เมนู

ส. ดูก่อนอาวุโส สิ่งใดแล ที่ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่บรรลุ
ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่ตรัสรู้ บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อบรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้ง
เพื่อตรัสรู้สิ่งนั้น ดูก่อนอาวุโส สิ่งที่ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่บรรลุ
ไม่กระทำให้แจ้ง ได้ตรัสรู้ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มี-
พระภาคเจ้า เพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อบรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้ง เพื่อ
ตรัสรู้สิ่งนั้น ดูก่อนอาวุโส สิ่งนี้แลที่ยังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่บรรลุ
ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่ตรัสรู้ บุคคลอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อบรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้ง
เพื่อตรัสรู้ สิ่งนั้น.
จบ โกฏฐิตสูตรที่ 3

อรรถกถาโกฏฐิตสูตร


โกฏฐิตสูตรที่ 3

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทิฏฺฐธมฺมเวทนิยํ ได้แก่ กรรมที่ให้ผลในอัตภาพนี้
เท่านั้น. บทว่า สมฺปรายเวทนิยํ ได้แก่ กรรมที่ให้ผลในอัตภาพ
ที่สอง บทว่า สุขเวทนิยํ ได้แก่ กรรมแต่งให้เกิดสุขเวทนา.

บทว่า ทุกฺขเวทนิยํ ได้แก่ กรรมแต่งให้เกิดทุกขเวทนา. บทว่า
ปริปกฺกเวทนิยํ ได้แก่ กรรมให้ผลสำเร็จแล้วคราวหนึ่ง. บทว่า
อปริปกฺกเวทนิยํ ได้แก่ กรรมให้ผลยังไม่สำเร็จแล้วคราวหนึ่ง.
บทว่า พหุเวทนิยํ ได้แก่ กรมให้ผลมาก. บทว่า อปฺปเวทนิยํ
ได้แก่ กรรมให้ผลไม่มาก. บทว่า เวทนิยํ ได้แก่ กรรมยังให้ผล.
บทว่า อเวทนิยํ ได้แก่ กรรมยังไม่ให้ผล. วัฏฏและวิวัฏฏะตรัสแล้ว
ในพระสูตรนี้.
จบ อรรถกถาโกฏฐิตสูตรที่ 3

4. สมิทธิสูตร


ว่าด้วยวิตก


[218] ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิเข้าไปหาท่านพระ-
สารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระ-
สารีบุตรได้ถามท่านพระสมิทธิว่า ดูก่อนท่านสมิทธิ วิตกอันเป็น
ความดำริของบุรุษ มีอะไรเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ท่านพระสมิทธิ
ตอบว่า วิตกอันเป็นความดำริของบุรุษ มีนามรูปเป็นอารมณ์
เกิดขึ้น ท่านผู้เจริญ.
สา. ดูก่อนท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น ย่อมถึง
ความต่างกันในอะไร.
ส. ในธาตุทั้งหลาย ท่านผู้เจริญ
สา. ดูก่อนท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไร
เป็นสมุทัย.
ส. มีผัสสะเป็นสมุทัย ท่านผู้เจริญ.
สา. ดูก่อนท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไร
เป็นที่ประชุมลง.
ส. มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง ท่านผู้เจริญ.
สา. ดูก่อนท่านสมิทธิ ก็วิตกอันเป็นความดำรินั้น มีอะไร
เป็นประมุข.
ส. มีสมาธิเป็นประมุข ท่านผู้เจริญ.