เมนู

อรรถกถาขฬุงคสูตร


ขฬุงคสูตรที่ 2

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ชวสมฺปนฺโน ได้แก่ถึงพร้อมด้วยเท้าเร็ว. บทว่า
นวณฺณสมฺปนฺโน ได้แก่ไม่สมบูรณ์ด้วยผิวกาย. ในบุรุษกระจอก
มีเนื้อความดังต่อไปนี้ บทว่า ชวสทฺปนฺโน ได้แก่บุรุษกระจอก
ถึงพร้อมด้วยเชาวน์ คือญาณ. บทว่า น คุณวณฺณสมฺปนฺโน ได้แก่
ไม่ถึงพร้อมด้วยวรรณ คือคุณ. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยแห่งบาลี
นั้นเถิด. ก็ในสูตรนี้ควรจะกล่าวถึงข้อใด ข้อนั้น ท่านอธิบายไว้แล้ว
ในอรรถกถาติกนิบาตหมดแล้ว.
จบ อรรถกถาขฬุงคสูตรที่ 2

3. ตัณหาสูตร


ว่าด้วยธรรมมีตัณหาเป็นมูล 9 ประการ


[227] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันมีตัณหา
เป็น 9 ประการ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล 9 ประการเป็นไฉน การแสวงหาเพราะ
อาศัยตัณหา 1 การได้เพราะอาศัยการแสวงหา 1 การวินิจฉัย
เพราะอาศัยการได้ 1 ฉันทราคะเพราะอาศัยการวินิจฉัย 1 ความ
หมกมุ่นเพราะอาศัยฉันทราคะ 1 ความหวงแหนเพราะอาศัยความ
หมกมุ่น 1 ความตระหนี่เพราะอาศัยความหวงแหน 1 การจัดการ
อารักขาเพราะอาศัยความตระหนี่ 1 ธรรมอันเป็นบาปอกุศล
หลายประการ คือ การจับท่อนไม้ จับศาตรา การทะเลาะ การ
แก่งแย่ง การวิวาท กล่าววาจาส่อเสียว่ามึง ๆ และพูดเท็จ ย่อม
เกิดขึ้น 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมมีตัณหาเป็นมูล 9 ประการ
นี้แล.
จบ ตัณหาสูตรที่ 3

อรรถกถาตัณหาสูตรที่ 3


ตัณหาสูตรที่ 3

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ตณฺหํ ปฏิจฺจ ได้แก่ตัณหา 2 อย่าง คือ เอสนตัณหา
(ตัณหาในการแสวงหา) 1 เอสิตตัณณหา (ตัณหาในการแสวงหาได้แล้ว)
1. บุคคลเดินไปตามทางแพะและทางที่มีตอไม้เป็นต้น เสาะแสวง