เมนู

รักการฟังธรรม การแสดงธรรม มีความปราโมทย์ยิ่งในธรรมอันยิ่ง ใน
วินัยอันยิ่ง 1 เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย
เภสัชบริขารตามมีตามได้ 1 เป็นผู้ประกอบด้วยอาการอันน่าเลื่อมใส ใน
การก้าวไปและถ้อยกลับ แม้นั่งในละแวกบ้านสำรวมแล้วด้วยดี 1 เป็นผู้
ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน 4 อันมีในจิตยิ่ง เป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน 1 ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง
ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เถระประกอบด้วย
ธรรม 10 ประการนี้แล จะอยู่ในทิศใด ๆ ย่อมอยู่สำรายโดยแท้.
จบเถรสูตรที่ 8

อรรถกถาเถรสูตรที่ 8


เถรสูตรที่ 8

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อธิกรณสมุปฺปาทวูปสมกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในความ
ระงับความเกิดขึ้น เพราะจับมูลแห่งอธิกรณ์ 4 ได้แล้วระงับเสีย.
จบอรรถกถาเถรสูตรที่ 8

9. อุปาลิสูตร


ว่าด้วยพระอุบาลีทูลขอไปอยู่เสนาสนะป่า พระผู้มีพระภาคเจ้า


ไม่ทรงอนุญาต


[99] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ยังที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบ

ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาเพื่อ
ซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน
อุบาลี เสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด อยู่ลำบาก ทำความวิเวกได้ยาก
ยากที่จะอภิรมย์ในการอยู่ผู้เดียว ป่าทั้งหลายเห็นจะนำใจของภิกษุผู้ไม่ได้
สมาธิไปเสีย ดูก่อนอุบาลี ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราเมื่อไม่ได้สมาธิจัก
ซ่องเสพเสนาสนะคือป่าและราวป่าอันสงัด ผู้นั้นจำต้องหวังข้อนี้ คือ จักจม
ลงหรือจักฟุ้งซ่าน ดูก่อนอุบาลี เปรียบเหมือนมีห้วงน้ำใหญ่อยู่ มีช้าง
ใหญ่สูง 7 ศอก หรือ 7 ศอกกึ่ง มาถึงเข้า ช้างตัวนั้นพึงคิดอย่างนี้ว่า
ไฉนหนอ เราลงสู่ห้วงน้ำนี้แล้วพึงขัดถูหลังเล่นบ้าง ครั้นแล้ว จึงอาบ
ดื่ม ขึ้นมา กลับไปตามต้องการ ช้างนั้นลงสู่ห้วงน้ำนั้นแล้วพึงขัดถูหู
เล่นบ้าง ขัดถูหลังเล่นบ้าง ครั้นแล้วจึงอาบ ดื่ม ขึ้นมา แล้วกลับไปตาม
ต้องการ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าช้างนั้นเป็นสัตว์มีร่างกายใหญ่ ย่อม
ได้การลงในน้ำลึก ครั้นกระต่ายหรือเสือปลามาถึง (ห้วงน้ำนั้น) เข้า
กระต่ายหรือเสือปลาพึงคิดอย่างนี้ว่า เราเป็นอะไร และช้างใหญ่เป็นอะไร
ไฉนหนอ เราพึงลงสู่ห้วงน้ำนี้แล้วจึงขัดถูหูเล่นบ้าง พึงขัดถูหลังเล่นบ้าง
ครั้นแล้ว จึงอาบ ดื่ม ขึ้นมา แล้วกลับไปตามต้องการ กระต่ายหรือเสือปลา
นั้นก็ลงสู่ห้วงน้ำนั้นโดยพลัน ไม่ทันได้พิจารณา กระต่ายหรือเสือปลานั้น
จำต้องหวังข้อนี้ คือจักจมลงหรือจักลอยขึ้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ว่ากระต่ายหรือเสือปลานั้นเป็นสัตว์มีร่างการเล็ก ย่อมไม่ได้การลงในห้วง
น้ำลึก แม้ฉันใด ดูก่อนอุบาลี ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราเมื่อไม่ได้สมาธิ
จักซ่องเสพเสนาสนะคือป่าและราวป่าอันสงัด ผู้นั้นจำต้องหวังข้อนี้ คือ
จักจมลงหรือฟุ้งซ่าน ฉันนั้นเหมือนกัน.

