เมนู

9. ปฐมอุทธัจจสูตร


ว่าด้วยธรรมที่ควรละและควรเจริญ


[386] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้ 3 ประการ
เป็นไฉน ? คือ ความเป็นผู้ว่ายาก 1 ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว 1 ความฟุ้ง
ซ่านแห่งจิต 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการ อันภิกษุพึงให้
เจริญเพื่อละธรรม 3 ประการเหล่านี้ 3 ประการเป็นไฉน ? คือ ความ
เป็นผู้ว่าง่าย อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละความเป็นผู้ยาก 1 ความเป็นผู้มี
มิตรดี อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละความเป็นผู้มีมิตรชั่ว 1 อานาปานสติ
อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละความฟุ้งซ่านแห่งจิต 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม
3 ประการนี้ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละธรรม 3 ประการนี้แล.
จบปฐมอุทธัจจสูตรที่ 9

10. ทุติยอุทธัจจสูตร


ว่าด้วยธรรมที่ควรละและควรเจริญ


[387] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้ 3 ประการ
เป็นไฉน ? คือ อุทธัจจะ 1 อสังวร 1 ความประมาท 1 ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการ
อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละธรรม 3 ประการเหล่านี้ 3 ประการเป็นไฉน ?
คือ สมถะ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละอุทธัจจะ 1 สังวร อันภิกษุพึง
ให้เจริญเพื่อละสังวร 1 ความไม่ประมาท อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละความ

ประมาท 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้ อันภิกษุพึงให้เจริญ
เพื่อละธรรม 3 ประการนี้แล.
จบทุติยอุทธัจจสูตรที่ 10
จบติกวรรคที่ 1

10. อรรถกถาทุติยอุทธัจจสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอุทธัจจสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า อสํวโร ได้แก่ ความเป็นผู้มีอินทรีย์อันยับยั้งไว้ไม่ได้.
คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาทุติยอุทธัจจสูตรที่ 10
จบติกวรรคที่ 1

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ราคสูตร 2. ทุจริตสูตร 3. วิตักกสูตร 4. สัญญาสูตร
5. ธาตุสูตร 6. อัสสาทสูตร 7. อรติสูตร 8. ตุฏฐิสูตร 9. ปฐม-
อุทธัจจสูตร 10. ทุติยอุทธัจจสูตร และอรรถกถา.

พระสูตรที่ไม่รวมเข้าในวรรค


ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรเจริญสติปัฏฐานเป็นต้น


[388] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม 6 ประการ เป็นผู้
ไม่ควรเพื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ธรรม 6 ประการเป็นไฉน ? คือ