้งสอง. บทว่า อกิญฺจโน แปลว่ากิเลสเครื่องกังวล.
บทว่า อาทานปฏินิสฺสคฺเค ได้แก่ ในพระนิพพาน กล่าวคือการสละ
คืนความยึดมั่น. บทว่า อนุปาทาย เย รตา ความว่า ชนเหล่าใดไม่ยึด
ถือแม้สิ่งไร ๆ ด้วยอุปาทาน 4 ยินดียิ่งแล้ว. บทว่า ปรินิพฺพุตา ได้แก่
ชนเหล่านั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า ปรินิพพานแล้วด้วยปรินิพพานที่หาปัจจัย
มิได้.
จบอรรถกถาสคารวสูตรที่ 5

6. โอริมสูตร


ว่าด้วยฝั่งนี้และฝั่งโน้น


[118] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงฝั่งนี้และฝั่งโน้นแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ฝั่งนี้เป็นไฉน และฝั่งโน้นเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิจฉาทิฏฐิเป็นฝั่งนี้ สัมมาทิฏฐิเป็นฝั่งโน้น ฯลฯ มิจฉาวิมุติเป็นฝั่งนี้