ดูก่อนอุบาลี เปรียบเหมือนเด็กอ่อนนอนหงาย ย่อมเล่นมูตรและ
คูถของตน ดูก่อนอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การเล่นนี้
เป็นการเล่นของเด็กอ่อนอย่างเต็มที่สิ้นเชิงมิใช่หรือ ท่านพระอุบาลีกราบ
ทูลว่า เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอุบาลี สมัยต่อมา เด็กนั้นแล อาศัยความเจริญ อาศัย
ความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ ย่อมเล่นเครื่องเล่นทั้งหลายที่เป็นของเล่นของ
พวกเด็ก ๆ คือเล่นไถน้อย ๆ เล่นตีไม้หึ่ง เล่นกังหันไม้ เล่นกังหันใบไม้
เล่นตวงทราย เล่นรถน้อย ๆ เล่นธนูน้อย ๆ ดูก่อนอุบาลี เธอจะสำคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน การเล่นนี้ เป็นการเล่นดียิ่งกว่า และประณีตกว่า
การเล่นที่มีในครั้งก่อนมิใช่หรือ.
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอุบาลี สมัยต่อมา เด็กนั้นแล อาศัยความเจริญ อาศัย
ความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ เป็นผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ 5 บำเรออยู่
ด้วยรูปทั้งหลาย อันบุคคลพึงรู้ได้ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอ
ใจ นักรัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด ด้วยเสียงทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้ด้วยหู ....
ด้วยกลิ่นทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้ด้วยจมูก ... ด้วยรสทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้
ด้วยลิ้น... ด้วยโผฏฐัพพะทั้งหลายอันบุคคลพึงรู้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวนชวนให้กำหนัด ดูก่อนอุบาลี เธอจะ
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การเล่นนี้ เป็นการเล่นที่ดียิ่งกว่า และประณีต
กว่าการเล่นที่มีในครั้งก่อนมิใช่หรือ.
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอุบาลี ก็พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์

ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้
แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝีกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระตถาคต
พระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้
แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อม
ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมอันงามใน
เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้ง
อรรถพร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรแห่ง
คฤหบดี หรือผู้เกิดมาในภายหลังในตระกูลใดกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น
แล้วได้ศรัทธาในตถาคต ประกอบด้วยการได้ศรัทธาแล้ว ย่อมพิจารณา
เห็นดังนี้ว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทาง
ปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์
บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ที่ขัดแล้วไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึง
ปลงผมและหนวดครองผ้ากาสายะออกบวชเป็นบรรพชิตเถิด สมัยต่อมา
เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ แล้วปลงผมและ
หนวด ครองผ้ากาสายะออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว เป็นผู้ถึง
พร้อมด้วยสิกขาและอาชีพเสมอด้วยภิกษุทั้งหลาย ละปาณาติบาต เว้นขาด
จากปาณาติบาต วางทัณฑะ วางศัสตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู
มีความกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ละอทินนาทาน
เว้นขาดจากอทินนาทาน รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่
ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ ละอพรหมจรรย์ ประพฤติ
พรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นจากเมถุนธรรมอันเป็นกิจของชาวบ้าน

ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ พูดเป็นหลัก
ฐาน ควรเธอถือได้ ไม่พูดลวงโลก ละวาจาส่อเสียด เว้นขาดจากวาจาส่อ
เสียด ฟังข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟัง
ข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตก
ร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อม
เพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียง
กัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน ละวาจาหยาบ เว้นขาดจากวาจา
หยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง
คนส่วนมากรักใคร่พอใจ ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล
พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมี
หลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร
ภิกษุนั้น เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม ฉันหนเดียว เว้นการ
ฉันในราตรีงดการฉันในเวลาวิกาล เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้องการประ-
โคมดนตรีและการดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เว้นขาดจากการทัดทรง
ประดับและตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอมและเครื่องประเทืองผิวอัน
เป็นฐานะแห่งการแต่งตัว เว้นขาดจากการนั่งการนอนบนที่นั่งที่นอนอัน
สูงใหญ่ เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เว้นขาดจากการรับธัญญาหาร
ดิบ เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เว้นจากการรับสตรีและกุมารี เว้นขาดจาก
การรับทาสีและทาส เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ เว้นขาดจากการรบ
ไก่และสุกร เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน เว้นขาดจากการประกอบ
ทูตกรรมและการรับใช้ เว้นขาดจากการซื้อการขาย เว้นขาดจากการฉ้อ-
โกงด้วยตาชั่ง การฉ้อโกงด้วยของปลอม และการฉ้อโกงด้วยเครื่องตวงวัด

เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบแตลง เว้นขาดจากการ
ตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก ภิกษุนั้น เป็นผู้
สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหาร
ท้อง ซึ่งตนจะไปทางทิศาภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง นกมีปีกจะบินไปทาง
ทิศาภาคใด ๆ ก็มีปีกของตัวเป็นภาระบินไป ฉันใด ภิกษุเป็นผู้สันโดษ
ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง ซึ่ง
ตนจะไปทางทิศาภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุนั้น
เป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุขอัน ไม่มีโทษ
เฉพาะตน.
ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อม
ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศล-
ธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ชื่อว่าย่อมรักษา
จักขุนทรีย์ ชื่อว่า ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู....
ดมกลิ่นด้วยจมูก .. . ลิ้มรสด้วยลิ้น.. . ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย... รู้
แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติ
เพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรม
อันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ชื่อว่าย่อมรักษามนินทรีย์
ชื่อว่าย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยอินทรีย์
สังวรอันเป็นอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสเฉพาะตน.
ภิกษุนั้นย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป ในการถอยกลับ ย่อม
ทำความรู้สึกตัวในการแล ในการเหลียว ย่อมทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า
ในการเหยียดออก ย่อมทำความรู้สึกตัวในการทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร

ย่อมทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ย่อมทำความ
รู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การ
ยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ภิกษุนั้นประกอบ
ด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะนี้ ประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะนี้
และประกอบด้วยสติสัมปชัญญะอันเป็นอริยะนี้ ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอัน
สงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง
ภิกษุนั้น อยู่ป่า อยู่โคนไม้ หรืออยู่เรือนว่างเปล่า ย่อมนั่งคู่บัลลังก์ ตั้งกาย
ตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า ภิกษุนั้นละความโลภในโลกแล้ว มีจิตปราศจาก
ความโลภอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความโลภ ละความประทุษร้าย
คือ พยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลสัตว์
ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้าย คือ พยาบาท
ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่
แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละ
อุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระ
จิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจาจะ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามพ้นวิจิกิจฉา
ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
วิจิกิจฉา.
ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ อันทำปัญญาให้
ทุรพล 5 ประการนี้ได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากลกุศลธรรม บรรลุ
ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูก่อนลุบาลี เธอจะ
สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่า และ
ประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือ.

อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรม
แม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะคือป่าและราวป่าอันสงัด
แต่ว่าสาวกเหล่านั้น ยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน.
ดูก่อนอุบาลี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส
แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก
วิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูก่อนอุบาลี เธอจะสำคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนั้น เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่า และประณีต
กว่า การอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือ.
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรม
แม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะคือป่าและราวป่าอันสงัด
แต่ว่าสาวกเหล่านั้นยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน
ดูก่อนอุบาลี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้า
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดูก่อน
อุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้เป็นการอยู่ที่ดียิ่ง
กว่า ประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือ.
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรม
แม้นี้ (ว่ามีอยู่ ) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด
แต่ว่าสาวกเหล่านั้น ยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน.

ดูก่อนอุบาลี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขา
เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูก่อนอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อน
มิใช่หรือ.
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรม
แม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด
แต่ว่าสาวกเหล่านั้นยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน.
ดูก่อนอุบาลี อีกประการหนึ่ง เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เพราะดับ
ปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่ใส่ใจถึงมานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
ภิกษุจึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน โดยคำนึงว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้
ดูก่อนอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการ
อยู่ที่ดียิ่งกว่าและประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือ.
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรม
แม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด
แต่ว่าสาวกเหล่านั้นยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน.
ดูก่อนอุบาลี อีกประการหนึ่ง เพราะก้าวล่วงอากาสานัญจายตน-
ฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน โดยคำนึง
ว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ดังนี้ ...เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
ประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงว่า หน่อย

