เมนู

อรรถกถาพยสนสูตรที่ 8


พยสนสูตรที่ 8

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ในคำว่า อกฺโกสกปริภาสโก อริยุปวาที สพฺรหฺมจารีนํ นี้พึง
ประกอบ สพฺรหฺมจารี กับ อกฺโกสนบท และ ปริภาสกบท. บทว่า
เป็นผู้ด่าสพรหมจารี เป็นผู้บริภาษสพรหมจารี. ผู้ว่าร้ายด้วยอันติมวัตถุว่า
เราจักฆ่าคุณของพระอริยะทั้งหลาย ย่อมชื่อว่า อริยุปวาที. บทว่า
สทฺธมฺมสฺส น โวทายนฺตี ความว่า สัทธรรมคือศาสนาที่นับได้ว่า
ไตรสิกขาของภิกษุนั้น ย่อมไม่ถึงความผ่องแผ้ว. โรคเท่านั้นพึงทราบว่า
อาตังกะ เพราะกระทำให้ชีวิตลำบาก ในคำว่า โรคตงฺกํ นี้.
จบอรรถกถาพยสนสูตรที่ 8

9. โกกาลิกสูตร


ว่าด้วยพระโกกาลิกภิกษุ


กล่าวอาฆาตพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ


[89] ครั้งนั้นแล ภิกษุ ชื่อ โกกาลิกา เข้าไปพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ายังที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระสารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นผู้มีความปรารถนาลามก
ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลมก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน
โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวนั้น เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธอจงยังจิต
ให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตรและโมคคัล-
ลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก.

แม้ครั้งที่ 2 โกกาลิกภิกษุก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้า
แต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของข้าพระ-
องค์ เป็นผู้มีพระพุทธพจน์อันข้าพระองค์พึงเชื่อถือได้ก็จริง ถึงอย่างนั้น
พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะก็เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ลุอำนาจ
แห่งความปรารถนาลามก พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนโกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธออยู่กล่าวอย่างนั้น
เธอจงยังจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตร
และโมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก.
แม้ครั้งที่ 3 โกกาลิกภิกษุได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้า
แต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของข้าพระองค์
เป็นผู้มีพระพุทธพจน์ อันข้าพระองค์พึงเชื่อถือได้ก็จริง ถึงอย่างนั้น
พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะก็เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ลุอำนาจ
แห่งความปรารถนาลามก พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนโกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ เธอ
จงยังจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตรและ
โมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก.
ครั้งนั้นแล โกกาลิกภิกษุลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มี
พระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป เมื่อโกกาลิกภิกษุหลีกไปแล้ว
ไม่นาน ร่างกายมีตุ่มเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดเกิดขึ้นทั่วตัว ตุ่มเหล่านั้น
เท่าเมล็ดถั่วเขียว แล้วก็โตเท่าเมล็ดถั่วดำ แล้วก็โตเท่าเมล็ดพุทรา
แล้วก็โตเท่าเมล็ดกระเบา แล้วก็โดยเท่าผลมะขามป้อม แล้วก็โตเท่าผล
มะตูมอ่อน แล้วก็โดยเท่าผลมะตูแก่ แล้วจึงแตก หนองและเลือดหลั่งไหล
ออก ได้ยินว่า โกกาลิกภิกษุนั้นนอนบนใบตองกลัว เหมือนปลากิน

