เมนู

อรรถกถาวัฑฒิสูตรที่ 4


วัฑฒิสูตรที่ 4

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อริยาย ได้แก่ มิใช่ของปุถุชน. คำนี้ตรัสไว้ ก็เพราะคละ
กับด้วยธรรมทั้งหลายมีศีลเป็นต้น. บทว่า สาราทายี จ โหติ วราทายี
ความว่า ย่อมเป็นผู้ยึดไว้ได้ซึ่งสาระและส่วนประเสริฐ. อธิบายว่า ย่อม
ยึดไว้ซึ่งสาระของกาย และส่วนประเสริฐของกายนั้น.
จบอรรถกถาวัฑฒิสูตรที่ 4

5. มิคสาลาสูตร


ว่าด้วยไม่ให้ถือประมาณให้บุคคลว่าเสื่อมหรือเจริญ
แต่ให้ถือประมาณธรรม


[75] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร
เชตวัน อารามของท่1นอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้ง
นั้นแล เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยัง
ที่อยู่ของมิคสาลาอุบาสิกา แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดถวาย ครั้งนั้น
มิคสาลาอุบาสิกาเข้าไปหาท่านพระอานนท์ กราบไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์
ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว อันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ
คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นคน
มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนจะพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร คือบิดา
ของดิฉันชื่อปุราณะ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งด
เว้นจากเมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน ท่านกระทำกาละแล้ว พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต บุรุษ
ชื่ออิสิทัตตะ ผู้เป็นที่รักของบิดาของดิฉัน ไม่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์
(แต่) ยินดีด้วยภรรยาของตน แม้เขาทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็ทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต ข้าแต่ท่านพระ-
อานนท์ ธรรมนี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว อันเป็นเหตุให้คน
สองคน คือ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหม-
จรรย์ จักเป็นผู้มีคติเสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนจะพึงรู้ทั่วถึงได้
อย่างไร.
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูก่อนน้องหญิง ก็ข้อนี้พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงพยากรณ์ไว้อย่างนั้นแล ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์รับบิณฑ-
บาตที่นิเวศน์ของมิคสาลาอุบาสิกา ลุกจากอาสนะกลับไปแล้ว ครั้งนั้น
ท่านพระอานนท์กลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้งแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส
เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของ
อุบาสิกาชื่อมิคสาลา แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดถวาย ลำดับนั้น มิค-
สาลาอุบาสิกาเข้าไปหาข้าพระองค์ กราบไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามข้าพระองค์ ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมนี้ที่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว อันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ คนหนึ่ง
ประพฤติพรหมจรรย์ คนหนึ่งไม่ประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นคนมีคติ
เสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร คือ บิดาของ
ดิฉันชื่อปุราณะ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล งดเว้นจาก

เมถุนอันเป็นธรรมของชาวบ้าน ท่านกระทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาค-
เจ้าทรงพยากรณ์ว่า เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต บุรุษชื่ออิสิทัตตะ
ผู้เป็นที่รักของบิดาของดิฉัน ไม่เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ยินดีด้วย
ภรรยาของตน แม้เขาทำกาละแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงพยากรณ์ว่า
เป็นสกทาคามีบุคคล เข้าถึงชั้นดุสิต ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมนี้ที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอันเป็นเหตุให้คนสองคน คือ คนหนึ่ง
ประพฤติพรหมจรรย์ คนหนึ่งประพฤติพรหมจรรย์ จักเป็นผู้มีคติ
เสมอกันในสัมปรายภพ อันวิญญูชนพึงรู้ทั่วถึงได้อย่างไร เมื่อมิคสาลา-
อุบาสิกากล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะมิคสาลาอุบาสิกาว่า ดูก่อน-
น้องหญิง ก็ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ไว้อย่างนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ก็มิคสาลาอุบาสิกาเป็น
พาล ไม่ฉลาด เป็นคนบอด มีปัญญาทึบ เป็นอะไร และพระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอะไร ในญาณเครื่องกำหนดรู้ความยิ่งและหย่อน
แห่งอินทรีย์ของบุคคล ดูก่อนอานนท์ บุคคล 10 จำพวกนี้มีอยู่ในโลก
10 จำพวกเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทุศีล
และไม่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความ
เป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง
ไม่กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่ได้
วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไม่ไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ
ย่อมถึงความเสื่อม ไม่ถึงความเจริญ ดูก่อนอานนท์ ส่วนบุคคลบางคน
ในโลกนี้ เป็นผู้ทุศีล แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับ
โดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้น

กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอด
ด้วยดีแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไป
ทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม
ดูก่อนอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า ธรรม
แม้ของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของคนอื่นก็เหล่านั้นแหละ เพราะ
เหตุไรในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่งดี ก็การประมาณของคนผู้ถือ
ประมาณเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ตลอด
กาลนาน ดูก่อนอานนท์ ในสองคนนั้น บุคคลใดเป็นผู้ทุศีล และรู้ชัด
ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความเป็นผู้
ทุศีลของเขา ตามความเป็นจริง กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้
ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อัน
เกิดในสมัย ดูก่อนอานนท์ บุคคลนี้ดีกว่าและประณีตกว่าบุคคลที่กล่าว
ข้างต้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้องบุคคลนี้
ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้ นอกจากตถาคต ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุ
นั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล และอย่าได้
ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคลย่อมทำลายคุณวิเศษ
ของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้.
ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล แต่ไม่รู้ชัด
ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา
ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่ทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำกิจแม้ด้วย
ความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดใน
สมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ ย่อมถึงความ

เสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ ดูก่อนอานนท์ ส่วนบุคคลบางคนใน
โลกนี้ เป็นผู้มีศีล และรู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับ
โดยไม่เหลือแห่งศีลของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นการทำกิจแม้
ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วย
ทิฏฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ
ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่ถึงความเสื่อม ดูก่อน
อานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้.
ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้า ทั้งไม่
รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของ
เขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่กระทำ
กิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่ได้
วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไปทางเจริญ
ย่อมถึงควานเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ ดูก่อนอานนท์ ส่วน
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีราคะกล้า แต่รู้ชัดซึ่งแจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งราคะของเขา ตามความเป็นจริง
บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต
แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป
เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่างเดียว ไม่
ถึงความเสื่อม ดูก่อนอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณ
ในบุคคลได้.
ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ ทั้งไม่รู้
ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธ

ของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่
กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อม
ไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไป
ทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ ดูก่อนอานนท์
ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความโกรธของเขา ตามความเป็น
จริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหู-
สูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อ
ตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่าง
เดียว ไม่ถึงความเสื่อม ก่อนอานนท์ ฯลฯ เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือ
ประมาณในบุคคลได้.
ดูก่อนอานนท์ ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ทั้งไม่รู้
ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่าน
ของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้นไม่กรทำกิจแม้ด้วยการฟัง ไม่
กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสต ไม่แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อม
ไม่ได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อตายไป เขาย่อมไปทางเสื่อม ไม่ไป
ทางเจริญ ย่อมถึงความเสื่อมอย่างเดียว ไม่ถึงความเจริญ ดูก่อนอานนท์
ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็น
จริง บุคคลนั้นกระทำกิจแม้ด้วยการฟัง กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหู-
สูต แทงตลอดด้วยดีแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย เมื่อ
ตายไป เขาย่อมไปทางเจริญ ไม่ไปทางเสื่อม ย่อมถึงความเจริญอย่าง

