เมนู

เป็นไฉน ? คือ อนิจจสัญญา อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละอัสสาททิฏฐิ 1
อนัตตสัญญา อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละอัตตานุทิฏฐิ 1 สัมมาทิฏฐิ อันภิกษุ
พึงให้เจริญเพื่อละมิจฉาทิฏฐิ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้ อัน
ภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละธรรม 3 ประการนี้แล.
จบอัสสาทสูตรที่ 6

อรรถกถาอัสสาทสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอัสสาทสูตรที่ 6 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อสฺสาททิฏฐิ ได้แก่ สัสสตทิฏฐิ. บทว่า อตฺตานุทิฏฺฐิ
ได้แก่ สักกายทิฏฐิ มีวัตถุ 20 ที่คล้อยตามอาตมัน. บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิ
ได้แก่ ทิฏฐิ 62 อย่าง. บทว่า สมฺมาทิฏฐิ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิในองค์
มรรค. อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิทั้งหลายมีอาทิว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ชื่อว่า
มิจฉาทิฏฐิ. กัมมสกตาญาณ ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ.
จบอรรถกถาอัสสาทสูตรที่ 6

7. อรติสูตร


ว่าด้วยธรรมที่ควรละและควรเจริญ


[384] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้ 3 ประการเป็น
ไฉน ? คือ อรติ 1 วิหิงสา 1 อธรรมจริยา 1 (อกุศลกรรมบถสิบ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม
3 ประการ อันภิกษุพึงให้เจริญ เพื่อละธรรม 3 ประการเหล่านี้ คือ
มุทิตา 1 อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละอรติ 1 อวิหิงสา อันภิกษุพึงให้

เจริญเพื่อละวิหิงสา 1 ธรรมจริยา อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละอธรรมจริยา 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละธรรม
3 ประการนี้แล.
จบอรติสูตรที่ 7

อรรถกถาอรติสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในอรติสูตรที่ 7 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อธมฺมจริยา ได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10.
จบอรรถกถาอรติสูตรที่ 7

8. ตุฏฐิสูตร


ว่าด้วยธรรมที่ควรละและควรเจริญ


[385] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้ 3 ประการ
เป็นไฉน ? คือ ความเป็นผู้ไม่สันโดษ 1 ความไม่มีสัมปชัญญะ 1 ความ
เป็นผู้มีความปรารถนามาก 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้แล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการ อันภิกษุพึงได้เจริญเพื่อละธรรม
3 ประการเหล่านี้ 3 ประการเป็นไฉน ? คือ ความเป็นผู้สันโดษ
อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละความเป็นผู้ไม่สันโดษ 1 สัมปชัญญะ อันภิกษุพึง
ให้เจริญเพื่อละความไม่มีสัมปชัญญะ 1 ความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยอัน
ภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละความเป็นผู้มีความปรารถนามาก 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรม 3 ประการนี้ อันภิกษุพึงให้เจริญเพื่อละธรรม 3 ประการเหล่านี้แล.
จบตุฏฐิสูตรที่ 8