เมนู

เป็นต้นว่า จตฺตาโร ธมฺมา ธรรม 4 ประการ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงวิสัชนา ว่า จตฺตาโร อาหารา อาหาร 4 อย่าง ดังนี้เป็นต้น
ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น เพราะเหตุนี้เมื่อกำหนดรู้อาหาร 4 แล้ว สติปัฏ-
ฐาน 4 ก็เป็นอันอบรมแล้ว และเมื่ออบรมสติปัฏฐาน 4 แล้ว อาหาร
4 ก็เป็นอันกำหนดรู้แล้ว ฉะนั้น ในปัญหาข้อนี้ จึงต่างกันแต่เพียงพยัญ-
ชนะเพราะความงดงามแห่งเทศนาเท่านั้น ส่วนใจความก็อันเดียวกันนั้น
เอง ในธรรมมีอินทรีย์เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น ตรัสว่า
นั้นนั่นแล เป็นใจความแห่งภาษิตสังเขปของตถาคตนั้น. จริงอยู่ ว่าโดย
ความแม้ทั้ง 2 คำนั้น ก็เป็นเหมือนนทองที่กลวงในภายในฉะนั้น.
จบอรรถกถาทุติยมหาปัญหาสูตรที่ 8

9. ปฐมโกสลสูตร


ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแก้คำกล่าวตู่


ของสมระพราหมณ์นอกศาสนา


[29] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาสีและโกศลชนบทมีประมาณเท่าใด
แว่นแคว้นของพระเจ้าปเสนทิโกศลมีประมาณเท่าใด พระเจ้าปเสนทิโกศล
ประชาชนกล่าวว่าเป็นผู้เลิศในกาสีและโกศลชนบท และแว่นแคว้นประ-
มาณเท่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่โดยแท้ ความแปร
ปรวนมีอยู่แม้แก่พระเจ้าปเสนทิโกศล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้
ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในความดำรงอยู่ในสมบัตินั้น เมื่อ
หน่ายในความดำรงอยู่ในสมบัตินั้น ย่อมคลายกำหนัดในความเลิศแห่ง
สมบัติ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ย่อมหมุนเวียนส่อง
ทิศให้ไพโรจน์อยู่ในที่มีประมาณเท่าใด โลกธาตุพันหนึ่งมีอยู่ในที่มีประ-
มาณเท่านั้น ในโลกธาตุพันหนึ่งนั้นดวงจันทร์พันดวง ดวงอาทิตย์
พันดวง ขุนเขาสิเนรุหนึ่งพัน ชมพูทวีปพันทวีป อมรโคยานพันทวีป
อุตตรกุรุพันทวีป ปุพพวิเทหะพันทวีป มหาสมุทรสี่พัน เทวโลก
ชั้นมหาราชสี่พัน ชันจาตุมหาราชิกาหนึ่งพัน ชั้นดาวดึงส์หนึ่งพัน
ชั้นยามาหนึ่งพัน ชั้นดุสิตหนึ่งพัน ชั้นนิมมานรดีหนึ่งพัน ชั้นปรนิมมิต-
วสวัตดีหนึ่งพัน ชั้นพรหมโลกหนึ่งพัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พันโลก-
ธาตุมีประมาณเท่าใด ท้าวมหาพรหม โลกกล่าวว่าเป็นเลิศในพันโลกธาตุ
นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่ ความแปรปรวนก็มีอยู่แม้
แก่ท้าวมหาพรหม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมหน่ายแม้ในพันโลกธาตุนั้น เมื่อหน่ายในพันโลกธาตุนั้น ย่อมคลาย
กำหนัดในความเป็นผู้เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยที่โลกนี้พินาศมีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อโลกพินาศอยู่ สัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปในพรหมโลก ชั้นอาภัสสระ
โดยมาก สัตว์เหล่านั้นเป็นผู้สำเร็จแล้วด้วยใจ มีปีติเป็นภักษา มีแสงสว่าง
ในต้อง เที่ยวไปได้ในอากาศ มีปกติดำรงอยู่ได้ด้วยดี ย่อมดำรงอยู่
ในพรหมโลกชั้นอาภัสสระนั้น ตลอดกาลยืดยาวนาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อโลกพินาศอยู่ อาภัสสรเทพทั้งหลาย โลกกล่าวว่าเป็นผู้เลิศ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนก็มีแม้แก่
ลาภัสสรเทพทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่าง
นี้ ย่อมหน่ายแม้ในพรหมโลกชั้นอาภัสสระนั้น เมื่อหน่ายในพรหมโลกชั้น

