เมนู

อรรถกถาสาลสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในสาลสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มหาสาลา คือต้นไม้ใหญ่. บทว่า สาขาปตฺตปลาเสน
วฑฺฒนฺติ
คือเจริญด้วยกิ่งเล็กและใบ ที่เรียกกันว่าปัตตะ. บทว่า อรญฺญสฺมึ
คือ ในที่มิใช่บ้าน. บทว่า พฺรหาวเน ได้แก่ ในป่าใหญ่ คือดง. บทที่
เหลือในที่ทุกแห่ง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสาลสูตรที่ 10
จบสุมนวรรควรรณนาที่ 4

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. สุมนสูตร 2. จุนทิสูตร 3. อุคคหสูตร 4. สีหสูตร
5. ทานานิสังสสูตร 6. กาลทานสูตร 7. โภชนทานสูตร 8. สัทธานิสังสสูตร
9. ปุตตสูตร 10. สาลสูตร และอรรถกถกา.

มุณฑราชวรรคที่ 5


1. อาทิยสูตร


ว่าด้วยหลักการใช้โภคทรัพย์ให้เป็นประโยชน์ 5 อย่าง


[41] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกับท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี
ประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน คือ
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความหมั่น
ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มา
โดยธรรม เลี้ยงตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารตนให้เป็นสุขสำราญ
เลี้ยงมารดาบิดาให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารให้เป็นสุขสำราญ เลี้ยงบุตร
ภรรยา ทาสกรรมกร คนใช้ ให้เป็นสุข
ให้อิ่มหนำ บริหารให้เป็นสุข
สำราญ นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ 1.
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วย
ความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม
ได้มาโดยธรรม เลี้ยงมิตรสหายให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารให้เป็นสุข
สำราญ นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ 2.
อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วย
ความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม
ได้มาโดยธรรม ป้องกันอันตรายที่เกิดแต่ไฟ น้ำ พระราชา โจร หรือ