เมนู

อุปาลิวรรคที่ 4


1. ปฐมอุปาลิสูตร


ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยประโยชน์ 10 ประการ


ทรงบัญญัติสิกขาบทและแสดงปาติโมกข์


[31] ... ครั้งนั้นแล ท่านพระอุบาลีได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
เจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระตถาคตทรงอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไรหนอแล จึงทรงบัญญัติ
สิกขาบท ทรงแสดงปาติโมกข์แก่สาวกทั้งหลาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอุบาลี ตถาคตอาศัยอำนาจ
ประโยชน์ 10 ประการแล จึงบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก
ทั้งหลาย. 10 ประการเป็นไฉน คือ เพื่อความตั้งอยู่ด้วยดีแห่งสงฆ์ 1
เพื่อความอยู่สำราญแห่งสงฆ์ 1 เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก 1 เพื่อการอยู่
สำราญแห่งภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก 1 เพื่อป้องกันอาสวะทั้งหลาย
อันเป็นไปในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันเป็นไปในสัมปราย-
ภพ 1 เพื่อความเลื่อมใสแห่งบุคคลทั้งหลายผู้ยังไม่เลื่อมใส 1 เพื่อความ
เจริญยิ่งแห่งความเลื่อมใสของบุคคลทั้งหลายผู้เลื่อมใสแล้ว 1 เพื่อความ
ตั้งมั่นแห่งสัทธรรม 1 เพื่ออนุเคราะห์วินัย 1 ดูก่อนอุบาลี ตถาคต
อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการนี้แล จึงบัญญัติสิกขาบท แสดง
ปาติโมกข์แก่สาวกทั้งหลาย.
จบปฐมอุปาลิสูตรที่ 1

อุปาลิวรรคที่ 4


อรรถกถาปฐมอุปาลิสูตรที่ 1


วรรคที่ 4

อุปาลิสูตรที่ 1 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ชื่อว่า สงฺฆสุฏฺฐุตาย ได้แก่ ความที่สงฆ์รับว่าดี คือความที่สงฆ์
รับรองด้วยคำที่น่ารักว่า สุฏฺฐุ ภนฺเต ดีละ ข้าพเจ้าข้า เหมือนในอนาคต
สถานว่า สุฏฺฐุ เทว ดีละเทวะ. ก็สงฆ์ใดรับรองพระดำรัสของพระตถาคต
อันนั้นย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่สงฆ์นั้นตลอดกาล
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบท ก็เพื่อสงฆ์รับรอง
ด้วยคำที่น่ารักว่า สุฏฺฐุ ภนฺเต ดีละพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นทรงแสดงโทษในการไม่รับรอง และอานิสงส์ในการรับรองแล้ว
เมื่อทรงกระทำให้แจ่มแจ้งข้อความนี้ว่า มิได้ทรงถืออำนาจโดยพลการ
จึงตรัสว่า สงฺฆสุฏฺฐุตาย. บทว่า สงฺฆผาสุตาย ได้แก่ เพื่อความผาสุก
เพื่อความมีชีวิตร่วมกันแห่งสงฆ์ อธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่การอยู่
เป็นสุข.
บทว่า ทุมฺมงฺกูนํ นิคฺคหาย ความว่า บุคคลผู้ทุศีล ชื่อว่าผู้เก้อ
ยาก. คนเหล่าใด แม้ถูกเขาทำให้ถึงความเก้อเขิน ก็ไม่ทุกข์ร้อน หรือ
กระทำการล่วงละเมิดสิกขาบท หรือทำแล้วก็ไม่ละอาย เพื่อประโยชน์แก่
การข่มบุคคลเหล่านั้น. จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้น เมื่อสิกขาบทมีอยู่ ก็จัก
เบียดเบียนสงฆ์ว่า พวกท่านเห็นอะไร ได้ยินอะไร พวกผมทำอะไร
พวกท่านจึงยกอาบัติอันไหน ในวัตถุอันไหนขึ้นมาข่มพวกผม ก็เมื่อ
สิกขาบทมีอยู่ สงฆ์จักแสดงสิกขาบทแก่ภิกษุเหล่านั้นข่มโดยสหธรรม
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ทุมฺมงฺกูนํ ปุคฺคลานํ นิคฺคหาย เพื่อข่มบุคคล