เมนู

บทว่า อิมสฺส นิโรธา ความว่า เพราะความไม่เป็นไปแห่งเหตุ ความ
ไม่เป็นไปแห่งผลก็มี.
จบอรรถกถาเวรสูตรที่ 2

3. ทิฏฐิสูตร


ว้าด้วยอนาถบิณฑิกเศรษฐีบอกทิฏฐิของตนแก่อัญญเดียรถีย์


[93] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร
เชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล
ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ออกจากพระนครสาวัตถีแต่ยังวัน เพื่อเฝ้า
พระผู้พระภาคเจ้า ลำดับนั้น ท่านได้มีความคิดเช่นนี้ว่า มิใช่เวลาเพื่อ
จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงหลีกเร้น
อยู่ มิใช่กาลเพื่อจะเยี่ยมภิกษุทั้งหลายผู้ยังใจให้เจริญ เพราะพวกภิกษุ
ผู้ยังใจให้เจริญยังหลีกเร้นอยู่ อย่ากระนั้นแล เราพึงเข้าไปยังอารามของ
พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด ลำดับนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี จึง
เข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ก็สมัยนั้นแล พวกอัญญ-
เดียรถีย์ปริพาชกกำลังร่วมประชุมกัน บันลือเสียงเอ็ดอึง นั่งพูดกันถึง
ดิรัจฉานกถาหลายอย่าง พอได้เห็นท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเดินมาแต่ไกล
ครั้นแล้วจึงยังกันและกันให้หยุดด้วยกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงเบาเสียง
อย่าได้เปล่งเสียง อนาถบิณฑิกคฤหบดีคนนี้เป็นสาวกของพระสมณโคดม
กำลังเดินมา อนาถบิณฑิกคฤหบดีนี้เป็นสาวกคนหนึ่ง ในบรรดาคฤหัสถ์
ผู้นุ่งห่มผ้าขาว ซึ่งเป็นสาวกของพระสมณโคดม อาศัยอยู่ในพระนคร
สาวัตถี ก็ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ใคร่ในเสียงเบา ได้รับแนะนำในทางเสียงเบา

กล่าวสรรเสริญเสียงเบา แม้ไฉนเขาทราบบริษัทผู้มีเสียงเบา พึงสำคัญที่
จะเข้ามาหา ลำดับนั้น ปริพาชกเหล่านั้นได้นิ่งอยู่ ท่านอนาถบิณฑิก-
คฤหบดีเข้าไปหาปริพาชกเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับพวก
อัญญเดียรถีย์ปริพาชก ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าว
กะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี ขอท่านจงบอก พระ-
สมณโคดมมีทิฏฐิอย่างไร อนาถบิณฑิกคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่ทราบทิฏฐิทั้งหมดของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
ป. ดูก่อนคฤหบดี นัยว่า บัดนี้ท่านไม่ทรามทิฏฐิทั้งหมดของ
พระสมณโคดม ขอท่านจงบอก ภิกษุทั้งหลายมีทิฏฐิอย่างไร.
อ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่ทราบทิฏฐิทั้งหมด แม้
ของภิกษุทั้งหลาย.
ป. ดูก่อนคฤหบดี นัยว่า ท่านไม่ทราบทิฏฐิทั้งหมดของพระสมณ-
โคดม ทั้งไม่ทราบทิฏฐิทั้งหมดของพวกภิกษุ ด้วยประการดังนี้ ขอ
ท่านจงบอก ตัวท่านมีทิฏฐิอย่างไร.
ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย การที่ข้าพเจ้าบอกทิฏฐิของข้าพเจ้าว่ามี
ทิฏฐิอย่างใดนี้ไม่อยาก เชิญท่านทั้งหลายบอกทิฏฐิของตนเสียก่อน ข้าพเจ้า
จึงจะบอกทิฏฐิของข้าพเจ้าว่ามีทิฏฐิอย่างใดในภายหลัง ซึ่งเป็นการทำ
ไม่ยาก.
เมื่อท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกหนึ่ง
ได้กล่าวกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า.

ปริพาชกอีกคนหนึ่งได้กล่าวกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูก่อน
คฤหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกไม่เที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า
แม้ปริพาชกอีกคนหนึ่งได้กล่าวกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า โลกมีที่สุด....
อีกคนหนึ่งพูดว่า โลกไม่มีที่สุด... อีกคนหนึ่งพูดว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็
อันนั้น... อีกคนหนึ่งพูดว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง... อีกคนหนึ่ง
พูดว่า สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีก... อีกคนหนึ่งพูดว่า สัตว์เมื่อตาย
แล้วย่อมไม่เป็นอีก... อีกคนหนึ่งพูดว่า สัตว์เมื่อตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี
ไม่เป็นอีกก็มี... อีกคนหนึ่งพูดว่า ดูก่อนคฤหบดี เรามีทิฏฐิ อย่างนี้ว่า
สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีกหามิได้ ไม่เป็นอีกหามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง
สิ่งอื่นเปล่า.
เมื่อปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีได้กล่าว
กะปริพาชกเหล่านั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่านผู้มีอายุได้กล่าว
อย่างนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้น
จริง สิ่งอื่นเปล่า ทิฏฐิของท่านผู้มีอายุนี้ เกิดขึ้นเพราะทำไว้ในใจโดย
ไม่แยบคายของตน หรือเพราะโฆษณาของผู้อื่นเป็นปัจจัย ก็ทิฏฐินั้น
เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยปัจจัย ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งทีเกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัย
ก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ ท่านผู้มีอายุนั้นเป็นผู้ติดสิ่งนั่นแหละ ท่านผู้มีอายุ
นั้นเข้าถึงสิ่งนั้นแหละ แม้ท่านผู้มีอายุรูปใดกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี
เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกไม่เที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ทิฏฐิ
ของท่านผู้มีอายุแม้นี้ ก็เกิดขึ้นเพราะเหตุแห่งการกระทำไว้ในใจโดยไม่

