เมนู

ด้วยม้า คับคั่งด้วยรถ มีรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้ง
แห่งความกำหนัด ซึ่งเป็นของไม่สมควรแก่บรรพชิต ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย นี้เป็นโทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นในข้อที่ 10 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย โทษในการเข้าไปในพระราชวังชั้นใน 10 ประการนี้แล.
จบปเวสนสูตรที่ 5

อรรถกถาปเวสนสูตรที่ 5


ปเวสนสูตรที่ 5

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า กตํ วา กริสฺสนฺติ วา ได้แก่ ทำการล่วงละเมิดเมถุนแล้ว
หรือจักทำการล่วงละเมิดเมถุนนั้น. บทว่า รตนํ ได้แก่ บรรดารัตนะ มี
มณีรัตนะเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า ปฏฺเฐติ ได้แก่ ประสงค์จะ
ให้ตาย. บทว่า หตฺถีสมฺพาธํ แปลว่าอันเบียดเสียดด้วยช้าง. ปาฐะว่า
หตฺถีมทฺทนํ ก็มี. คำนั้นมีใจความว่า ชื่อว่าหัตถีสัมมัททะ เพราะเป็น
ที่มีช้างเหยียบย่ำ. ในคำที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า รชนียานิ
รูปสทฺทคนฺธรสโผฏฺฐพฺพานิ
ความว่า อารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ที่ทำ
ให้ราคะเกิดเหล่านี้นั้นย่อมเป็นของอร่อยในข้อนั้น.
จบอรรถกถาปเวสนสูตรที่ 5

6. สักกสูตร


ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้า


ทรงเตือนอุบาสกชาวสักกะให้รักษาอุโบสถเป็นนิตย์


[46] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม
ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ครั้งนั้นแล อุบาสกชาวสักกชนบทเป็นอัน

มาก ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับในวันอุโบสถ ถวาย
อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าได้ตรัสถามอุบาสกชาวสักกชนบทว่า ดูก่อนอุบาสกชาวสักกชนบท
ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายย่อมรักษาอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ 8 แลหรือ
อุบาสกชาวสักกชนบทเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บาง
คราวข้าพระองค์ทั้งหลายย่อมรักษาอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ 8 บาง
คราวไม่ได้รักษา พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย ไม่เป็นลาภของท่านทั้งหลาย
เสียแล้ว ท่านทั้งหลายไม่ได้ดีเสียแล้ว ที่ท่านทั้งหลายเมื่อชีวิตมีภัยเพราะ
ความโศก มีภัยเพราะความตายอยู่อย่างนี้ บางคราวก็รักษาอุโบสถอัน
ประกอบด้วยองค์ 8 บางคราวก็ไม่ได้รักษา ดูก่อนอุบาสกชาวสักกะ
ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษในโลกนี้
พึงยังทรัพย์กึ่งกหาปณะให้เกิดขึ้นทุก ๆ วัน ด้วยการงานอันชอบโดยไม่
แตะต้องอกุศลเลย สมควรจะกล่าวได้หรือไม่ว่า เป็นบุรุษฉลาดสมบูรณ์
ด้วยความหมั่น.
อุ. สมควรกล่าวได้อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความ
ข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษในโลกนี้พึงยังทรัพย์กหาปณะหนึ่งให้เกิดขึ้นทุก ๆ
วัน ด้วยการงานอันชอบโดยไม่แตะต้องอกุศลเลย สมควรจะกล่าวได้
หรือไม่ว่า เป็นบุรุษผู้ฉลาดสมบูรณ์ด้วยความหมั่น.
อุ. สมควรกล่าวได้อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความ

ข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษในโลกนี้ พึงยังทรัพย์ 2 กหาปณะ 3 กหาปณะ
4 กหาปณะ 5 กหาปณะ 6 กหาปณะ 7 กหาปณะ 8 กหาปณะ
9 กหาปณะ 10 กหาปณะ 20 กหาปณะ 30 กหาปณะ 40 กหาปณะ
100 กหาปณะ ให้เกิดขึ้นทุก ๆ วัน ด้วยการงานอันชอบ โดยไม่แตะ
ต้องอกุศลเลย สมควรจะกล่าวได้หรือไม่ว่า เป็นบุรุษผู้ฉลาดสมบูรณ์
ด้วยความหมั่น.
อุ. สมควรกล่าวได้อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความ
ข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเมื่อยังทรัพย์ 100 กหาปณะ 1,000 กหาปณะ
ให้เกิดขึ้นทุก ๆ วัน เก็บทรัพย์ที่ตนได้แล้ว ๆ ไว้ เป็นผู้มีชีวิตร้อยปี
จะพึงประสบกองโภคสมบัติเป็นอันมาก บ้างหรือหนอ.
อุ. พึงเป็นอย่างนั้นได้ พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย ท่านทั้งหลายสำคัญความ
ข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะพึงเสวยความสุขโดยส่วนเดียวอยู่ 1 คืน 1
วันหรือกึ่งวัน อันมีโภคสมบัติเป็นเหตุ มีโภคสมบัติเป็นแดนเกิด มี
โภคสมบัติเป็นที่ตั้ง บ้างหรือหนอ.
อุ. มิได้เป็นอย่างนั้นเลย พระพุทธเจ้าข้า.
พ. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร.
อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะกามทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง
เป็นของว่างเปล่า เป็นของหลอกลวง เป็นของมีความฉิบหายไปเป็น
ธรรมดา.
พ. ดูก่อนอุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย ส่วนสาวกของเราในธรรม-

วินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ปฏิบัติตามที่เรา
พร่ำสอนอยู่ตลอด 10 ปี พึงเป็นผู้เสวยความสุขโดยส่วนเดียวตลอดร้อยปี
ก็มี หมื่นปีก็มี แสนปีก็มี และสาวกของเรานั้นแล พึงเป็นสกทาคามี
ก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันปฏิบัติไม่ผิดก็มี ดูก่อนอุบาสกชาว
สักกะทั้งหลาย 10 ปีจงยกไว้ สกวกของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่
ประมาณ มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนตลอด
9 ปี 8 ปี 7 ปี 5 ปี 4 ปี 3 ปี 2 ปี 1 ปี พึงเป็นผู้เสวยความสุข
โดยส่วนเดียวตลอดร้อยปีก็มี หมื่นปีก็มี แสนปีก็มี และสาวกของเรา
นั้นแล พึงเป็นสกทาคามีก็มี พึงเป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันปฏิบัติ
ไม่ผิดก็มี ดูก่อนอุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย 1 ปีจงยกไว้ สาวกของเราใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ปฏิบัติตาม
ที่เราพร่ำสอนตลอด 10 เดือน พึงเป็นผู้เสวยสุขโดยส่วนเดียวตลอดร้อยปี
ก็มี หมื่นปีก็มี แสนปีก็มี และสาวกของเรานั้นแล พึงเป็นสกทาคามี
ก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันปฏิบัติไม่ผิดก็มี ดูก่อนอุบาสกชาวสักกะ
ทั้งหลาย 10 เดือนจงยกไว้ สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประ-
มาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนตลอด 9 เดือน
8 เดือน 7 เดือน 6 เดือน 5 เดือน 4 เดือน 3 เดือน 2 เดือน 1 เดือน
กึ่งเดือน พึงเป็นผู้เสวยสุขโดยส่วนเดียวตลอดร้อยปีก็มี หมื่นปีก็มี แสน
ปีก็มี และสาวกของเรานั้นแล พึงเป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็น
โสดาบันปฏิบัติไม่ผิดก็มี ดูก่อนอุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย กึ่งเดือนจงยก
ไว้ สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจ
เด็ดเดี่ยว ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนตลอด 10 คือ 10 วัน พึงเป็นผู้

เสวยสุขโดยส่วนเดียวตลอดร้อยปีก็มี หมื่นปีก็มี แสนปีก็มี และสาวก
ของเรานั้นแล พึงเป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบัน
ปฏิบัติไม่ผิดก็มี ดูก่อนอุบาสกชาวสักกะทั้งหลาย 10 คืน 10 วัน จงยก
ไว้ สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจ
เด็ดเดี่ยว ปฏิบัติตามที่เราพร่ำสอนตลอด 9 คืน 9 วัน 8 คืน 8 วัน
7 คืน 7 วัน 6 คืน 6 วัน 5 คืน 5 วัน 4 คืน 4 วัน 3 คืน 3 วัน
2 คืน 2 วัน 1 คืน 1 วัน พึงเป็นผู้เสวยสุขโดยส่วนเดียวตลอดร้อยปี
ก็มี หมื่นปีก็มี แสนปีก็มี และสาวกของเรานั้นแล พึงเป็นสกทาคามี
ก็มี เป็นอนาคามีก็มี เป็นโสดาบันปฏิบัติไม่ผิดก็มี ดูก่อนอุบาสกชาวสักกะ
ทั้งหลาย ไม่เป็นลาภของท่านทั้งหลายเสียแล้ว ท่านทั้งหลายไม่ได้ดีแล้ว
ที่ท่านทั้งหลาย เมื่อชีวิตมีภัยเพราะความโศก มีภัยเพราะความตายอย่างนี้
บางคราวก็รักษาอุโบสถอันมีองค์ 8 บางคราวก็ไม่รักษา.
อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้จักรักษาอุโบสถ อัน
ประกอบด้วยองค์ 8 ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบสักกสูตรที่ 6

อรรถกถาสักกสูตรที่ 6


สักกสูตรที่ 6

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า โสกลภเย แปลว่า มีภัยเพราะความโศก. ปาฐะว่า โสกภเย
ดังนี้บ้าง. ในบทที่ 2 ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า เยน กมฺมฏฺฐาเนน
ความว่า บรรดาการงานทั้งหลายมีการไถ การค้าขาย เป็นต้น การงาน
อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า อนาปชฺช อกุสลํ ความว่า ไม่ถึงอกุศลไร ๆ