เมนู

บทว่า นิพฺพิเสยฺย ได้แก่ พึงให้เกิดขึ้น ไม่ถึงให้เสียไป. บทว่า ทกฺโข
แปลว่า ผู้ฉลาด. บทว่า อุฏฺฐานสมฺปนฺโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความขยัน
หมั่นเพียร. บทว่า อลํ วจนาย แปลว่า ควรที่จะกล่าว. บทว่า เอกนฺต-
สุขปฏิสํเวที วิหเรยฺย
ความว่า รับรู้เสวยสุขทางกายและทางใจส่วนเดียว
ด้วยญาณอยู่.
บทว่า อนิจฺจา ได้แก่ มีแล้วก็ไม่มี. บทว่า ตุจฺฉา ได้แก่ เว้นจาก
ความชื่นใจ. บทว่า มุสา ได้แก่ กามแม้จะล่วงประหนึ่งว่าเที่ยง งาม และ
สุข ก็ไม่เป็นอย่างนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า โมสธมฺมา ได้แก่ มีอันเสียไป
เป็นสภาวะ เพราะฉะนั้น จึงทรงชี้ว่า อาศัยกามเหล่านั้นจึงเกิดทุกข์. บทว่า
โว ในคำว่า อิธ โข ปน โว นี้เป็นเพียงนิบาต. บทว่า อปณฺณกํ วา
โสตาปนฺโน
ความว่า หรือว่าเป็นโสดาบันปฏิบัติไม่ผิดโดยส่วนเดียว.
แม้ผู้นั้นทำฌานให้เกิดแล้ว ก็ไปพรหมโลก หรือเสวยสุขส่วนเดียวใน
กามาพจรสวรรค์ 6 ชั้นอยู่. ในพระสูตรนี้ พระศาสดาตรัสคุณของอุโบสถ
ประกอบด้วยองค์ 8.
จบอรรถกถาสักกสูตรที่ 6

7. มหาลิสูตร


ว่าด้วยเหตุแห่งการทำบาปกรรมและกัลยาณกรรม


[47] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่า
มหาวัน ใกล้นครเวสาลี ครั้นนั้นแล กษัตริย์ลิจฉวีพระนามว่ามหาลี ได้
เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัย
แห่งการทำบาปกรรม แห่งความเป็นไปแห่งบาปกรรม พระผู้มีพระภาค-
เจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนมหาลี โลภะแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการทำบาป
กรรม แห่งความเป็นไปแห่งบาปกรรม ดูก่อนมหาลี จิตอันบุคคลตั้งไว้
โมหะแล... อโยนิโสมนสิการแล... ดูก่อนมหาลี จิตอันบุคคลตั้งไว้
ผิดแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการทำบาปกรรม แห่งความเป็นไปแห่ง
บาปกรรม ดูก่อนมหาลี กิเลสมีโลภะเป็นต้นนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัย
แห่งการทำบาปกรรม แห่งความเป็นไปแห่งบาปกรรม.
ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการทำกัลยาณ-
กัลยาณกรรม แห่งความเป็นไปแห่งกัลยาณกรรม.
พ. ดูก่อนมหาลี อโลภะแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการทำกัลยาณ-
กรรม แห่งความเป็นไปแห่งกัลยาณกรรม ดูก่อนมหาลี อโทสะแล...
อโมหะแล... โยนิโสมนสิการแล... ดูก่อนมหาลี จิตอันบุคคลตั้งไว้
ชอบแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการทำกัลยาณกรรม แห่งความเป็นไป
แห่งกัลยาณกรรม ดูก่อนมหาลี ธรรมมีอโลภะเป็นต้นนี้แล เป็นเหตุ
เป็นปัจจัยแห่งการทำกัลยาณธรรม แห่งความเป็นไปกัลยาณธรรม
ดูก่อนมหาลี ถ้าธรรม 10 ประการนี้แลไม่พึงมีในโลก ชื่อว่าความ
ประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือ ความประพฤติอธรรม หรือความประพฤติ
สม่ำเสมอ คือ ความประพฤติธรรม ก็จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้ ดูก่อน
มหาลี ก็เพราะธรรม 10 ประการนี้มีพร้อมอยู่ในโลก ฉะนั้น ชื่อว่าความ
ประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือ ความประพฤติอธรรม หรือความประพฤติ
สม่ำเสมอ คือ ความประพฤติธรรม จึงปรากฏ (ในโลกนี้).
จบมหาลิสูตรที่ 7

อรรถกถามหาลิสูตรที่ 7


มหาลิสูตรที่ 7

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า มิจฺฉาปณิหิตํ แปลว่า ที่เขาตั้งไว้ผิด. บทว่า อธมฺมจริยา
วิสมจริยา
ความว่า พึงทรามวิสมจริยาความประพฤติไม่เรียบร้อย กล่าว
คือ อธรรมจริยา ความประพฤติอธรรมได้ ก็ด้วยอำนาจอกุศลกรรมบถ
จริยานอกนี้ก็ด้วยอำนาจกุศลกรรมบถ. ในพระสูตรนี้ ตรัสเฉพาะวัฏฏะ
เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถามหาลิสูตรที่ 7

8. อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร


ว่าด้วยธรรมที่บรรพชิตพึงพิจารณาเนื่อง ๆ 10 ประการ


[48] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 10 ประการนี้ อันบรรพชิต
พึงพิจารณาเนือง ๆ 10 ประการเป็นไฉน คือ บรรพชิตพึงพิจารณา
เนือง ๆ ว่า เราเป็นผู้มีเพศต่างจากคฤหัสถ์ 1 บรรพชิตพึงพิจารณาเนืองๆ
ว่า การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น 1 บรรพชิตพึงพิจารณาเนือง ๆ
ว่า อากัปกิริยาอย่างอื่น อันเราควรทำมีอยู่ 1 บรรพชิตพึงพิจารณา
เนือง ๆ ว่า เราย่อมติเตียนตนเองได้โดยศีลหรือไม่ 1 บรรพชิตพึง
พิจารณาเนือง ๆ ว่า เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญูชนพิจารณา
แล้ว ติเตียนเราได้โดยศีลหรือไม่ 1 บรรพชิตพึงพิจารณาเนือง ๆ ว่า
เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น 1 บรรพชิตพึงพิจารณา
เนือง ๆ ว่า. เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน เป็นทายาทของกรรม มี
กรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราจัก