เมนู

อรรถกถาฐิติสูตรที่ 3


ฐิติสูตรที่ 3

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปฏิภาเณน ได้แก่ ด้วยการตั้งถ้อยคำไว้.
จบอรรถกถาฐิติสูตรที่ 3

4. สมถสูตร


ว่าด้วยสิ่งที่ควรเสพและไม่ควรเสพ


[54] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุไม่เป็นผู้ฉลาดในวาระจิต
ของผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นพึงศึกษาว่า เราจักเป็นผู้ฉลาดใน
วาระจิตของตน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นฉลาดในวาระจิตของตนอย่างไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษที่เป็นหนุ่มสาว มีปกติ
ชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนในคันฉ่องอันบริสุทธิ์หมดจด หรือใน
ภาชนะน้ำอันใส ถ้าเห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็ย่อมพยายามกำจัดธุลี
หรือจุดดำนั้นเสีย ถ้าไม่เห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ย่อมดีใจ มีความ
ดำริอันบริบูรณ์ด้วยเหตุนั้นแลว่า เป็นลาภของเราหนอ หน้าของเราบริสุทธิ์
แล้วหนอ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพิจารณาของภิกษุว่า เรา
เป็นผู้ได้ความสงบจิตภายในหรือหนอ หรือว่าไม่เป็นผู้ได้ความสงบจิต
ภายใน เราเป็นผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งหรือหนอ หรือ
ว่าเราไม่เป็นผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ดังนี้ ย่อมเป็น
อุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าภิกษุพิจารณาอยู่ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เราได้
ความสงบจิตภายใน ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ดังนี้ไซร้
ภิกษุนั้นควรตั้งอยู่ในความสงบจิตภายในแล้ว พึงทราบความเพียรในความ
เห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง สมัยต่อมา ภิกษุนั้นย่อมได้ความสงบจิต
ภายใน และได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เราได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญา
อันยิง ไม่ได้ความสงบจิตภายใน ดังนี้ไซร้ ภิกษุควรตั้งอยู่ในความเห็น
แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว พึงทำความเพียรในความสงบจิตภายใน
สมัยต่อมา ภิกษุนั้นย่อมได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง และได้
ความสงบจิตภายใน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้
อย่างนี้ว่า เราไม่ได้ความสงบจิตภายใน ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วย
ปัญญาอันยิ่ง ดังนี้ไซร้ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความ
อุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติแลสัมปชัญญะ ให้มี
ประมาณยิ่ง เพื่อได้ซึ่งกุศลธรรมเหล่านั้นนั่นเทียว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าถูกไฟไหม้หรือมี
ศีรษะถูกไฟไหม้ พึงทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความ
ขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง
เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือไฟไหม้ศีรษะนั้นนั่นเที่ยว แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ
ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง
เพื่อได้ซึ่งกุศลธรรมเหล่านั้นนั่นเทียว ฉันนั้นเหมือนกันแล.
สมัยต่อมา ภิกษุนั้นย่อมได้ความสงบจิตภายใน และได้ความเห็น

แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุทั้งหลายพิจารณา
อยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เราได้ความสงบจิตภายใน ได้ความเห็นแจ้งธรรม
ด้วยปัญญาอันยิ่ง ดังนี้ไซร้ ภิกษุนั้นควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้น
นั่นแหละ แล้วพึงทำความเพียรให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งจีวรโดยส่วนสอง คือ
ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบิณฑบาตโดยส่วนสอง
คือ ที่ควรสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งเสนาสนะโดย
ส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี เราย่อมากล่าวแม้ซึ่งบ้าน
และนิคมโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี เราย่อมกล่าว
แม้ซึ่งชนบทและประเทศโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี
เราย่อม กล่าวแม้ซึ่งบุคคลโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควร
เสพก็มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งจีวร
โดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ในจีวร 2 อย่างนั้น จีวรชนิดใดภิกษุรู้ว่า เมื่อเราเสพจีวรนี้แล อกุศล-
ธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไปจีวรเห็น ปานนี้ไม่ควรเสพจีวร
ใดภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพจีวรนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรม
ย่อมเจริญยิ่ง จีวรเห็นปานนี้ควรเสพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรา
กล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งจีวรโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี
ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เขาอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบิณฑบาต
โดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยอะไร
กล่าวแล้ว ในบิณฑบาต 2 อย่างนั้น บิณฑบาตใด ภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเรา
เสพบิณฑบาตนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป
บิณฑบาตเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ บิณฑบาตใด ภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพ
บิณฑบาตนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง บิณฑ-
บาตเห็นปานนี้ควรเสพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อม-
กล่าวแม้ซึ่งบิณฑบาตโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี
ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งเสนา-
สนะโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว ในเสนาสนะ 2 อย่างนั้น เสนาสนะใด ภิกษุพึงรู้ว่า
เมื่อเราเสพเสนาสนะนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อม
ไป เสนาสนะเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ เสนาสนะใด ภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อ
เราเสพเสนาสนะนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง
เสนาสนะเห็นปานนี้ควรเสพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เรา
ย่อมกล่าวแม้ซึ่งเสนาสนะโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพ
ก็มี ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบ้าน
และนิคมโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เรา
อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ในบ้านและนิคมทั้งสองอย่างนั้น บ้านและนิคมใด
ภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพบ้านและนิคมนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง

กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป บ้านและนิคมเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ บ้านและ
นิคมใด ภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพบ้านและนิคมนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อม
ไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง บ้านและนิคมเห็นปานนี้ควรเสพ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบ้านและนิคมโดยส่วนสอง
คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เรากล่าวแม้ซึ่งชนบทและ
ประเทศโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัย
อะไรกล่าวแล้ว ในชนบทและประเทศทั้งสองนั้น ชนบทและประเทศใด
ภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพชนบทและประเทศนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง
กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป ชนบทและประเทศเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ ชนบท
และประเทศใด ภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพชนบทและประเทศนี้แล อกุศล-
ธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง ชนบทและประเทศเห็นปานนี้
ควรเสพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เรากล่าวแม้ซึ่งชนบท
และประเทศโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เรา
อาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เรากล่าวแม้ซึ่งบุคคลโดย
ส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าว
แล้ว ในบุคคลทั้งสองนั้น บุคคลใด ภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพบุคคลนี้แล
อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป บุคคลเห็นปานนี้ไม่ควร
เสพ บุคคลใด ภิกษุพึงรู้ว่า เมื้อเราเสพบุคคลนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อม
ไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง บุคคลเห็นปานนี้ควรเสพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบุคคลโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพ
ก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.
จบสมถสูตรที่ 4

อรรถกถาสมถสูตรที่ 4


สมถสูตรที่ 4

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อธิปญฺญา ธมฺมวิปสฺสนาย ได้แก่ วิปัสนาที่กำหนดเอา
สังขารเป็นอารมณ์
จบอรรถกถาสมถสูตรที่ 4

5. ปริหานสูตร1


ว่าด้วยภิกษุพึงเป็นผู้ฉลาดในภาวะจิตของตน


[55] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่าน
พระสารีบุตรได้ถามว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อม
ตรัสว่า บุคคลผู้มีธรรมอันเสื่อม บุคคลผู้มีธรรมอันไม่เสื่อม ดังนี้ ดูก่อน
อาวุโสทั้งหลาย บุคคลผู้มีธรรมอันเสื่อม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว
ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล อนึ่ง บุคคลผู้มีธรรมอันไม่เสื่อม พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า
ข้าแต่อาวุโส กระผมทั้งหลายมาแต่ที่ไกลแล เพื่อทราบเนื้อความแห่งภาษิต
นี้ในสำนักของท่านพระสารีบุตร ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะ

1. พระสูตรที่ 5-6-7 ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.