เมนู

ขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อ
ดับไฟไหม้ผ้าหรือไฟไหม้ศีรษะนั้น ฉันใด ภิกษุนั้น ก็พึงทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติ
และสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศล
เหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าว่าภิกษุเมื่อพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า
เราเป็นผู้ไม่มีอภิชฌาอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาทอยู่โดยมาก เป็น
ผู้ปราศจากถิ่นมิทธะอยู่โดยมาก เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่านอยู่โดยมาก เป็นผู้ข้าม
พ้นความสงสัยอยู่โดยมาก เป็นผู้ไม่โกรธอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตไม่เศร้า
หมองอยู่โดยมาก เป็นผู้มีกายอันมิได้ปรารภแรงกล้าอยู่โดยมาก เป็นผู้
ปรารภความเพียรอยู่โดยมาก เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่โดยมาก ดังนี้ไซร้
ภิกษุนั้นควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแล้ว พึงทำความเพียรเพื่อความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายให้ยิ่งขึ้นไป.
จบสจิตตสูตรที่ 1

ทุติยปัณณาสก์


สจิตตวรรคที่ 1


อรรถกถาสจิตตสูตรที่ 1


ปัณณาสก์ที่ 2 สจิตตสูตรที่ 1

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สจิตฺตปริยายกุสลา แปลว่า ผู้ฉลาดในวาระจิตของตน.
บทว่า รชํ ได้แก่ อุปกิเลสที่จรมา. บทว่า องฺคณํ ได้แก่ มีจุดดำตาม