ยาพิษ ครั้งนั้นแล ตุทิปัจเจกพรหมเข้าไปหาพระโกกาลิกะยังที่อยู่ ครั้น
แล้วยืนอยู่ที่เวหาส ได้กล่าวกะโกกาลิกภิกษุว่า ดูก่อนโกกาลิกะ ท่านจง
ยังจิตให้เลื่อมใสในพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเถิด เพราะพระ-
สารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก โกกาลิกภิกษุถามว่า
ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ท่านเป็นใคร.
ตุ. เราเป็นตุติปัจเจกพรหม.
โก. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ท่านเป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยา-
กรณ์ว่าเป็นอนาคามีมิใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนั้น ไฉนท่านจึงมา ณ ที่นี้อีก
ในบัดนี้ อนึ่ง ท่านจงเห็นความผิดนี้ของท่านเท่าที่มีอยู่.
ครั้งนั้นแล ตุทิปัจเจกพรหมได้กล่าวกะโกกาสิกะภิกษุด้วยคาถาว่า
ผรุสวาจาเพียงดังจอบ ซึ่งเป็นเครื่องตัดทอนตน
ของคนพาล ผู้กล่าวคำชั่ว ย่อมเกิดขึ้นที่ปากของ
บุคคลผู้เป็นบุรุษพาล ผู้รดสรรเสริญผู้ที่ควรติเตียน
หรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าสะสมโทษ
ไว้ด้วยปาก ย่อมไม่ประสบความสุขเพราะโทษนั้น.
การปราชัยด้วยทรัพย์ในการเล่นการพนัน ด้วยตน
เองจนหมดตัวนี้ เป็นโทษมีประมาณน้อยการที่บุคคล
ยังใจให้ประทุษร้าย ในพระอริยเจ้าผู้ดำเนินดีแล้วนี้
เป็นโทษมากกว่า บุคคลตั้งวาจาและใจอันเป็นบาป
แล้วติเตียนพระอริยะ ย่อมเข้าถึงนรกสิ้นหนึ่งแสน
นิรัพพุทกัป อีก 36 นิรัพพุทะ และ 5 อัพพุทะ
.
ครั้งนั้นแล โกกาลิกภิกษุได้การทำกาละด้วยอาพาธนั้นเองแล้วเกิด

ในปทุมนรก เพราะยังจิตในอาฆาตในพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ
ลำดับนั้น เมื่อปฐมยามแห่งราตรีผ่านไปแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหมผู้มีวรรณะ
สง่างาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ายังที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โกกาลิกภิกษุ
กระทำกาละแล้ว เกิดในปทุมนรก เพราะยังจิตให้อาฆาตในพระสารีบุตร
และพระโมคคัลลานะพระเจ้าข้า ท้าวสหัมบดีพรหมครั้นกราบทูลดังนี้
แล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้วหายไป
ในที่นั้นเอง ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคืนนี้เมื่อปฐมยามผ่านไปแล้ว
ท้าวสหัมบดีพรหมผู้มีวรรณะสง่างาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง
ไสวเข้ามาหาเรายังที่อยู่ อภิวาทเราแล้วนั่ง ณ ที่อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โกกาลิกภิกษุกระทำกาละ
แล้วเกิดในปทุมนรก เพราะยังจิตให้อาฆาตในพระสารีบุตรและพระ-
โมคคัลลานะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมครั้นกล่าวคำนี้
แล้วอภิวาทเรา กระทำประทักษิณแล้วหายไปในที่นั้นเอง.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ประมาณอายุในปทุมนรก
นานเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุ ประมาณ
อายุในปทุมนรกนานนัก ประมาณอายุในปทุมนรกนั้นยากที่จะกระทำการ
กำหนดนับได้ว่า ประมาณเท่านี้ปี ประมาณร้อยปีเท่านี้ ประมาณพันปี
เท่านี้ หรือประมาณแสนปีเท่านี้.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระองค์อาจเพื่อจะทำการเปรียบเทียบ
ได้หรือ พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อาจอยู่ภิกษุ แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
เปรียบเหมือนหนึ่งเกวียนเมล็ดงาของชนชาวโกศลมีอัตรา 20 *ขารี เมื่อ
ล่วงไปแสนปี บุรุษนำเอาเมล็ดงาเมล็ดหนึ่งออกจากเกวียนนั้น ดูก่อน
ภิกษุ เมล็ดงาหนึ่งเกวียนของชาวโกศลซึ่งมีอัตรา 20 ขารีนั้น พึงถึง
ความสิ้นไปหมดไปโดยทำนองนี้เร็วกว่า นั่นยังไม่ถึงหนึ่งอัพพุทะในนรก
เลย ดูก่อนภิกษุ 20 อัพพุทะในนรกจึงเป็น 1 นิรัพพุทะ 20 นิรัพพุทะ
เป็น 1 อพัพพะ 20 อพัพพะเป็น 1 อหหะ 20 อหหะเป็น 1 อฏฏะ
20 อฏฏะเป็น 1 กุมุทะ 20 กุมุทะเป็น 1 โสคันธิกะ 20 โสคันธิกะเป็น
1 อุปปละ 20 อุปปละเป็น 1 ปุณฑรีกะ 20 ปุณฑรีกะเป็น 1 ปทุมะ
ดูก่อนภิกษุ โกกาลิกภิกษุเกิดในปทุมนรก เพราะยังจิตให้อาฆาตใน
สารีบุตรและโมคคัลลานะ ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดาได้ตรัส
ไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
ผรุสวาจาเพียงดังจอบ ซึ่งเป็นเครื่องตัดทอน
ตนของตนพาล ผู้กล่าวคำชั่ว ย่อมเกิดขึ้นที่ปากของ
บุคคลผู้เป็นบุรุษพาล ผู้ใดสรรเสริญผู้ที่ควรติเตียน
หรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าสะสมโทษ
ด้วยปาก ย่อมไม่ประสบความสุขเพราะโทษนั้น การ
ปราชัยด้วยทรัพย์ ในการเล่นการพนันด้วยตนเองจน
หมดตัว เป็นโทษมีประมาณน้อย การที่บุคคลยัง
ใจให้ประทุษร้ายในพระอริยเจ้า ผู้ดำเนินดีแล้วนี้


1. 1 ขารีเท่า 246 ทะนาน.

เป็นโทษมากกว่า บุคคลตั้งวาจาและใจอันเป็นบาป
แล้วติเตียนพระอริยะ ย่อมเข้าถึงนรกสิ้นหนึ่งแสน
นิรัพพุทกัป 36 นิรัพพุทะ และ 5 อัพพุทะ.

จบโกกาลิกสูตรที่ 9

อรรถกถาโกกาลิกสูตรที่ 9


โกกาลิกสูตรที่ 9

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า โกกาลิโก ภิกฺขุ เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า ภิกษุ
โกกาลิกะนี้คือใคร และเหตุไรจึงเข้าไปเฝ้า เล่ากันว่า โกกาลิกภิกษุนี้
เป็นบุตรของโกกาลิกเศรษฐีในนครโกกาลิกะ รัฐโกกาลิกะ บวชแล้วอยู่
ประจำในวิหารที่บิดาสร้างไว้ แต่ภิกษุผู้เป็นศิษย์ของพระเทวทัต ชื่อว่า
จูฬโกกาลิกะ. ก็โกกาลิกะบุตรพราหมณ์นั้นชื่อว่า มหาโกกาลิกะ. ก็เมื่อ
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่กรุงสาวัตถี พระอัครสาวกทั้งสอง ก็จาริก
ไปในชนบทพร้อมกับภิกษุประมาณ 500 รูป เมื่อวันใกล้เข้าพรรษา
ประสงค์จะอยู่อย่างวิเวก จึงส่งภิกษุเหล่านั้นกลับไป ตนเองถือบาตรและ
จีวรถึงนครนั้น ในชนบทนั้น ครั้นถึงวิหารนั้น ก็ไปวิหารนั้น ในวิหารนั้น
พระโกกาลิกะก็ทำวัตรปฏิบัติแก่พระอัครสาวกทั้งสองนั้น ท่านพระอัคร-
สาวกก็สัมโมทนากับพระโกกาลิกะนั้นรับคำว่า ผู้มีอายุ เราจะอยู่ที่นี้ 3 เดือน
ท่านอย่าบอกเรื่องของเราแก่ใคร ๆ แล้วก็อยู่จำพรรษา ครั้นจำพรรษาแล้ว
ก็ปวารณา ในวันปวารณาก็บอกลาโกกาลิกภิกษุว่า ผู้มีอายุ เราจะไปละ
โกกาลิกภิกษุกล่าวว่า ผู้มีอายุ วันนี้อยู่เสียอีกวันหนึ่ง พรุ่งนี้ค่อยไป. วัน
รุ่งขึ้นก็เข้าพระนครบอกผู้คนทั้งหลายว่า ผู้มีอายุ ท่านไม่รู้กันดอกหรือว่า