เมนู

อักโกสวรรคที่ 5


1. วิวาทสูร1


ว่าด้วยเหตุปัจจัยให้สงฆ์วิวาทกัน


[41] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็น
เหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ความหมายมั่น การทะเลาะ กาแก่งแย่ง และ
การวิวาทเกิดขึ้นในสงฆ์ ที่เป็นเหตุให้ภิกษุทั้งหลายอยู่ไม่สำราญ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
แสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรมว่าเป็นธรรม ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่าไม่เป็น
ธรรม ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่เป็นวินัยว่าเป็นวินัย ย่อมแสดงสิ่งที่เป็น
วินัยว่าไม่เป็นวินัย ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้กล่าวไว้ ไม่ได้บอก
ไว้ว่า ตถาคตได้กล่าวไว้ได้บอกไว้ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตได้กล่าวไว้
ได้บอกไว้ว่า ตถาคตไม่ได้กล่าวไว้ไม่ได้บอกไว้ ย่อมแสดงสิ่งที่
ตถาคตไม่เคยประพฤติมาว่า ตถาคตเคยประพฤติมา ย่อมแสดงสิ่ง
ที่ตถาคตเคยประพฤติมาว่า ตถาคตไม่เคยประพฤติมา ย่อมแสดงสิ่ง
ที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตได้บัญญัติไว้ ย่อมแสดงสิ่งที่
ตถาคตได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ ดูก่อนอุบาลี นี้แล
เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้ความมั่นหมาย การทะเลาะ การแก่งแย่ง
และการวิวาทเกิดขึ้นในสงฆ์ ที่เป็นเหตุให้ภิกษุทั้งหลายอยู่ไม่สำราญ.
จบวิวาทสูตรที่ 1

1. สูตรที่ 1-2-3 ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.

2. ปฐมวิวาทมูลสูตร


ว่าด้วยมูลเหตุแห่งการวิวาท 10 ประการ


[42] อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มูลเหตุแห่งการวิวาท มีเท่าไร
หนอแล.
พ. ดูก่อนอุบาลี มูลเหตุแห่งการวิวาทมี 10 ประการ 10 ประการ
เป็นไฉน ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรม
ว่าเป็นธรรม ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่าไม่เป็นธรรม... ย่อมแสดงสิ่งที่
ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตได้บัญญัติไว้ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตได้
บัญญัติไว้ว่า ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ ดูก่อนอุบาลี มูลเหตุแห่งการวิวาท
มี 10 ประการนี้แล.
จบปฐมวิวาทมูลสูตรที่ 2

3. ทุติยวิวาทมูลสูตร


ว่าด้วยมูลเหตุแห่งการวิวาท 10 ประการ


[43] อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มูลเหตุแห่งการวิวาท มีเท่าไร
หนอแล.
พ. ดูก่อนอุบาลี มูลเหตุแห่งการวิวาทมี 10 ประการ 10 ประ-
การเป็นไฉน ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่เป็น
อาบัติว่าเป็นอาบัติ ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นอาติว่าไม่เป็นอาบัติ ย่อมแสดง
อาบัติเบาว่าเป็นอาบัติหนัก ย่อมแสดงอาบัติหนักว่าเป็นอาบัติหนัก ย่อม
แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า ไม่เป็นอาบัติชั่วหยาบ ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่ว