เมนู

2. ตัณหาสูตร


ว่าด้วยอวิชชาเป็นอาหารของภวตัณหา


[62] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นแห่งภวตัณหา ย่อมไม่ปรากฏ
ในกาลก่อนแต่นี้ ภวตัณหาไม่มี แต่ภายหลังจึงมี เพราะเหตุนั้น เราจึง
กล่าวคำอย่างนี้ว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ภวตัณหามีข้อนี้เป็นปัจจัยจึงปรากฏ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวภวตัณหาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี
อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของภวตัณหา ควรกล่าวว่า อวิชชา แม้อวิชชา
เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของ
อวิชชา ควรกล่าวว่านิวรณ์ 5 แม้นิวรณ์ 5 เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้
กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของนิวรณ์ 5 ควรกล่าวว่า ทุจริต 3
แม้ทุจริต 3 เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีลาหาร ก็อะไรเป็น
อาหารของทุจริต 3 ควรกล่าวว่า การไม่สำรวมอินทรีย์ แม้การไม่สำรวม
อินทรีย์ เรากล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหาร
ของการไม่สำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่า ความไม่มีสติสัมปชัญญะ แม้ความ
ไม่มีสติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไร
เป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดย
ไม่แยบคาย แม้การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้
กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย
ควรกล่าวว่า ควรไม่มีศรัทธา แม้ความไม่มีศรัทธา เราก็กล่าวว่ามี
อาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา
ควรกล่าวว่า การไม่ฟังสัทธรรม แม้การไม่ฟังสัทธรรม เขาก็กล่าวว่า
มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการไม่ฟัง

สัทธรรม ควรกล่าวว่า การไม่คบสัตบุรุษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วย
ประการดังนี้ การไม่คบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการไม่ฟังสัทธรรม
ให้บริบูรณ์ การไม่ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มีศรัทธาให้
บริบูรณ์ ความไม่มีศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย
ให้บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังความไม่มี
สติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ ความไม่มีสติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการ
ไม่สำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การไม่สำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมยัง
ทุจริต 3 ให้บริบูรณ์ ทุจริต 3 ที่บริบูรณ์ ย่อมยังนิวรณ์ 5 ให้บริบูรณ์
นิวรณ์ 5 ที่บริบูรณ์ ย่อมยังอวิชชาให้บริบูรณ์ อวิชชาที่บริบูรณ์ ย่อม
ยังภวตัณหาให้บริบูรณ์ ภวตัณหานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบน
ภูเขา เมื่อฝนตกหนัก ๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา
ลำธาร และห้วยให้เต็ม ซอกเขา ลำธาร และห้วยที่เต็ม ย่อมยังหนองให้
เต็ม หนองที่เต็ม ย่อมยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็ม ย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม
แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหา-
สมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทรสาครนี้มีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้
แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การไม่คบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการ
ไม่ฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์. . . อวิชชาที่บริบูรณ์ ย่อมยังภวตัณหาให้
บริบูรณ์ ภวตัณหานี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้นเหมือน
กันแล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้
กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า

โพชฌงค์ 7 แม้โพชฌงค์ 7 เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี
อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ 7 ควรกล่าวว่าสติปัฏฐาน 4
แม้สติปัฏฐาน 4 เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไร
เป็นอาหารของสติปัฏฐาน 4 ควรกล่าวว่า สุจริต 3 แม้สุจริต 3 เราก็
กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสุจริต 3
ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์ แม้การสำรวมอินทรีย์ เราก็กล่าวว่ามี
อาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์
ควรกล่าวว่า สติสัมปชัญญะ แม้สติสัมปชัญญะ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร
มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า
การทำไว้ในใจโดยแยบคาย แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคาย เราก็กล่าวว่า
มีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการทำไว้ในใจ
โดยแยบคาย ควรกล่าวว่า ศรัทธา แม้ศรัทธาก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้
กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของศรัทธา ควรกล่าวว่า การฟัง
สัทธรรม แม้การฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มี
อาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่า การคบหา
สัปบุรุษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การคบสัปบุรุษที่
บริบูรณ์ ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์
ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดย
แยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะ
ที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ที่
บริบูรณ์ ย่อมยังสุจริต 3 ให้บริบูรณ์ สุจริต 3 ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติ
ปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน 4 ที่บริบูรณ์ ย่อมยังโพชฌงค์ 7
ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ 7 ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์

วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหยาบตกลงเบื้องบน
ภูเขา เมื่อฝนตกหนัก ๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา
ลำธาร และห้วยให้เต็ม ซอกเขา ลำธาร และห้วยที่เต็ม ย่อมยังหนอง
ให้เต็ม หนองที่เต็มย่อมยังบึงให้เต็ม บึงที่เต็มย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม
แม่น้ำน้อยที่เต็ม ย่อมยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่ที่เต็ม ย่อมยังมหา-
สมุทรสาครให้เต็ม มหาสมุทรสาครนี้มีอาหารอย่างนี้ และเต็มเปี่ยมอย่างนี้
แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมยังการฟัง
สัทธรรมให้บริบูรณ์. . .โพชฌงค์ 7 ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติ
ให้บริบูรณ์ ... วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฉันนั้น
เหมือนกันแล.
จบตัณหาสูตรที่ 2

อรรถกถาตัณหาสูตรที่ 2


ตัณหาสูตรที่ 2

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ภวคณฺหาย ได้แก่ ของความปรารถนาภพ. ในสูตรทั้งสอง
ตรัสเฉพาะวัฎฎะอย่างเดียว แต่วัฎฎะในสูตรทั้งสองนี้ สูตรที่ 1 ตรัส
วัฏฎะมีอวิชชาเป็นมูล สูตรที่ 2 ตรัสวัฏฏะมีตัณหาเป็นมูล.
จบอรรถกถาตัณหาสูตรที่ 2

3. นิฏฐาสูตร


ว่าด้วยบุคคล 10 จำพวก ที่เชื่อมั่นในพระตถาคต


[63] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเชื่อมั่นในเรา
บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ บุคคล 5 จำพวกที่สมบูรณ์