แยบคายของตน หรือเพราะการโฆษณาของผู้อื่นเป็นปัจจัย ก็ทิฏฐินั้น
เกิดขึ้นแล้ว อันอาศัยปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้น
เพราะอาศัยปัจจัย ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
สิ่งใดเป็นทุกข์ ท่านผู้มีอายุนั้นเป็นผู้ติดสิ่งนั้นแหละ ท่านผู้มีอายุนั้น
เป็นผู้เข้าถึงสิ่งนั้นแหละ แม้ท่านผู้มีอายุรูปใดกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อน
คฤหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกมีที่สุด... โลกไม่มีที่สุด... ชีพอันนั้น
สรีระก่อนนั้น... ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง... สัตว์เมื่อตายแล้ว
ย่อมเป็นอีก... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็น
อีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อม
ไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ทิฏฐิของท่านผู้มีอายุนี้
เกิดขึ้นเพราะเหตุแห่งการกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายของตน หรือ
เพราะการโฆษณาของผู้อื่นเป็นปัจจัย ก็ทิฏฐินั้นเกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัย
ปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย ก็สิ่งใด
สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้น
เพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใด
เป็นทุกข์ ท่านผู้มีอายุนั้นเป็นผู้ติดสิ่งนั้นแหละ ท่านผู้มีอายุนั้นเข้าถึง
สิ่งนั้นแหละ.
เมื่อท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกเหล่านั้น
ได้กล่าวกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี พวกเราทั้งหมด
บอกทิฏฐิของตนแล้ว ขอท่านจงบอก ท่านมีทิฏฐิอย่างไร.
อ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อัน

ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้น
ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ ข้าพเจ้ามีความ
เห็นสิ่งนั้นอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน
ของเรา.
ป. ดูก่อนคฤหบดี สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุง
แต่งแล้ว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ท่านเป็นผู้ติดสิ่งนั้นแหละ ท่านเข้าถึง
สิ่งนั้นแหละ.
อ. ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัย
ก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง
สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ ข้าพเจ้าเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่
ตัวตนของเรา ทั้งรู้ชัดอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งสิ่งนั้นอย่างยอดเยี่ยม
ตามเป็นจริง.
เมื่อท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกเหล่านั้น
พากันนั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา โต้ตอบไม่ได้ ท่าน
อนาถบิณฑิกคฤหบดีทราบปริพาชกเหล่านั้นเป็นผู้นิ่ง เก้อเขิน คอตก
ก้มหน้า ซบเซา โต้ตอบไม่ได้ แล้วลุกจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลถึงเรื่องที่สนทนากับอัญญเดียรถีย์
ปริพาชกเหล่านั้นทั้งหมด แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงทราบทุกประการ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ๆ คฤหบดี ท่านพึงข่มขี่พวกโมฆบุรุษ

เหล่านั้นให้เป็นการข่มขี่ด้วยดี โดยกาลอันควร โดยชอบธรรมอย่างนี้แล
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีให้เห็น
แจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ท่านอนาถบิณฑิก-
คฤหบดีอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจ
หาญ ร่าเริง ด้วยธรรมมีกถาแล้ว ลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมลาพระผู้มี-
พระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป เมื่อท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี
หลีกไปไม่นาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุใดแลเป็นผู้มีธรรมอันไม่หวั่นไหวในธรรมวินัยตลอดกาล
นาน ภิกษุแม้นั้นพึงข่มขี่อัญญเดียรถีย์ ปริพาชกเหล่านั้นให้เป็นการข่มขี่
ด้วยดีโดยชอบธรรมอย่างนี้ เหมือนท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีข่มขี่แล้ว
ฉะนั้น.
จบทิฏฐิสูตรที่ 3

อรรถกถาทิฏฐิสูตรที่ 3


ทิฏฐิสูตรที่ 3

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สณฺฐเปสุํ ได้แก่ ทางแห่งการดำเนินบ้าง ทางแห่งคำ
พูดบ้าง. บทว่า อปฺสทฺทวินีตา ได้แก่ ผู้อันพระศาสดาผู้มีพระสุรเสียง
น้อย ตรัสแต่พอประมาณ ทรงแนะนำแล้ว. บทว่า ปรโฆสปจฺจยา วา
ได้แก่ หรือว่า เพราะถ้อยคำของบุคคลอื่นเป็นเหตุ. บทว่า เจตยิตา
ได้แก่ กำหนดแล้ว. บทว่า มงฺกุภูตา ได้แก่ เสียใจ หมดอำนาจ
บทว่า ปตฺตกฺขนฺธา แปลว่า คอตก. บทว่า สหธมฺเมน ได้แก่ โดยถ้อยคำ
ที่มีเหตุมีการณ์.
จบอรรถกถาทิฏฐิสูตรที่ 3