เมนู

มีสมาธิเป็นประมุข ท่านผู้เจริญ เมื่อเราถามว่า ดูก่อนท่านสมิทธิ
ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นใหญ่ ท่านตอบว่า มีสติ
เป็นใหญ่ ท่านผู้เจริญ เมื่อเราถามว่า ดูก่อนท่านสมิทธิ วิตก
อันเป็นความดำรินั้น มีอะไรเป็นยิ่ง ท่านตอบว่า มีปัญญาเป็นยิ่ง
ท่านผู้เจริญ เมื่อเราถามว่า ดูก่อนท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความ
ดำรินั้น มีอะไรเป็นแก่น ท่านตอบว่า มีวิมุตติเป็นแก่น ท่านผู้เจริญ
เมื่อเราถามว่า ดูก่อนท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มี
อะไรเป็นที่หยั่งลง ท่านตอบว่า มีอมตะเป็นที่หยั่งลง ท่านผู้เจริญ
ดูก่อนท่านพระสมิทธิ ดีละ ดีละ เป็นการดีแล้ว ท่านอันเราถาม
ปัญหาก็แก้ได้ แต่ท่านอย่าทะนงตน ด้วยการแก้ปัญหานั้น.
จบ สมิทธิสูตรที่ 4

อรรถกถาสมิทธิสูตร


สมิทธิสูตรที่ 4

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สมิทฺธิ ได้แก่ พระเถระมีพระเถระผู้เป็นสัทธิวิหาริก
ได้ชื่อว่าอย่างนี้ เพราะความสำเร็จของอัตภาพ. บทว่า กิมารมฺมณา
ได้แก่ มีอะไรเป็นปัจจัย. บทว่า สงฺกมฺปวิตกฺกา ได้แก่ วิตกเป็น
ความดำริ. บทว่า นามรูปารมฺมณา ได้แก่ มีนามรูปเป็นปัจจัย.
ท่านแสดงว่า ด้วยบทนี้ อรูปขันธิ 4 รูปและอุปาทายรูป เป็น
ปัจจัยของวิตกทั้งหลาย. บทว่า กวฺนานตฺตํ คจฺฉนฺติ ความว่า

ย่อมถึงความต่าง ๆ กันเป็นสภาพ คือความแปลกในที่ไหน. บทว่า
ธาตูสุ คือ ในรูปธาตุเป็นต้น. ด้วยว่า ความตรึกในรูปเป็นอย่างหนึ่ง
ความตรึกในเสียงเป็นต้น เป็นอย่างหนึ่ง ด้วยประการฉะนี้. บทว่า
ผสฺสสมุทยา ได้แก่ เป็นปัจจัยแก่ผู้สละประกอบกัน. บทว่า
เวทนาสโมสรณา ได้แก่ มีเวทนา 3 เป็นที่รวม. ท่านกล่าวกุศล
และอกุศลรามกันแล้วด้วยเหตุประมาณเท่านี้. ส่วนธรรมเป็นต้น
ว่า สมาธิปฺปมุขา พึงทราบว่าเป็นธรรมฝ่ายกำจัดกิเลสให้สิ้นไป.
ในบทนั้น วิตกชื่อว่า สมาธิปฺปมุขา เพราะอรรถว่า มีสมาธิเป็น
ประมุขด้วยอรรถว่าเป็นประธาน หรือด้วยอรรถว่าเป็นใหญ่.
ชื่อว่า สตาธิปเตยฺยา เพราะอรรถว่ามีสติเป็นใหญ่ ด้วยอรรถว่า
เป็นเหตุของผู้เป็นใหญ่. ชื่อว่า ปญฺญุตฺตรา เพราะมีมรรคปัญญา
เป็นยอดเยี่ยม. ชื่อว่า วิมุตฺติสารา เพราะอรรถว่า มีการบรรลุผล
วิมุตติเป็นแก่น. ชื่อว่า อมโตคธา เพราะอรรถว่า หยั่งลงสู่อมต-
นิพพาน คือตั้งอยู่ในอมตนิพพานนั้นแล้วด้วยอำนาจอารมณ์. บทว่า
เตน วา มา มญฺญิ ความว่า ท่านอย่าทำความเย่อหยิ่ง หรือความ
โอ้อวดด้วยการแก้นั้นว่า อัครสาวกถามปัญหาแล้ว เราแก้ได้แล้ว
ดังนี้.
จบ อรรถกถาสมิทธิสูตรที่ 4

5. คัณฑสูตร


ว่าด้วยปากแผล 9 แห่ง


[219] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนฝีที่เกิดขึ้นหลายปี
ฝีนั้นพึงมีปากแผล 9 แห่ง มีปากแผลที่ยังไม่แตก 9 แห่ง สิ่งใด
สิ่งหนึ่งจะพึงไหลออกจากปากแผลนั้น สิ่งนั้นเป็นของไม่สะอาด
มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียดทั้งนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งพึงไหลเข้า สิ่งนั้นเป็น
ของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียดทั้งนั้น ฉันใด คำว่าฝีนี้แล
เป็นชื่อของกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป 4 นี้ มีมารดาบิดา
เป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด มีความไม่เที่ยง
ต้องลูบไล้นวดฟั้น มีความกระจัดกระจายเป็นธรรมดา กายนั้น
มีปากแผล 9 แห่ง มีปากแผลที่ยังไม่แตก 9 แห่ง สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ย่อมไหลออกจากปากแผลนั้น สิ่งนั้นเป็นของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น
น่าเกลียดทั้งนั้น ฉันนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ
เธอทั้งหลายจงเบื่อหน่ายในกายนี้.
จบ คัณฑสูตรที่ 5

อรรถกถาคัณฑสูตร


คัณฑสูตรที่ 5

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
สามปี สี่ปี ชื่อการนับปี. ชื่ออเนกวสฺสคณิโก เพราะอรรถ
ว่า นั้นเกิดขึ้นแล้วนับได้หลายปี. บทว่า ตสฺสสฺสํ ตัดบทเป็น