เดียว ไม่ถึงความเสื่อม ดูก่อนอานนท์ พวกคนผู้ถือประมาณ ย่อม
ประมาณในเรื่องนั้นว่า ธรรมแม้ของคนนี้ก็เหล่านั้นแหละ ธรรมแม้ของ
คนอื่นก็เหล่านั้นแหละ เพราะเหตุไรในสองคนนั้น คนหนึ่งเลว คนหนึ่ง
ดี ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ตลอดกาลนาน ดูก่อนอานนท์ ในสองคน
นั้น บุคคลใดเป็นผู้ฟุ้งซ่าน แต่รู้ชัดซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็น
ที่ดับโดยไม่เหลือแห่งความฟุ้งซ่านของเขา ตามความเป็นจริง บุคคลนั้น
กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง การทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูต แทงตลอด
ด้วยดีแม้ด้วยทิฏฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้อันเกิดในสมัย บุคคลนี้ดีกว่า และ
ประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระแส
แห่งธรรมย่อมถูกต้อง บุคคลนี้ ใคร่เล่าจะพึงรู้เหตุนั้นได้นอกจากตถาคต
ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าประมาณในบุคคล
และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อม
ทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคล
ได้.
ดูก่อนอานนท์ ก็มิคสาลาอุบาสิกาเป็นพาล ไม่ฉลาด เป็นคนบอด
มีปัญญาทึบ เป็นอะไร และพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอะไร ในญาณ
เครื่องกำหนดรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของบุคคล ดูก่อนอานนท์
บุคคล 10 จำพวกนี้แล ปรากฏอยู่ในโลก ดูก่อนอานนท์ บุรุษชื่อ
ปุราณะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลเช่นใด บุรุษชื่ออิสิทัตตะก็เป็นผู้ประกอบ
ด้วยศีลเช่นนั้น บุรุษชื่อปุราณจะได้รู้แม้คติของบุรุษชื่ออิสิทัตตะก็หา
มิได้ บุรุษชื่ออิสิทัตตะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นใด บุรุษชื่อปุราณะ

ก็เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเช่นนั้น บุรุษชื่ออิสิทัตตะจะได้รู้แม้คติของ
บุรุษชื่อปุราณะก็หามิได้ ดูก่อนอานนท์ คนทั้งสองนี้เลวกว่ากันด้วย
องค์คุณคนละอย่าง ด้วยประการฉะนี้.
จบมิคสาลาสูตรที่ 5

อรรถกถามิคสาลาสูตรที่ 5


คำใดจะพึงกล่าวก่อนในเบื้องต้นแห่งสูตรที่ 5 คำนั้น ก็กล่าวไว้
แล้วในฉักกนิบาต. ก็ในคำว่า ทุสฺลีโล โหติ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย
ดังนี้.
บทว่า ทุสฺลีโล ได้แก่ เป็นผู้ไม่มีศีล. บทว่า เจโตวิมุตฺตึ ได้แก่
ผลสมาธิ. บทว่า ปุญฺญาวิมุตฺต ได้แก่ ผลญาณ. บทว่า ปนฺปชานาติ
ได้แก่ ไม่รู้โดยการเรียนและการสอบถาม. ในคำว่า ทุสฺสีลฺยํ อปริเสสํ
นิรุชฺฌติ
นี้ ความทุศีล 5 อย่าง โสดาปัตติมรรคละได้ก่อน ความทุศีล
10 อย่าง พระอรหัตมรรคละได้ ในขณะผลจิต [คืออรหัตผล] ความทุศีล
เหล่านั้น เป็นอัน ชื่อว่ามรรคละได้แล้ว. ทรงหมายถึงขณะแห่งผลาจิต
ในสูตรนี้ จึงตรัสว่า นิรุชฺฌติ ก็ศีลของปุถุชนย่อมขาดด้วยเหตุ 5
ประการ คือ ต้องอาบัติปาราชิก ลาสิกขา เข้ารีดเดียรถีย์ บรรลุ
พระอรหัต ตาย. ในเหตุ 5 ประการนั้น เหตุ 3 ประการข้างต้น เป็นไป
เพื่อความเสื่อม ประการที่ 4 เป็นไปเพื่อความเจริญ ประการที่ 5
ไม่เป็นไปเพื่อเสื่อมหรือเพื่อเจริญ. ถามว่า ก็ศีลนี้ขาดเพราะบรรลุพระ-
อรหัตอย่างไร. ตอบว่า เพราะว่าศีลของปุถุชนเป็นกุศลกรรมส่วนเดียว