หนึ่งไม่มี ดังนี้ ...เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
ภิกษุจึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยคำนึงว่า ธรรมชาตินี้สงัด
ธรรมชาตินี้ประณีต ดังนี้ ดูก่อนอุบาลี เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
การอยู่เช่นนี้ เป็นการอยู่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อน
มิใช่หรือ.
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรม
แม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด
แต่ว่าสาวกเหล่านั้นยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน.
ดูก่อนอุบาลี อีกประการหนึ่ง เพราะก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญาย-
คนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอยู่
และอาสวะของภิกษุนั้นเป็นกิเลสหมดสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา
ดูก่อนอุบาลี เธอจะสำคัญควานข้อนั้นเป็นไฉน การอยู่เช่นนี้ เป็นการ
อยู่ที่ดียิ่งกว่า และประณีตกว่าการอยู่อันมีในก่อนมิใช่หรือ.
อุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอุบาลี สาวกทั้งหลายของเราพิจารณาเห็นอยู่ซึ่งธรรม
แม้นี้ (ว่ามีอยู่) ในตน จึงซ่องเสพเสนาสนะ คือ ป่าและราวป่าอันสงัด
แต่ว่าสาวกเหล่านั้นยังไม่บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับก่อน ดูก่อน
อุบาลี เธอจงอยู่ในสงฆ์เถิด เมื่อเธออยู่ในสงฆ์ ความสำราญจักมี.
จบอุปาลิสูตรที่ 9

อรรถกถาอุปาลิสูตรที่ 9


อุปาลิสูตรที่ 9

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทุรภิสมฺภวานิ หิ ได้แก่ มีได้ยาก หาได้ยาก. ท่านอธิบายว่า
ผู้มีศักดิ์น้อยไม่อาจที่จะยึดไว้ได้. บทว่า อรญฺญวนปตฺถานิ ความว่า ป่า
ใหญ่และป่าทึบ ชื่อว่า อรัญญะ เพราะสำเร็จองค์ของความเป็นป่า. ชื่อว่า
วนปัตถะ เพราะเลยละแวกบ้าน เป็นสถานที่หมู่คนไม่เข้าไปใกล้. บทว่า
ปนฺตานิ ได้แก่ ไกลเหลือเกิน. บทว่า ทุกฺกรํ ปวิเวกํ ได้แก่ กายวิเวก
ที่ทำยาก. บทว่า ทุรภิรมํ ได้แก่ ไม่ใช่ยินดีได้ง่าย ๆ. บทว่า เอกตฺเต
แปลว่า ในความเป็นผู้อยู่ผู้เดียว. ทรงแสดงอะไร. ทรงแสดงว่า แม้เมื่อ
กระทำกายวิเวกได้แล้ว ก็ยากที่จะให้จิตยินดีในเสนาสนะนั้น . จริงอยู่
โลกนี้มีของเป็นคู่ ๆกันเป็นที่ยินดี. บทว่า หรนฺติ มญฺเญ ได้แก่เหมือน
นำไป เหมือนสีไป. บทว่า มโน ได้แก่ จิต. บทว่า สมาธึ อลภมานสฺส
ได้แก่ ผู้ไม่ได้อุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิ. ทรงแสดงอะไร. ทรง
แสดงว่า วนะทั้งหลาย เหมือนจะกระทำจิตของภิกษุเช่นนี้ให้ฟุ้งซ่าน
ด้วยสิ่งใบหญ้าและเนื้อ เป็นต้น และสิ่งน่ากลัวมีอย่างต่าง ๆ. บทว่า
สํสีทิสฺสติ ได้แก่ จักจมลงด้วยกามวิตก. บทว่า อุปฺปิลวิสฺสติ ได้แก่
จักลอยขึ้นเบื้องบนด้วยพยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตก.
บทว่า กณฺณสนฺโธวิกํ ได้แก่ เล่นล้างหู. บทว่า ปิฏฺฐิสนฺโธวิกํ
ได้แก่ เล่นล้างหลัง. ทั้งสองอย่างนั้น การจับงวงและรดน้ำที่หูสองข้าง
ชื่อว่า กัณณสันโธวิกะ รดน้ำที่หลัง ชื่อว่า ปิฏฐิสันโธวิกะ. บทว่า คาธํ
วินฺทติ ได้แก่ ได้ที่พึ่ง.