อาภัสสระนั้น ย่อมคลายกำหนัดในความเป็นผู้เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่ง
ที่เลวเล่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งกสิณ 10 ประการนี้ 10 ประการ
เป็นไฉน คือ บุคคลผู้หนึ่ง ย่อมจำปฐวีกสิณในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้อง
ขวาง ไม่มีสอง หาประมาณมิได้ บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำอาโปกสิณ ... บุคคล
ผู้หนึ่งย่อมจำเตโชกสิณ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำวาโยกสิณ... บุคคลผู้หนึ่ง
ย่อมจำนีลกสิณ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำปีตกสิณ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำ
โลหิตกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำโอทาตกสิณ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำ
อากาสกสิณ ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมจำวิญญาณกสิณในเบื้องบน เบื้องต่ำ
เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาประมาณมิได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่ง
กสิณ 10 ประการนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาบ่อเกิดแห่งกสิณ 10
ประการนี้ วิญญาณกสิณในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง
หาประมาณมิได้ ที่บุคคลผู้หนึ่งจำได้ เป็นยอด สัตว์ทั้งหลาย แม้ผู้มี
สัญญาอย่างนี้แลมีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้
ความแปรปรวนก็มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลายแม้มีสัญญาอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในบ่อเกิดแห่ง
กสิณ เมื่อหน่ายในบ่อเกิดแห่งกสิณนั้น ย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ
จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ 8 ประการนี้ 8 ประการเป็นไฉน
คือคนหนึ่งมีรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเล็กน้อย ทั้งที่
ผิวพรรณดี ทั้งที่มีผิวพรรณทราม ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยี
รูปเหล่านั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 1.

คนหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกไม่มีประมาณ
ทั้งที่มีผิวพรรณดี ทั้งที่มีผิวพรรณทราม ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น
ย่ำยีรูปเหล่านั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 2.
คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเล็กน้อย
ทั้งที่มีผิวพรรณดี ทั้งที่มีผิวพรรณทราม ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เรา
เห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 3.
คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกไม่มี
ประมาณ ทั้งที่มีผิวพรรณดี ทั้งที่มีผิวพรรณทราม ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า
เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 4.
คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเขียว
มีสีเขียว รัศมีเขียว แสงสว่างเขียว เปรียบเหมือนดอกผักตบเขียว มีสีเขียว
รัศมีเขียว แสงสว่างเขียว ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสี มี
เนื้อเกลี้ยงเกลาทั้งสองข้าง เขียว มีสีเขียว รัศมีเขียว แสงสว่างเขียว ฉันใด
คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเขียว มีสีเขียว
รัศมีเขียว แสงสว่างเขียว ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่า
นั้น ฉันนั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 5.
คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเหลือง มี
สีเหลือง รัศมีเหลือง แสงสว่างเหลือง เปรียบเหมือนดอกกรรณิการ์เหลือง
มีสีเหลือง มีรัศมีเหลือง แสงสว่างเหลือง ฉันใด หรือเปรียบเหมือน
ผ้าเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงเกลาทั้งสองข้าง เหลือง มีสีเหลือง มีรัศมี
เหลือง แสงสว่างเหลือง ฉันใด คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูป
ทั้งหลายในภายนอกเหลือง มีสีเหลือง มีรัศมีเหลือง แสงสว่างเหลือง

ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น ฉันนั้น นี้เป็นอภิภายตนะ
ประการ 6.
คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกแดง มีสี
แดง รัศมีแดง แสงสว่างแดง เปรียบเหมือนดอกเส้งแดง มีสีแดง รัศมี
แดง แสงสว่างแดง ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสี มีเนื้อ
เกลี้ยงเกลาทั้งสองข้าง แดง รัศมีแดง แสงสว่างแดง ฉันใด คนหนึ่ง
มีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกแดง มีสีแดง มีรัศมี
แดง แสงสว่างแดง ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น
ฉันนั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 7.
คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกขาว
มีสีขาว รัศมีขาว แสงสว่างขาว เปรียบเหมือนดาวประกายพฤกษ์ขาว มี
สีขาว มีรัศมีขาว แสงสว่างขาว ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสี
มีเนื้อเกลี้ยงเกลาทั้งสองข้าง ขาว มีสีขาว รัศมีขาว แสงสว่างขาว ฉันใด
คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกขาว มีสีขาว รัศมี
ขาว แสงสว่างขาง ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น ฉันนั้น
นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 8. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ 8 ประ-
การนี้แล บรรดาอภิภายตนะ 8 ประการนี้ อภิภายตนะประการที่ 8 คือ
คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกขาว มีสีขาว
มีรัศมีขาว แสงสว่างขาว ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่า
นั้น นี้เป็นเลิศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้
แลมีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวน
มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลายแม้มีสัญญาอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้

ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในอภิภายตนะนั้น เมื่อหน่ายใน
อภิภายตนะนั้น ย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่
เลวเล่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา 4 ประการนี้ 4 ประการเป็นไฉน คือ
ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า 1 ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว 1 ปฏิบัติสะดวกแต่รู้
ได้ช้า 1 ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา 4
ประการนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาปฏิปทา 4 ประการนี้ ปฏิบัติ
สะดวกทั้งรู้ได้เร็วเป็นเลิศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้ปฏิบัติ
อย่างนี้แลมีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปร-
ปรวนมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลายแม้ปฏิบัติอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริย-
สาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในปฏิปทานั้น เมื่อหน่ายใน
ปฏิปทานั้นย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยสิ่งที่เลวเล่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญา 4 ประการนี้ 4 ประการเป็นไฉน
คือ คนหนึ่งย่อมจำปริตตารมณ์1 คนหนึ่งย่อมจำมหัคคตารมณ์2 คนหนึ่ง
ย่อมจำอัปปมาณารมณ์3 คนหนึ่งย่อมจำอากิญจัญญายตนะ4ว่า หน่อยหนึ่ง
ไม่มี ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญา 4 ประการนี้แล ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บรรดาสัญญา 4 ประการนี้ อากิญจัญญายตนะที่คนหนึ่งจำได้ว่า
หน่อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ เป็นเลิศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายแม้มี
สัญญาอย่างนี้แลมีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้
ความแปรปรวนมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในสัญญานั้น เมื่อ

1. กามาวจรสัญญา. 2. รูปาวจรสัญญา. 3. โลกุตรสัญญา. 4. อากิญจัญญายตนะ.

หน่ายในสัญญานั้น ย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่ง
ที่เลาเล่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาทิฏฐินอกศาสนา ทิฏฐิว่า ถ้าเราจักไม่
ได้มีแล้วไซร้ อัตภาพนี้ไม่พึงมีแก่เรา ถ้าเราจักไม่มีไซร้ ความห่วงใน
อะไรจักไม่มีแก่เรา ดังนี้ เป็นเลิศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้มีทิฏฐิอย่างนี้พึง
หวังข้อนี้ได้ว่า ความที่ใจไม่ชอบในภพจักไม่มีแก่เขา และความที่ใจชอบ
ในความดับภพจักไม่มีแก่เขา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้มีทิฏฐิ
อย่างนี้แลมีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปร
ปรวนมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลายผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก
ผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในทิฏฐินั้น เมื่อหน่ายในทิฏฐินั้น
ย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลาเล่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความหมด
จดในสัตว์ผู้สูงสุดมีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ
โดยประการทั้งปวงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่นั้น เลิศกว่าบรรดา
สมณพราหมณ์ผู้บัญญัติความหมดจดในสัตว์ผู้สูงสุด สมณพราหมณ์เหล่า
นั้นรู้ยิ่งแล้วซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ย่อมแสดงธรรมเพื่อทำให้แจ้ง
ซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายแม้ผู้
มีวาทะอย่างนี้แลมีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้
ความแปรปรวนมีอยู่แม้แก่สัตว์ทั้งหลายผู้มีวาทะอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้ง-
หลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในเนวสัญญา-
นาสัญญายตนะนั้น เมื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าว
ไปไยในสิ่งที่เลวเล่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัตินิพพานอันยอด
ยิ่งในปัจจุบันมีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
เพราะรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง
ผัสสายตนะ 6 ประการ เลิศกว่าการบัญญัตินิพพานอันยอดยิ่งในปัจจุบัน
แห่งสมณพราหมณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมกล่าว
ตู่เราผู้มีวาทะอย่างนี้ ผู้กล่าวอย่างนี้ ด้วยคำไม่จริง ด้วยคำเปล่า ด้วยคำเท็จ
ด้วยคำไม่เป็นจริงว่า พระสมณโคดมไม่บัญญัติความกำหนดรู้กามทั้งหลาย
ไม่บัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลาย ไม่บัญญัติความกำหนดรู้เวทนาทั้ง-
หลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติความกำหนดรู้กามทั้งหลายด้วย
ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลายด้วย ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้
เวทนาทั้งหลายด้วย เราเป็นผู้หายหิวแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว ย่อมบัญญัติ
อนุปาทาปรินิพพานในปัจจุบัน.
จบปฐมโกสลสูตรที่ 9

อรรถกถาปฐมโกสลสูตรที่ 9


ปฐมโกสลสูตรที่ 9

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ยาวตา แปลว่า มีประมาณเท่าใด. บทว่า กาสีโกสลา
ได้แก่ ชาวแคว้นกาสีและโกศล. บทว่า อตฺเถว อญฺญถตฺตํ แปลว่า ความ
เป็นอย่างอื่นมีอยู่. บทว่า อตฺถิ วิปริณาโม แปลว่า แม้ความแปรปรวน
มีอยู่. บทว่า ตสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ ได้แก่ ย่อมระอาในภาวะแม้นั้น ที่ตั้ง
อยู่ด้วยสมบัติ. บทว่า อคฺเค วิรชฺชติ ได้แก่ ย่อมคลายกำหนัด แม้
ในภาวะเป็นพระเจ้าโกศลอันเลิศด้วยสมบัติ. บทว่า ปเคว หีนสฺมึ