เมนู

และสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศล
เหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าว่าภิกษุเมื่อพิจารณาอยู่ย่อมรู้อย่างนี้
ว่า เราเป็นผู้ไม่มีอภิชฌาอยู่โดยมาก ฯลฯ เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น อยู่โดยมาก
ดังนี้ไซร้ ภิกษุนั้นควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแล้ว พึงทำความ
เพียรเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายให้ยิ่งในรูป.
จบสาริปุตตสูตรที่ 2

3. ฐิติสูตร


ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญความตั้งอยู่ในกุศลธรรม


[53] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญแม้ซึ่งความตั้งอยู่ใน
กุศลธรรมทั้งหลาย ไฉนจะสรรเสริญความเสื่อมรอบในกุศลธรรมทั้งหลาย
เล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่เราสรรเสริญความเจริญในกุศลธรรมทั้ง
หลาย มิใช่ความตั้งอยู่ มิใช่ความเสื่อมในกุศลธรรม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความ
ตั้งอยู่ มิใช่ความเจริญอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณเท่าไร ธรรมเหล่านั้น
ของภิกษุนั้นย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่เจริญขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าว
ข้อนี้ว่า เป็นความเสื่อมใน กุศลธรรมทั้งหลา มิใช่ความตั้งอยู่ มิอยู่
ความเจริญ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมในกุศลธรรมทั้งหลายมีอยู่
มิใช่ความตั้งอยู่ มิใช่ความเจริญ อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความ
เสื่อม มิใช่ความเจริญอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณเท่าไร ธรรมเหล่านั้น
ของภิกษุนั้นย่อมไม่เสื่อม ย่อมไม่เจริญขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
กล่าวข้อนี้ว่า เป็นความตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความเสื่อม มิใช่
ความเจริญ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่
ความเสื่อม มิใช่ความเจริญ อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความ
ตั้งอยู่ มิใช่ความเสื่อมอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณเท่าไร ธรรมเหล่านั้นของ
ภิกษุย่อมไม่ตั้งอยู่ ย่อมไม่เสื่อม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวข้อนี้ว่า
เป็นความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความตั้งอยู่ มิใช่ความเสื่อม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเจริญในกุศลธรรมทั้งหลาย มิใช่ความตั้งอยู่
มิใช่ความเสื่อม อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุไม่เป็นผู้
ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่นไซร้ เมื่อเป็นอย่างนั้น ภิกษุนั้นพึงศึกษาว่า
เราจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
พึงศึกษาอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ฉลาดในวาระจิตของตนอย่างไร ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษที่เป็นหนุ่มสาว มีปกติชอบ
แต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนในคันฉ่องอันบริสุทธิ์หมดจด หรือใน
ภาชนะน้ำอันใส ถ้าเห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็พยายามเพื่อขจัดธุลี
หรือจุดดำนั้นเสีย ถ้าว่าไม่เห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็ย่อมดีใจ มีความ

ดำริอันบริบูรณ์ด้วยเหตุนั้นแลว่า เป็นลาภของเราหนอ หน้าของเรา
บริสุทธิ์แล้วหนอ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพิจารณาของภิกษุ
ว่า เราเป็นผู้มีอภิชฌาอยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็นผู้ไม่มีอภิชฌา
อยู่โดยมาก เราเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่โดยมากหรือหนอ หรือว่าเราเป็น
ผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่โดยมาก ดังนี้ ย่อมเป็นอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย
ฉันนั้นเหมือนกันแล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าภิกษุเมื่อพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า
เราเป็นผู้มีอภิชฌาอยู่โดยมาก... เป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นอยู่โดยมาก ดังนี้ไซร้
ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมัก
เขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละ
ธรรมทั้งหลายที่เป็นยาปอกุศลเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน
บุคคลมีผ้าอันไฟไหม้ หรือมีศีรษะอันไฟไหม้ พึงทำความพอใจ ความ
พยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติ
และสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือไฟไหม้ศีรษะ
ฉันใด ภิกษุนั้นพึงทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความ
ขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง
เพื่อละธรรมทั้งหลายที่เป็นมาปอกุศลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุเมื่อพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เรา
เป็นผู้ไม่มีอภิชฌาอยู่โดยมาก... เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่โดยมาก ดังนี้ไซร้
ภิกษุนั้นควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแล้ว พึงทำความเพียรเพื่อความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายให้ยิ่งขึ้นไป.
จบฐิติสูตรที่ 3

อรรถกถาฐิติสูตรที่ 3


ฐิติสูตรที่ 3

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปฏิภาเณน ได้แก่ ด้วยการตั้งถ้อยคำไว้.
จบอรรถกถาฐิติสูตรที่ 3

4. สมถสูตร


ว่าด้วยสิ่งที่ควรเสพและไม่ควรเสพ


[54] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุไม่เป็นผู้ฉลาดในวาระจิต
ของผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นพึงศึกษาว่า เราจักเป็นผู้ฉลาดใน
วาระจิตของตน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นฉลาดในวาระจิตของตนอย่างไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษที่เป็นหนุ่มสาว มีปกติ
ชอบแต่งตัว ส่องดูเงาหน้าของตนในคันฉ่องอันบริสุทธิ์หมดจด หรือใน
ภาชนะน้ำอันใส ถ้าเห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็ย่อมพยายามกำจัดธุลี
หรือจุดดำนั้นเสีย ถ้าไม่เห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ย่อมดีใจ มีความ
ดำริอันบริบูรณ์ด้วยเหตุนั้นแลว่า เป็นลาภของเราหนอ หน้าของเราบริสุทธิ์
แล้วหนอ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพิจารณาของภิกษุว่า เรา
เป็นผู้ได้ความสงบจิตภายในหรือหนอ หรือว่าไม่เป็นผู้ได้ความสงบจิต
ภายใน เราเป็นผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งหรือหนอ หรือ
ว่าเราไม่เป็นผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ดังนี้ ย่อมเป็น
อุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล.