เมนู

3. เมฆิยสูตร


ว่าด้วยอกุศลวิตกและธรรมสำหรับแก้


[207] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ จาลิก-
บรรพต ใกล้เมืองจาลิกา ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระเมฆิยะเป็น
อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้นแลท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ข้าแต่พระองค์ปรารถนาจะเข้าไปบิณฑบาตในชันตุคาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนเมฆิยะ เธอจะสำคัญกาลที่ควร
ในบัดนี้.
ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า ท่านพระเมฆิยะครองอันตรวาสก
แล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังชันตุคาม ครั้นเที่ยว
บิณฑิบาตในชันตุคามเสร็จแล้ว กลับจากบิณฑบาตในเวลาภาย
หลังภัต เข้าไปยังฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ท่านพระเมฆิยะเดินเที่ยว
พักผ่อนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ได้เห็นอัมพวันอันน่าเลื่อมใส น่า
รื่นรมย์ ครั้นเห็นแล้ว ได้มีความคิดดังนี้ว่า อัมพวันนี้ช่างน่าเลื่อมใส
น่ารื่นรมย์หนอ ควรเพื่อบำเพ็ญเพียรของกุลบุตรผู้ต้องการความ
เพียร ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงอนุญาตเรา เราพึงมายังอัมพวันนี้
เพื่อบำเพ็ญเพียร ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์ครองอันตรวาสก
แล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบืณฑบาตในชันตุคาม ครั้นเที่ยว
บิณฑบาตในชันตุคามเสร็จแล้ว กลับจากบิณฑบาตในเวลาภายหลัง
ภัต เข้าไปยังฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้า
พระองค์เดินเที่ยวพักอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ได้เห็นอัมพวันอันน่า
เลื่อมใส น่ารื่นรมย์ ครั้นเห็นแล้ว ข้าพระองค์ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า
อัมพวันนี้น่าเลื่อมใส น่ารื่นรมย์หนอ ควรเพื่อบำเพ็ญเพียรของ
กุลบุตรผู้ต้องการความเพียร ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาต
เรา เราพึงมายังอัมพวันนี้เพื่อบำเพ็ญเพียร ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
พึงทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์พึงไปยังอัมพวันนั้นเพื่อ
บำเพ็ญเพียร เมื่อท่านพระเมฆิยะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มี-
พระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระเมฆิยะว่า ดูก่อนเมฆิยะจงรออยู่ก่อน
เราอยู่คนเดียว เธอจงรออยู่จนกว่าภิกษุรูปอื่นมาแทนตัว
แม้ครั้งที่ 2 ท่านพระเมฆิยะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีกิจอะไรที่จะทำ
ให้ยิ่ง ไม่มีการสั่งสมอริยมรรคที่ทรงทำแล้ว ข้าพระองค์ยังมีกิจ
ที่จะพึงทำให้ยิ่ง ยังมีการสังสมอริยมรรคที่ทำแล้ว ถ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์พึงไปยังอัมพวัน
เพื่อบำเพ็ญความเพียร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนเมฆิยะ
จงรออยู่ก่อน เราอยู่คนเดียว เธอจงรออยู่จนกว่าภิกษุรูปอื่นมา
แทนตัว.

แม้ครั้งที่ 3 ท่านพระเมฆิยะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีกิจอะไรที่จะ
พึงทำให้ยิ่ง ไม่มีการสั่งสมอริยมรรคที่ทรงทำแล้ว ส่วนข้าพระองค์
ยังมีกิจที่จะพึงทำให้ยิ่ง ยังมีการสั่งสมอริยมรรคที่ทำแล้ว ถ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตข้าพระองค์ ข้าพระองค์พึงไปยัง
อัมพวันนั้นเพื่อบำเพ็ญความเพียร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนเมฆิยะ เราจะพึงวาอะไรเธอผู้กล่าวอยู่ว่า บำเพ็ญเพียร
ดูก่อนเมฆิยะ เธอจงสำคัญกาลที่ควรในบัดนี้.
ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้ว เข้าไปยังอัมพวัน อาศัย
อัมพวันนั้น นั่งพักกลางวันอยู่ ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ครั้งนั้นแล เมื่อ
ท่านพระเมฆิยะพักอยู่ ณ อัมพวันนั้น อกุศลวิตกอันลามก 3 ประการ
คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ย่อมฟุ้งซ่านโดยมาก
ลำดับนั้น ท่านพระเมฆิยะได้มีความคิดดังนี้ว่า ท่านผู้เจริญ น่า
อัศจรรย์หนอ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ กุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิต
ด้วยศรัทธา ก็ยังถูกอกุศลวิตกอันลามก 3 ประการ คือ กามวิตก
พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกครอบงำ.
ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ
ประทานพระวโรกาส เมื่อข้าพระองค์อยู่ในอัมพวันนั้น อกุศล
วิตกอันลามก 3 ประการ คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก

