เมนู

6. อานันทสูตร


ว่าด้วยผู้ไม่เสวยอายตนะ


[241] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม
ใกล้กรุงโกสัมพี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ก่อนอาวุโสทั้งหลาย น่าอัศจรรย์ ไม่
เคยมีมาแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้การบรรลุโอกาส เพื่อ
ความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกความร่ำไร
เพื่อดับเสียซึ่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำ
ให้แจ้งซึ่งนิพพาน จักษุชื่อว่าจักเป็นจักษุนั้นแล คือ รูปเหล่านั้น
จักไม่เสวยอายตนะนั้น และอายตนะนั้นจักไม่เสวยรูปเหล่านั้น หู
ชื่อว่าจักเป็นหูนั้นแล คือ เสียงเหล่านั้นจักไม่เสวยอายตนะนั้น
และอายตนะนั้นจักไม่เสวยเสียงเหล่านั้น จมูกชื่อว่าจักเป็นจมูก
นั้นแล คือกลิ่นเหล่านั้นจักไม่เสวยอายตนะนั้น และอายตนะนั้น
จักไม่เสวยกลิ่นเหล่านั้น ลิ้นชื่อว่าจักเป็นลิ้นนั้นแล คือ รสเหล่านั้น
จักไม่เสวยอายตนะนั้น และอายตนะนั้นจักไม่เสวยรสเหล่านั้น
กายชื่อว่าจักเป็นกายนั้นแล คือ โผฏฐัพพะเหล่านั้น จักไม่เสวย
อายตนะนั้น และอายตนะนั้นจักไม่เสวยโผฏฐัพพะเหล่านั้น เมื่อ
ท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้ถามท่าน

พระอานนท์ว่า ดูก่อนอาวุโสอานนท์ ผู้มีสัญญาหรือไม่มีสัญญาหนอ
ย่อมไม่เสวยอายตนะนั้น ท่านพะอานนท์ตอบว่า ดูก่อนอาวุโส ผู้
มีสัญญาแล ย่อมไม่เสวยอายตนะนั้น ผู้มีสัญญาไม่เสวย
อายตนะนั้น.
อุ. ดูก่อนอาวุโส ก็ผู้มีสัญญาอย่างไร จึงไม่เสวยอายตนะนั้น.
อา. ดูก่อนอาวุโส ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญา
โดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึง
นานัตตสัยญา บรรลุอากาสานัญจายจนฌาน โดยคำนึงเป็น
อารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด ดูก่อนอาวุโส แม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้
ก็ไม่เสวยอายตนะนั้น.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌาน
โดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็น
อารมณ์ว่า อะไรหน่อยหนึ่งไม่มี ดูก่อนอาวุโส แม้ผู้มีสัญญา
อย่างนี้ก็ไม่เสวยอายตนะนั้น.
ดูก่อนอาวุโส สมัยหนึ่ง ผมอยู่ ณ อัญชนมิคทายวัน ใกล้
เมืองสาเกต ครั้งนั้นแล ภิกษุณีชื่อชฏิลภาคิกา เข้าไปหาผมถึง
ที่อยู่ ไหว้แล้วยืนแล้ว ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามผมว่า
ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ สมาธิใดอันบุคคลยังไม่น้อมไป

แล้ว ไม่นำไปปราศแล้ว มีการข่มการห้ามซึ่งธรรมอันเป็นไป
กับสังขารไม่ได้ ตั้งมั่นแล้วเพราะหลุดพ้นจากกิเลส เป็นสันโดษ
เพราะตั้งมั่น ไม่สะดุ้งเพราะเป็นสันโดษ สมาธินี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า มีอะไรเป็นผล เมื่อชฏิลภาคิกาภิกษุณีกล่าวอย่างนี้แล้ว
ผมได้กล่าวกะภิกษุณีนั้นว่า ดูก่อนน้องหญิง สมาธิใดอันบุคคล
ไม่น้อมไปแล้ว ไม่นำไปปราศแล้ว มีการข่มการห้ามซึ่งธรรม
อันเป็นไปกับสังขารไม่ได้ ตั้งมั่นแล้วเพราะหลุดพ้นจากกิเลส
เป็นสันโดษเพราะตั้งมั่น ไม่สะดุ้งเพราะเป็นสันโดษ สมาธินี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีอรหัตเป็นผล ดูก่อนอาวุโส แม้ผู้ที่
มีสัญญาอย่างนี้แล ก็ไม่เสวยอายตนะนั้น.
จบ อนันทสูตรที่ 6

6. อรรถกถาอานันทสูตรที่ 6


อานันทสูตรที่ 6

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สมฺพาเธ ได้แก่ในที่คับแคบ คือกามคุณ 5. บทว่า
โอกาสาธิคโม ได้แก่ ถึงโอกาส. บทว่า สตฺตานํ วิสุทฺธิยา
ได้แก่ เพื่อให้สัตว์ทั้งหลายถึงความบริสุทธิ์. บทว่า สมติกฺกมาย
ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การล่วงไป. บทว่า อตฺถงฺคมาย ได้แก่
เพื่อประโยชน์แก่การดับไป. บทว่า ญายสฺส อธิคมาย ได้แก่
เพื่อประโยชน์แก่การบรรลุมรรคพร้อมด้วยวิปัสสนา. บทว่า
นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การทำนิพพาน