เมนู

บทว่า นิพฺพิเสยฺย ได้แก่ พึงให้เกิดขึ้น ไม่ถึงให้เสียไป. บทว่า ทกฺโข
แปลว่า ผู้ฉลาด. บทว่า อุฏฺฐานสมฺปนฺโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความขยัน
หมั่นเพียร. บทว่า อลํ วจนาย แปลว่า ควรที่จะกล่าว. บทว่า เอกนฺต-
สุขปฏิสํเวที วิหเรยฺย
ความว่า รับรู้เสวยสุขทางกายและทางใจส่วนเดียว
ด้วยญาณอยู่.
บทว่า อนิจฺจา ได้แก่ มีแล้วก็ไม่มี. บทว่า ตุจฺฉา ได้แก่ เว้นจาก
ความชื่นใจ. บทว่า มุสา ได้แก่ กามแม้จะล่วงประหนึ่งว่าเที่ยง งาม และ
สุข ก็ไม่เป็นอย่างนั้น เหตุนั้น จึงชื่อว่า โมสธมฺมา ได้แก่ มีอันเสียไป
เป็นสภาวะ เพราะฉะนั้น จึงทรงชี้ว่า อาศัยกามเหล่านั้นจึงเกิดทุกข์. บทว่า
โว ในคำว่า อิธ โข ปน โว นี้เป็นเพียงนิบาต. บทว่า อปณฺณกํ วา
โสตาปนฺโน
ความว่า หรือว่าเป็นโสดาบันปฏิบัติไม่ผิดโดยส่วนเดียว.
แม้ผู้นั้นทำฌานให้เกิดแล้ว ก็ไปพรหมโลก หรือเสวยสุขส่วนเดียวใน
กามาพจรสวรรค์ 6 ชั้นอยู่. ในพระสูตรนี้ พระศาสดาตรัสคุณของอุโบสถ
ประกอบด้วยองค์ 8.
จบอรรถกถาสักกสูตรที่ 6

7. มหาลิสูตร


ว่าด้วยเหตุแห่งการทำบาปกรรมและกัลยาณกรรม


[47] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่า
มหาวัน ใกล้นครเวสาลี ครั้นนั้นแล กษัตริย์ลิจฉวีพระนามว่ามหาลี ได้
เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระ-