เมนู

ธรรมอยู่ ธรรม 6 ประการเป็นไฉน ? คือ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน
พระพุทธเจ้า 1 ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม 1 ความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ 1 อริยศีล 1 อริยญาณ 1 อริยวิมุตติ 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ตปุสสคฤหบดีประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้แล เป็นผู้
ปลงใจเชื่อในพระตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่.
[396] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัลลิกคฤหบดี อนาถบิณฑิกสุทัตต-
คฤหบดี จิตตคฤหบดีชาวมัจฉิกาสัณฑนคร หัตถกคฤหบดีชาวเมืองอาฬวี
เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ อุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลี อุคคตคฤหบดี
สูรอัมพัฏฐคฤหบดี ชีวกโกมารภัจ นกุลบิดาคฤหบดี ตวกัณณิกคฤหบดี
ปูรณคฤหบดี อิสิทัตตคฤหบดี สันธานคฤหบดี วิชยคฤหบดี วัชชิยมหิต-
คฤหบดี เมณฑกคฤหบดี วาเสฏฐอุบาสก อริฏฐอุบาสก สาทัตตอุบาสก
ประกอบด้วยธรรม 6 ประการ เป็นผู้ปลงใจเชื่อในพระตถาคต เห็นอมตธรรม
ทำให้แจ้งซึ่งอมตธรรมอยู่ ธรรม 6 ประการเป็นไฉน ? คือ ความเลื่อมใส
อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า 1 ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม 1
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ 1 อริยศีล 1 อริยญาณ 1 อริยวิมุตติ 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาทัตตอุบาสกประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้แล
เป็นผู้ปลงใจเชื่อในพระตถาคต เห็นอมตธรรม ทำให้แจ้งอมตธรรมอยู่.

ว่าด้วยธรรมที่ควรเจริญ


[397] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 6 ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญ
เพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม 6 ประการเป็นไฉน ? คือ ทัสสนานุตริยะ 1 สวนา-
นุตริยะ 1 ลาภานุตริยะ 1 สิกขานุตริยะ 1 ปาริจริยานุตริยะ 1
อนุสตานุตริยะ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 6 ประการนี้ อันภิกษุพึง
ให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ.

[398] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 6 ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญ
เพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม 6 ประการเป็นไฉน ? คือ พุทธานุสติ 1 ธัมมานุสติ 1
สังฆานุสติ 1 สีลานุสติ 1 จาคานุสติ 1 เทวดานุสติ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรม 6 ประการนี้แล อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ.
[399] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 6 ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญ
เพื่อรู้ยิ่งราคะ ธรรม 6 ประการเป็นไฉน ? คือ อนิจจสัญญา 1 อนิจเจ-
ทุกขสัญญา 1 ทุกเขอนัตตสัญญา 1 ปหานสัญญา 1 วิราคสัญญา 1 นิโรธ-
สัญญา 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 6 ประการนี้แล อันภิกษุพึงให้เจริญ
เพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ.
[400] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 6 ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญ
เพื่อกำหนดรู้ราคะ ฯลฯ เพื่อความสิ้นไปรอบแห่งราคะ เพื่อละราคะ เพื่อ
สิ้นไปแห่งราคะ เพื่อเสื่อมไปแห่งราคะ เธอความคลายกำหนัดราคะ เพื่อ
ดับราคะ เพื่อสละราคะ เพื่อปล่อยวางราคะ ฯลฯ
[401] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 6 ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อสิ้นไป เพื่อเสื่อมไป
เพื่อคลายไป เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อปล่อยวาง ซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ
อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ
มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 6 ประการ
นี้แล อันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อปล่อยวางปมาทะ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้น
ชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.
จบฉักกนิบาต

อรรถกถาพระสูตรที่ไม่รวมเข้าในวรรค


พึงทราบวินิจฉัยในบทต่อจากนี้ไป ดังนี้ :-
บทว่า ตปุสฺโส ได้แก่ อุบาสกผู้เปล่งวาจา ถึงรัตนะ 2. บทว่า
ตถาคเต นิฏฺฐงฺคโต ความว่า ผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว คือละความสงสัยใน
พระพุทธคุณได้แล้ว. ภิกษุชื่อว่า เห็นอมตะ เพราะได้เห็นอมตธรรม.
บทว่า อริเยน ได้แก่ โลกุตรศีลที่ไม่มีโทษ. บทว่า ญาเณน ได้แก่ด้วย
ปัจจเวกขณญาณ. บทว่า วิมุตฺติยา ได้แก่ ผลวิมุตติของพระเสขะ. บทว่า
ตวกณฺณิโก ได้แก่ คฤหบดีผู้มีชื่ออย่างนี้. บาลีว่า ตปกัณณิกะ ดังนี้ก็มี.
บทว่า ราคสฺส ได้แก่ ราคะอันสัมปยุตด้วยกามคุณ 5. คำที่เหลือในบท
ทั้งปวง ง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบการพรรณนาความฉักกนิบาต
แห่งอรรถกถา อังคุตตรนิกาย ชื่อว่า มโนรถปูรณี