เมนู

อรรถกถาสัมมัตตสูตรที่ 4


สัมมัตตสูตรที่ 4

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ยถาทิฏฺฐิสมตฺตํ สมาทินฺนํ ได้แก่ สมาทานให้สมบูรณ์
การยึดไว้หมด ตามสมควรแก่ทิฏฐิ บทว่า เจตนา ได้แก่ เจตนาที่
บังเกิดในทวารทั้ง 3 ยึดมั่นแล้ว. บทว่า ปฏฺฐนา ได้แก่ ความปรารถนา
ที่ปรารถนาไว้อย่างนี้ว่า ขอเราพึงเป็นเห็นปานนี้. บทว่า ปณิธิ ได้แก่
การตั้งจิตว่า เราจักเป็นเทวะ หรือเทพองค์หนึ่ง. บทว่า สงฺขารา ได้
แก่ สังขารที่ประกอบพร้อมแล้ว.
จบอรรถกถาสัมมัตตสูตรที่ 4

5. อวิชชาวิชชาสูตร


ว่าด้วยอวิชชาและวิชชา


[105] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นประธานแห่งการเข้าถึง
อกุศลธรรมทั้งหลาย ความไม่ละอายบาป ความไม่กลัวบาป เป็นของ
มีมาตามอวิชชานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีอวิชชาไม่เห็นแจ้ง
ย่อมมีความเห็นผิด ผู้มีความเห็นผิด ย่อมมีความดำริผิด ผู้มีความดำริผิด
ย่อมมีวาจาผิด ผู้มีวาจาผิด ย่อมมีการงานผิด ผู้มีการงานผิด ย่อมมีการ
เลี้ยงชีพผิด ผู้มีการเลี้ยงชีพผิด ย่อมมีความพยายามผิด ผู้มีความพยายามผิด
ย่อมมีความระลึกผิด ผู้มีความระลึกผิด ย่อมมีความตั้งใจผิด ผู้มีความตั้ง
ใจผิด ย่อมมีความรู้ผิด ผู้มีความรู้ผิด ย่อมมีความหลุดพ้นผิด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิชชา เป็นประธานแห่งการเข้าถึงกุศลธรรม
ทั้งหลาย หิริและโอตตัปปะเป็นของมีมาตามวิชชานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บุคคลผู้มีวิชชาเห็นแจ้ง ย่อมมีความเห็นชอบ ผู้มีความเห็นชอบ ย่อม

มีความดำริชอบ ผู้มีความดำริชอบ ย่อมมีวาจาชอบ ผู้มีวาจาชอบ ย่อม
มีการงานชอบ ผู้มีการงานชอบ ย่อมมีการเลี้ยงชีพชอบ ผู้มีการเลี้ยงชีพ
ชอบ ย่อมมีความพยายามชอบ ผู้มีความพยายามชอบ ย่อมมีความระลึก
ชอบ ผู้มีความระลึกชอบ ย่อมมีความตั้งใจชอบ ผู้มีความตั้งใจชอบ
ย่อมมีความรู้ชอบ ผู้มีความรู้ชอบ ย่อมมีความหลุดพ้นชอบ.
อวิชชาวิชชาสูตรที่ 5

อรรถกถาอวิชชาวิชชาสูตรที่ 5


อวิชชาวิชชาสูตรที่ 5

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
อวิชชา ชื่อว่าเป็นหัวหน้า เพราะอรรถว่า ดำเนินไปก่อน. บทว่า
อนฺวเทว ได้แก่ ติดตามไป.
จบอรรถกถาอวิชชาวิชชาสูตรที่ 5

6. นิชชรวัตถุสูตร


ว่าด้วยเหตุแห่งการเสื่อมไป 10 ประการ


[106] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งการเสื่อมไปมี 10 ประการนี้
10 ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความเห็นชอบ ย่อม
มีความเห็นผิดเสื่อมไป มีอกุศลบาปกรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะความ
เห็นผิดเป็นปัจจัยเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอันมาก ย่อมถึงความเจริญ
บริบูรณ์ เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความดำริชอบ ย่อมมีความดำริผิด
เสื่อมไป มีอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะความดำริผิดเป็น
ปัจจัยเสื่อมไป และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะ
ความดำริชอบเป็นปัจจัย.