เมนู

6. ทุติยสิลายูปสูตร


ว่าด้วยผู้จบพรหมจรรย์


[230] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรแหละท่านพระจันทิกาบุตร
อยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์
ณ ที่นั้นแล ท่านพระจันทิกาบุตรกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
อาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย
อย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิตให้ดี
ด้วยจิต ในกาลนั้น ควรพยากรณ์ภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้น
แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
เมื่อท่านพระจันทิกาบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตร
ได้กล่าวกะท่านพระจันทิกาบุตรว่า ดูก่อนอาวุโสจันทิกาบุตร
พระเทวทัตมิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูก่อน
อาวุโสทั้งหลาย ในกาลใด ภิกษุอบรมจิตให้ด้วยจิต ในกาลนั้น
ควรพยากรณ์ภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์
อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
มิได้มี ดูก่อนอาวุโสจันทิกาบุตร แต่พระเทวทัตแสดงธรรมแก่
ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุ
อบรมจิตให้ดีด้วยจิต ในกาลนั้นควรพยากรณ์ภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัด
ว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

แม้ครั้งที่ 2...
แม้ครั้งที่ 3 ท่านพระจันทิกาบุตรกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตย่อมแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย
อย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิตให้ดี
ด้วยจิต ในกาลนั้น ควรพยากรณ์ภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้น
แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้มิได้มี แม้ครั้งที่ 3 ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะ
ท่านพระจันทิกาบุตรว่า ดูก่อนอาวุโสจันทิกาบุตร พระเทวทัตมิได้
แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย.
ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิตให้ดีด้วยจิต ในกาลนั้น ควรพยากรณ์
ภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นไปแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อน
อาวุโสจันทิกาบุตร แต่พระเทวทัตแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย
อย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิตให้ดี
ด้วยจิต ในกาลนั้นควรพยากรณ์ภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้น
แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
ดูก่อนอาวุโสแก่ภิกษุอบรมจิตให้ดีด้วยจิตอย่างไร คือ อบรม
จิตให้ดีด้วยจิตอย่างนี้ว่า จิตของเราปราศจากราคะแล้ว จิตของเรา
ปราศจากโทสะแล้ว จิตของเราปราศจากโมหะแล้ว จิตของเราไม่มี
ราคะเป็นธรรมดา จิตของเราไม่มีโทสะเป็นธรรมดา จิตของเรา
ไม่มีโมหะเป็นธรรมดา จิตของเราไม่เวียนมาในกามภพเป็นธรรมดา

จิตของเราได้เวียนมาในรูปภพเป็นธรรมดา จิตของเราไม่เวียนมา
ในอรูปภพเป็นธรรมดา ดูก่อนอาวุโส ถึงแม้รูปที่จะพึงรู้แจ้ง
ด้วยจักษุอย่างหยาบ ๆ ผ่านมาทางคลองจักษุแห่งภิกษุผู้มีจิต
หลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้ รูปเหล่านั้นก็ครอบงำจิตเธอไม่ได้ จิต
ของเธอไม่เจือด้วยรูปเหล่านั้น เป็นจิตมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว
และเธอย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูปนั้น ถึงแม้เสียงที่จะ
พึงรู้แจ้งด้วยหู ฯลฯ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ฯลฯ รสที่พึงจะ
แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย ฯลฯ ธรรมารมณ์
ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจอย่างหยาบ ๆ ผ่านมาทางคลองใจแห่งภิกษุ
ผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้ ธรรมารมณ์นั้นก็ครอบงำจิตของ
เธอไม่ได้ จิตของเธอไม่เจือด้วยธรรมารมณ์นั้น เป็นจิตมั่น ถึง
ความไม่หวั่นไหว และเธอย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่ง
ธรรมารมณ์นั้น ดูก่อนอาวุโส เปรียบเหมือนเสาหิน ยาว 16 ศอก
หยั่งลงไปในหลุม 8 ศอก ข้างบนหลุม 8 ศอก ถึงแม้ลมพายุ
อย่างแรงพัดมาทางทิศบูรพา เสาหินนั้นไม่พึงสะเทือนสะท้านหวั่นไหว
ถึงแม้ลมพายุอย่างแรงพัดมาทางทิศประจิม ทิศอุดร ทิศทักษิณ
เสาหินนั้นก็ไม่พึงสะเทื้อนสะท้านหวั่นไหว ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะหลุมลึกและเพราะเสาหินฝังลึก ฉันใด ดูก่อนอาวุโสฉันนั้น
เหมือนกันแล ถึงแม้รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุอย่างหยาบ ๆ ผ่าน
มาทางคลองจักษุแห่งภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้ ก็ครอบงำ
จิตของเธอไม่ได้ จิตของเธอไม่เจือด้วยรูปเหล่านั้น เป็นจิตมั่นถึง
ความไม่หวั่นไหว และเธอย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมไปแห่งรูป

นั้น ถึงแม้เที่ยงที่จะพึงรู้แจ้งด้วย ฯลฯ กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วย
จมูก ฯลฯ รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ฯลฯ โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้ง
ด้วยกาย ฯลฯ ธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจอย่างหยาบ ๆ ผ่าน
มาทางคลองใจแห่งภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้ ก็ครอบงำ
จิตของเธอไม่ได้ จิตของเธอไม่เจือด้วยธรรมารมณ์นั้น เป็นจิตมั่น
ถึงความไม่หวั่นไหว และเธอย่อมพิจารณาเห็นความเสื่อมแห่ง
ธรรมารมณ์นั้น.
จบ ทุติยสิลายูปสูตรที่ 6

อรรถกถาทุติยสิลายูปสูตรที่ 6


ทุติยสิลายูปสูตรที่ 6

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า จนฺทิกาปุตฺโต ได้แก่พระเถระชื่อจันทิกาปุตตะ ปรากฏ
ชื่อตามมารดา. บทว่า เจตสา จิตํ สุปริจิตํ โหติ ความว่า ระเบียบ
ความประพฤติของจิตอันภิกษุอบรมดีแล้ว คือ เจริญดีแล้ว ให้สูง ๆ
ขึ้นไป ด้วยระเบียบความประพฤติของจิต. บทว่า เนวสฺสจิตฺตํ
ปริยาทิยนฺติ
ได้แก่อารมณ์เหล่านั้นไม่สามารถเพื่อหน่วงเหนี่ยว.
จิตตุบาทของพระขีณาสพนั่นให้สิ้นไป แล้วตั้งอยู่ได้. บทว่า อมิสฺสีกตํ
ได้แก่จิตไม่คลุกเคล้าด้วยอารมณ์เหล่านั้น เพราะอารมณ์เหล่านั้น
ไม่ติดอยู่. บทว่า อาเนญฺชปฺปตฺตํ ได้แก่ถึงความไม่หวั่นไหว คือ