ย่อมฟุ้งซ่านโดยมาก ข้าพระองค์นั้นได้มีความคิดเห็นดังนี้ว่า
ท่านผู้เจริญน่าอัศจรรย์หนอ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ กุลบุตรออกบวช
เป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ก็ยังถูกอกุศลวิตกอันลามก 3 ประการ
คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ครอบงำ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ดูก่อนเมฆิยะ ธรรม 5 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความ
แก่กล้าแห่งเจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า 5 ประการเป็นไฉน
ดูก่อนเมฆิยะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี
มีเพื่อนดี นี้เป็นธรรมประการที่ 1 ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้า
แห่งเจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณ
น้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาทั้งหลาย นี้เป็นธรรมประการ
ที่ 2 ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ได้ตามความปรารถนาได้โดย
ไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งกถาอันเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นที่สบาย
ในการเปิดจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคค-
กถา วิริยารัมภกถา นี้เป็นธรรมประการที่ 3 ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศล-
ธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความ
บากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรม นี้เป็นธรรมประการที่ 4
ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญา
เครื่องพิจารณาความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส
ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นธรรมประการที่ 5 ย่อมเป็นไป
เพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุติที่ยังไม่แก่กล้า.
ดูก่อนเมฆิยะ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวัง
ข้อนี้ได้ คือ ตนจักเป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย ตนจักได้ตามด้วยความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก
ซึ่งกถาอันเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นที่สบายในการเปิดจิต คือ
อัปปิจฉกถา ฯลฯ วิมุตติญาณทัสสนกถา ตนจักปรารภความ
เพียร ฯลฯ ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรม ตนจักมีปัญญา ฯลฯ ให้
ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ดูก่อนเมฆิยะ ก็แหละภิกษุนั้นตั้งอยู่ใน
ธรรม 5 ประการนี้แล พึงเจริญธรรม 4 ประการให้ยิ่งขึ้น คือ
พึงเจริญอสุภะเพื่อละราคะ พึงเจริญเมตตาเพื่อละความพยาบาท
พึงเจริญอานาปานสติเพื่อตัดวิตก พึงเจริญอนิจจสัญญาเพื่อถอน
อัสมิมานะ ดุก่อนเมฆิยะ อนัตตสัญญาย่อมปรากฏแก่ภิกษุผู้ได้
อนิจจสัญญา ผู้ที่ได้อนัตตสัญญาย่อมบรรลุนิพพาน อันถอนเสีย
ได้ซึ่งอัสมิมานะในปัจจุบันทีเดียว.
จบ เมฆิยสูตรที่ 3

อรรถกถาเมฆิยสูตรที่ 3


เมฆิยสูตรที่ 3

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า จาลิกายํ ได้แก่ ในเมืองที่มีชื่ออย่างนั้น. นัยว่าเมืองนั้น
ย่อมปรากฏคล้ายเคลื่อนไหว แก่บุคคลทั้งหลายที่กำลังแลดู เพราะ
เขาได้อาศัยดินเหลวสร้างไว้แล้ว เพราะฉะนั้น. จึงเรียกว่า เมือง
จาลิกา. บทว่า จาลิกาปพฺพเต ได้แก่ ภูเขาแม้นั้น ย่อมปรากฏคล้าย
เคลื่อนไหวแก่บุคคลกำลังแลดูในวันอุโบสถข้างแรม เพราะขาวปลอด
เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า จาลิกบรรพต. บุคคลทั้งหลายสร้างวิหาร
ใหญ่ไว้บนจาลิกบรรพตนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเมืองนั้น
ประทับอยู่ในจาลิกบรรพตมหาวิหาร ด้วยประการฉะนี้. บทว่า
ชนฺตุคามํ ได้แก่ โคจรคามแม้อีกแห่งหนึ่งซึ่งมีชื่ออย่างนั้นของวิหาร
นั้นเหมือนกัน ท่านกล่าวว่า ชนฺคุคามํ ดังนี้บ้าง.
บทว่า ปธานตฺถิกสฺส ได้แก่ ผู้ทำความเพียร. บทว่า
ปธานาย ได้แก่ เพื่อทำสมณธรรม. บทว่า อาคเมหิ ตาว ความว่า
พระศาสดาสดับคำของพระเถระแล้ว ทรงใคร่ครวญอยู่ ทรงรู้ว่า
ญาณของพระเถระนั้น ยังไม่แก่กล้าก่อนดังนี้ จึงได้ตรัสห้ามอย่างนี้.
ส่วนบทนี้ว่า เอกกมฺหิ ตาว ได้ตรัสแก่พระเมฆิยะนั้น เพื่อให้เกิด
จิตอ่อนด้วยทรงดำริว่า พระเมฆิยะนี้ แม้ไปแล้วอย่างนี้ เมื่อ
กัมมัฏฐานยังไม่เสร็จ หมดความสงสัยจักกลับมาอีกด้วยอำนาจ
ความรักดังนี้. บทว่า นตฺถิ กิญฺจิ อุตฺตรึ กรณียํ ความว่า ชื่อว่า
กิจที่จะพึงทำอื่นให้ยิ่ง ย่อมไม่มี เพราะพระองค์ทรงทำกิจ 4 ใน