เมนู

อรรถกถาตติยอธรรมสูตรที่ 3


ตติยอธรรมสูตรที่ 3

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อุทฺเทสํ อุทฺทิสิตฺวา ได้แก่ ตั้งบทมาติกา. บทว่า สติถุ
เจวํ สํรณฺณิโต
ความว่า ท่านพระอานนท์ อันพระศาสดาผู้ทรงสถาปนา
ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ในฐานะ 5 ประการ ทรงสรรเสริญแล้ว . บทว่า
สมฺภาวิโต ความว่า อันเหล่าเพื่อนสพรหมจารีผู้รู้ยกย่องแล้ว ด้วยการ
ยกย่องโดยคุณ. บทว่า ปโหติ แปลว่า ย่อมสามารถ.
บทว่า อติสิตฺวา แปลว่า ล่วงเลย. บทว่า ชานํ ชานาติ
แปลว่า ทรงรู้ข้อที่ควรรู้. บทว่า ปสฺสํ ปสฺสติ แปลว่า ทรงเห็นข้อ
ที่ควรเห็น. บทว่า จกฺขุภูโต ได้แก่ทรงเหมือนมีจักษุบังเกิดแล้ว. บทว่า
ญาณภูโต ได้แก่ทรงมีความรู้เป็นสภาพ. บทว่า ธมฺนภูโต ได้แก่ทรงมี-
ธรรมเป็นสภาพ. บทว่า พฺรหฺมภูโต ได้แก่ ทรงเป็นผู้ประเสริฐสุดเป็น
สภาพ. บทว่า วตฺตา ได้แก่ ทรงสามารถดำเนินการเอง. บทว่า ปวตฺตา
ได้แก่ ทรงใช้ให้ผู้อื่นดำเนินการ. บทว่า อตฺถสฺส นิพฺเพตา ได้แก่
ทรงชักข้อความมาแสดง. บทว่า ยถา โน ภควา แปลว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้าพึงทรงพยากรณ์แก่พวกเราโดยประการใด.
จบอรรถกถาตติยอธรรมสูตรที่ 3

4. อาชินสูตร


ว่าด้วยอาชินปริพาชก


[116] ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อว่า อาชินะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ

ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เพื่อนพรหม-
จรรย์ของข้าพเจ้าทั้งหลายชื่อว่าบัณฑิต เพราะคิดจิตตุปบาทได้ 500 ดวง
ซึ่งเป็นเครื่องชักถามอัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย อัญญเดียรถีย์ทั้งหลายเป็นผู้ถูก
ข่มขี่แล้ว รู้ตัวว่าถูกข่มขี่.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายทรงจำเหตุแห่งความเป็นบัณฑิตได้หรือไม่
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า กาลนี้เป็นกาลควร
ข้าแต่พระสุคต กาลนี้เป็นกาลควรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงภาษิต ภิกษุ
ทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักทรงจำไว้ พระผู้-
มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะอันไม่เป็นธรรมด้วยวาทะอันไม่เป็นธรรม และย่อม
ยังบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ให้ยินดีด้วยวาทะอันไม่เป็นธรรม บริษัท
ผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้น ย่อมสรรเสริญเสียงเอ็ดอึงเพราะวาทะอันไม่
เป็นธรรมนั้นว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบิณฑิตหนอ ดูก่อน
ท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ.
อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่เป็นธรรมด้วย
วาทะที่ไม่เป็นธรรม และย่อมยังบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ให้ยินดี
ด้วยวาทะที่ไม่เป็นธรรม บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้น ย่อมสรรเสริญ

เสียงเอ็ดอึงเพราะวาทะอันไม่เป็นธรรมนั้นว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้
เป็นบัณฑิตหนอ ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านผู้เป็นบัณฑิตหนอ.
อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่เป็นธรรมและ
วาทะที่ไม่เป็นธรรมด้วยวาทะที่ไม่เป็นธรรม และย่อมยังบริษัทผู้ไม่ประ-
กอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วยวาทะไม่เป็นธรรม บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วย
ธรรมนั้น ย่อมสรรเสริญเสียงเอ็ดอึงเพราะวาทะอันไม่เป็นธรรมนั้นว่า
ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้
เป็นบัณฑิตหนอ.
อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่ไม่เป็นธรรม
ด้วยวาทะที่เป็นธรรม และย่อมยังบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมให้ยินดี
ด้วยวาทะที่เป็นธรรม บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้น ย่อมสรรเสริญ
เสียงเอ็ดอึงเพราะวาทะอันเป็นธรรมนั้นว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้
เป็นบัณฑิตหนอ ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ.
อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่เป็นธรรมด้วย
วาทะที่เป็นธรรม และย่อมยังบริษัทผู้ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วยวาทะ
ที่เป็นธรรม บริษัทผู้ประกอบด้วย ธรรมนั้น ย่อมสรรเสริญเสียงเอ็ดอึง
เพราะวาทะที่เป็นธรรมนั้นว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ
ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควร
ทราบ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์บุคคลควรทราบ ครั้น
ทรามสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่

เป็นประโยชน์แล้ว พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมเป็นไฉน สิ่งที่ไม่เป็นธรรมเป็นไฉน
สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เป็นไฉน สิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเห็นผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความเห็น
ชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะ
ความเห็นผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่
น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่ง
ที่เป็นประโยชน์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดำริผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความดำริ
ชอบ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเจรจาผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การเจรจา
ชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงานผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การงานชอบ
เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเลี้ยงชีพผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การ
เลี้ยงชีพชอบ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพยายามผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความ
พยายามชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความระลึกผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความ
ระลึกชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตั้งใจผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความ
ตั้งใจชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้ผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความรู้ชอบ
เป็นสิ่งที่เป็นธรรม...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความ
หลุดพ้นชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้น
เพราะความหลุดพ้นผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ส่วนกุศลธรรม
มิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความหลุดพ้นชอบเป็นปัจจัย
เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็น
ธรรมบุคคลควรทราบ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์
บุคคลก็ควรทราบ ครั้นทราบสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่
ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม
ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ คำที่เรากล่าวดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วเพราะอาศัย
เหตุนี้.
จบอาชินสูตรที่ 4

อรรถกถาอาชินสูตรที่ 4


อาชินสูตรที่ 4

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อาชิโน ได้แก่ ปริพาชก มีชื่ออย่างนี้. บทว่า จิตฺตฏฺฐาน-
สตานิ
ได้แก่จิตตุปบาท 100 ดวง. บทว่า เยหิ แปลว่า ความประกอบ-
อยู่ด้วยจิตตุปบาท 100 ดวงเหล่าใด. บทว่า อุปารทฺธาว ชานนฺติ
อุปารทฺธสฺมา
ความว่า อัญญเดียรถีย์ ผู้พลาดแล้ว ถือเอาผิดแล้ว ย่อม