เมนู

ได้แก่ ยินดีในความแตกกัน. บทว่า โยคกฺเขมโต ธํสติ ได้แก่ พลาดจาก
พระอรหัตอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ.
จบอรรถกถาอานันทสังฆเภทสูตรที่ 9

10. อานันทสังฆสามัคคีสูตร


ว่าด้วยผู้สมานสงฆ์ผู้แตกกันย่อมบันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัป
[39] ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระ-
องค์ตรัสว่า สังฆสามัคคี สังฆสามัคคี ดังนี้ สงฆ์จะเป็นผู้พร้อมเพรียง
กันด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมว่าไม่ใช่ธรรม ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่าเป็น
ธรรม... ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตไม่ได้บัญญัติ
ไว้ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตได้บัญญัติไว้ ภิกษุ
เหล่านั้นย่อมไม่ทอดทิ้งกัน ไม่แยกจากกัน ไม่ทำสังฆกรรมแยกกัน ไม่
สวดปาติโมกข์แยกกัน ด้วยวัตถุ 10 ประการนี้ ดูก่อนอานนท์ สงฆ์
ย่อมเป็นผู้พร้อมเพรียงกันด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล.
[40] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บุคคลผู้สมานสงฆ์ผู้แตกกัน
แล้วให้พร้อมเพรียงกัน จะประสบผลอะไร พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอานนท์ บุคคลผู้ที่ทำสงฆ์ผู้แตกกันแล้วให้พร้อมเพรียง
กันนั้น จะประสบบุญอันประเสริฐ.
อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุญอันประเสริฐคืออะไร พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ บุคคลผู้สมานสงฆ์ผู้แตกกันแล้วให้พร้อมเพรียง
กันนั้นจะบันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัปหนึ่ง.
ความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์ เป็นเหตุให้เกิด
ความสุข และบุคคลผู้อนุเคราะห์สงฆ์ผู้พร้อมเพรียง
กันแล้ว ผู้ยินดีแล้วในความพร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่
ในธรรม ย่อมไม่พลาดจากธรรม เป็นแดนเกษม
จากโยคะ ย่อมบันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัปหนึ่ง
เพราะสมานสงฆ์ให้พร้อมเพรียงกัน.

จบอานันทสังฆสามัคคีสูตรที่ 10
จบอุปาลิวรรคที่ 4

อรรถกถาอานันทสังฆสามัคคีสูตรที่ 10


อานันทสังฆสามัคคีสูตรที่ 10

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อนุคฺคโห ได้แก่ ความสงเคราะห์อนุเคราะห์ซึ่งกันและกัน.
คำที่เหลือทุกแห่งมีความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาอานันทสังฆสามัคคีสูตรที่ 10
จบอุปาลิวรรคที่ 4

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปฐมอุปาลิสูตร 2. ทุติยอุปาลิสูตร 3. อุพพาหสูตร
4. อุปสัมปทาสูตร 5. นิสสยสูตร 6. สามเณรสูตร 7. อุปาลิ-
สังฆเภทสูตร 8. อุปาลิสังฆสามัคคีสูตร 9. อานันทสังฆเภทสูตร
10. อานันทสังฆสามัคคีสูตร.